ประโยชน์ของ DW นั้นมีมาก แต่ DW ก็ถือเป็นดาบสองคมสำหรับนักลงทุนที่มองเห็นแต่ผลตอบแทนของมันโดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยง ต้องยอมรับนะครับว่า DW ถูกใช้ในการเก็งกำไรเป็นส่วนใหญ่ และนักลงทุนรายย่อยเกือบจะทั้งหมดที่เข้ามาลงทุน DW ก็ไม่ประสบความสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันซักที
ทั้งนี้ ผมขออนุญาตรวบรวมสิ่งที่นักลงทุนควรพิจารณา เพื่อจะได้เข้าใจว่า DW มีกลไกอย่างไรนะครับ
- ราคาหุ้นอ้างอิง
อันนี้เป็นปัจจัยสำคัญเลยที่ทำให้ราคา DW เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าหุ้นอ้างอิงที่ถูดเทรดในกระดาน ก็มีการซื้อขายอยู่ตลอด โดยที่ Call DW จะมีมูลค่าสูงขึ้น ถ้าหุ้นอ้างอิงนั้นปรับตัวสูงขึ้น และในทางกลับกัน ถ้าราคาหุ้นอ้างอิงปรับตัวลงราคา Call DW จะมีมูลค่าลดลงในทิศทางเดียวกัน ส่วน Put DW นั้น จะมีสูงขึ้นถ้าหุ้นอ้างอิงราคาปรับตัวลง และ Put DW จะมีมูลค่าลดลง ถ้าราคาหุ้นอ้างอิงปรับตัวสูงขึ้น
- ราคาใช้สิทธิ
ราคาใช้สิทธิ หรือ Exercise Price จะถูกกำหนดก่อนการเทรดของ DW ตัวนั้นๆ ราคาของ DW จะเปลี่ยนแปลงไปตามนี้ครับ Call DW จะปรับตัวสูงขึ้น ถ้าราคาใช้สิทธิปรับลดลง และทางตรงกันข้าม ราคา Call DW จะมีมูลค่าลดลง ในกรณีที่ราคาใช้สิทธิถูกปรับให้เพิ่มขึ้น ฝั่ง DW ก็จะเป็นอีกแบบครับ คือ หากราคาใช้สิทธิปรับตัวสูงขึ้น ราคา Put DW จะมีมูลค่าสูงขึ้นด้วย แต่ถ้าราคาใช้สิทธิปรับตัวลดลง ราคา Put DW จะมีมูลค่าลดลงตามครับ
- ระยะเวลาคงเหลือ
เมื่อเป็นเรื่องของสิทธิการซื้อ หรือการขาย แน่นอนว่า สิทธินั้นไม่ควรมีให้ตลอดเวลา ดังนั้น DW จึงมีวันหมดอายุครับ และอายุคงเหลือของ DW ก็มีผลต่อราคา Call DW และ Put DW เช่นเดียวกัน คือ เมื่อระยะเวลาคงเหลือลดลง จะส่งผลให้ราคาทั้ง Call DW และ Put DW ลดลงเรื่อยๆ (ดังนั้น เวลาเลือก DW ยิ่งเวลาเหลือเยอะ ยิ่งดีครับ)
- ความผันผวนของราคาหุ้นอ้างอิง
ยิ่งหุ้นอ้างอิงซิ่งแค่ไหน ราคา DW ก็ยิ่งจะซิ่งแรงกว่ามากเท่านั้น ไม่ว่าจะ Call DW หรือ Put DW และบางครั้ง DW บางตัว ก็อาจมีความผันผวนแฝง (Implied Volatility) ซึ่งเกิดจาก DW ตั้วนั้นอาจมีความต้องการซื้อขายมากผิดปกติ ตรงนี้ นักลงทุนก็ต้องดูประกอบการตัดสินใจเลือก DW ด้วยนะครับ
- อัตราดอกเบี้ยในตลาด
1 ในข้อดีของ Call DW ก็คือ ใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการซื้อหุ้นอ้างอิง แต่สมมติ ถ้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น ค่าเสียโอกาสในการซื้อหุ้นโดยตรงก็จะมากขึ้น ดังนั้น ผู้ลงทุนยินดีจะจ่ายค่าซื้อ Call DW ในราคาแพงขึ้น จึงทำให้ Call DW มีมูลค่าสุงขึ้นตามไปด้วย ทางกลับกัน อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวลดลง มูลค่า Call DW จะลดลงตามไปด้วย
ส่วน Put DW ถ้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวขึ้น มันจะคล้ายๆกับว่ามูลค่าของราคาใช้สิทธิจะลดต่ำลงโดยปริยาย ดังนั้นมูลค่าของ Put DW จะลดลงตามไปด้วย และถ้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง มูลค่า Put DW จะเพิ่มขึ้น สวนทางกับ Call DW ครับ
