ในช่วงที่ตลาดหุ้นจีนร้อนแรง ดึงดูดทุกสายตาของนักลงทุนทั่วโลกแบบนี้ ย่อมมีนักลงทุนหน้าใหม่ๆที่สนใจจะใส่เงินไปในกองทุนเพื่ออยากมีลุ้นอยากมีเอี่ยวกับตลาดหุ้นแห่งนี้บ้าง

แต่การไปลงทุนในจีนนั้น มันมีหลายเรื่องที่เราต้องทำความเข้าใจก่อน หนึ่งในนั้นที่ท่านต้องรับทราบก็คือ ตลาดหุ้นจีน นั้นมีดัชนีหลายตัว และเทรดกันหลายสกุลเงิน ไม่ใช่ง่ายๆแบบหุ้นไทยที่มีแค่ SE Index อย่างเดียว ดังนั้นบทความนี้ผมก็ตั้งใจจะพาไปทัวร์แบบเร็วๆ (ชะโงกทัวร์) ว่า ตลาดหุ้นจีน มีดัชนีอะไรกันบ้าง และนักลงทุนที่สนใจ ควรไปลงทุนในตลาดหุ้นไหนดี

1. A Share

ดัชนีตัวแรก A-Share คำนวนโดยเอาหุ้นในสองตลาดหลักของจีนคือ Shanghai และ Shenzhen มารวมกันคำนวนแบบถ่วงน้ำหนัก สกุลหลักที่ใช้ในการเทรดก็คือ หยวน (RMB) สำหรับ A-Share นั้น ถือเป็นดัชนีที่มีจำนวนหลักทรัพย์ และมี Market Cap ใหญ่ที่สุดในบรรดาดัชนีทั้งหมดของตลาดหุ้นจีน นักลงทุนในจีนเกือบ 100% ที่เปิดบัญชีซื้อขายหุ้น ก็เพื่อวิ่งเข้ามาลงทุนในดัชนีตัวนนี้ละครับ สำหรับใครที่สนใจติดตาม A-Share  ปกติเรามักจะใช้ Shanghai Composite Index (SSEC) ในการติดตามดู ซึ่งดัชนีตัวนี้ วิ่งขึ้นมาจากจุดต่ำสุดของปี 2014 จนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมาแล้วถึง 116% ทีเดียว

2. B Share

ผมรู้ว่าหลายคนสงสัยว่า ถ้ามี A Share มันก็ต้องมี B Share สิฟร่ะ??? (ท่านคิดถูกแล้วครัชชชช) สืบเนื่องจาก มีนักลงทุนต่างชาติที่สนใจเข้าลงทุนในหุ้นที่ Listed ใน Shanghai และ Shenzhen แต่เนื่องจากในอดีต สกุลหยวนยังไม่เป็นที่ยอมรับ ดังนั้น ทางตลาดหลักทรัพย์จีน จึงเปิดให้มีการซื้อขายหุ้นบางตัวในสกุลอื่น ซึ่งก็คือ USD สำหรับ Shanghai และ HKD สำหรับ Shenzhen แต่เนื่องจากจำนวนหุ้นมีเทรดในดัชนีนี้มีน้อยมากๆ บวกกับนักลงทุนไม่ค่อยนิยม ดัชนี B Share ก็เลยไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในวงกว้าง

3.  H Share

ดัชนีตัวต่อมาก็คือ H Share ทั้งนี้ บริษัทใน H Share ก็คือ บริษัทที่จดทะเบียนและทำธุรกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ แต่มา Listed ตัวเองในฮ่องกงแทน โดยซื้อขายกันเป็นเงินสกุล ฮ่องกงดอลล่าร์ (HKD) ชื่อเต็มของดัชนีตัวนี้ก็คือ Hang Seng China  Enterprise Index (HSCE) ปัจจุบัน ถ้านักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในจีน จะมาลงทุนใน H Share นี้แทบจะทั้งหมด สาเหตุเป็นเพราะ อย่างที่ทราบกันดีว่า มาตรฐานด้านการบัญชีของจีนนั้น ถือว่าสอบตกในเวทีโลก รวมถึงการที่นักลงทุนในประเทศซื้อขายหนักในตลาด A-Share แถมมีแต่สกุล RMB ให้เทรด ก็เลยไม่ได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนต่างชาติ แต่การที่มีบริษัทที่เอาตัวเองมา Listed ใน HSCE ที่มาตรฐานการบัญชีของฮ่องกงนั้นดีกว่าเป็นไหนๆ เพราะได้ชื่อว่าเป็น Financial Hub ของเอเชีย ก็ทำให้การเข้าถึงการลงทุนในจีนผ่านตลาดทุนเป็นเรื่องที่น่าสนใจขึ้น ปัจจุบัน มีหุ้นในดัชนีไม่ถึง 70 ตัว และขนาด Market Cap ของ H Share