จากปัจจัยทั้ง 5 ข้อ จริงๆแล้ว นักลงทุนเองควรพิจารณาปัจจัย 4 ข้อแรกให้มากเข้าไว้ เรียกว่า ต้องรู้ก่อนเทรดเลยครับ เพราะอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่เปลี่ยนแปลง แทบไม่มีผลต่อราคา DW อีกครั้งโอกาสจะเปลี่ยนแปลงในหนึ่งปี มีไม่กี่ครั้งหรอก ส่วนเรื่อง ได้รับสิทธิเงินปันผล หุ้นปันผล หรือสิทธิประโญชน์อื่นๆที่ผู้ซื้อหุ้นอ้างอิงโดยตรงได้รับ ไมได้น้อยใจว่า ลงทุนใน DW แล้วจะไม่ได้รับครับ เพราะสิทธิต่างๆพวกนี้จะถูกนำไปคำนวนรวมทุกๆครั้งสำหรับ DW อยู่แล้วน้ออออออ
รู้ปัจจัยกันไปแล้วนะครับ มีบางอย่างที่นักลงทุนต้องรู้เพิ่มอีกครับ ไม่ใช่แค่ 5 ข้อข้างบน และหนึ่งในนั้นคือ ค่าที่เรียกว่า “Delta” ซึ่งคำนวนโดย
สมมตินะครับว่า คำนวนออกมาแล้ว ได้ค่า Delta = 50% นั้นก็แสดงว่า ราคา DW จะเปลี่ยนแปลงไป 0.50 บาท ถ้าราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนไป 1.00 บาท โดยราคา Call DW จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกับราคาหุ้นอ้างอิง ยิ่งราคาหุ้นอ้างอิงเพิ่มสูงขึ้น มูลค่าของ Call DW ก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ในทางกลับกันราคา Put DW จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้าม ยิ่งราคาหุ้นอ้างอิงลดลง มูลค่าของ Put DW ก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ค่า Delta ของ ทั้ง Call DW และ Put DW จะอยู่ระหว่างนี้ครับ
Call DW : 0 ≤ เดลต้า ≤ 1
Put DW : -1 ≤ เดลต้า ≤ 0
พอรู้ค่า Delta อีกตัวหนึ่งที่ต้องรู้ก็คือ ตัวย่อที่ชื่อว่า “DWPS” ซึ่งย่อมาจาก DW per Share ซึ่งแสดงให้เราเห็นว่า ต้องใช้ DW กี่ตัวในการแลกหุ้นแม่ 1 ตัว ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามี Call DW 1 ตัว ที่มี DWPS เท่ากับ 4 นั้นแปลว่า ต้องใช้ Call DW 4 ตัวในการแลกหุ้นแม่ได้ 1 ตัวนั้นเอง
เมื่อได้ค่า Delta และ DWPS แล้ว คุณสามารถคำนวนตัวแปรประกอบการตัดสินใจที่สำคัญตัวหนึ่งได้ นั้นก็คือ “DW Sensitivity” วิธีก็คือ หา Delta ต่อ DW มาเสียก่อน
ได้มาปั๊บก็คำนวนตามนี้
ค่านี้จะบอกว่า ราคา DW ควรเปลี่ยนแปลงไปเท่าไหร่ เมื่อราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนแปลงไปหนึ่งช่วงราคา สมมติ Delta ต่อ DW = 10% และ 1 ช่วงราคาหุ้นอ้างอิงเท่ากับ = 0.10 บาท นั้นหมายความว่า DW Sensitivity จะเท่ากับ 0.01 บาท หรือ 1 ช่วงราคาของ DW ตัวนั้น
ตอนเทรดจริงๆ ไม่ต้องมานั่งคำนวนตลอดแบบนี้นะครับ รู้ที่มาที่ไปของปัจจัยแต่ละตัวเป็นพอ จะได้ไม่โดนใครเค้าหลอก ถึงเวลาจริงๆผู้บริษัทผู้ออก DW ทั้งหลายนั้น มีเครื่องมือช่วยในการคำนวนเหล่านี้อยู่แล้ว ยกตัวอย่าง เว็บไซส์ของ Macquarieผู้ออก DW หมายเลข 28 เค้าก็มีข้อมูลทุกอย่างที่นักลงทุนควรรู้สำหรับ DW ทุกตัวในตลาดไว้ให้พร้อมแล้ว หน้าที่เราก็แค่ต้องรู้ว่า แต่ละตัวมันหมายถึงอะไร แบบไหนที่เรียกว่าดี แบบไหนที่เรียกว่าต้องหนีให้ไกล https://www.mqwarrants.co.th/tools?sp=dwterms&lang=th
พอเปิดเว็บตามไป เริ่มเห็นใช่มั้ยครับว่า เฮ้ยยยย!! ทำไมมีอัตราส่วนอะไรอีกตั้งเยอะที่เราไม่รู้ฟร่ะ?? แหม่… ก็นี่เพิ่งผ่านไป 2 ตอนเอง รอติดตามตอนต่อไปนะครับ เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ สนุกขึ้นเรื่อยๆแน่นอน 🙂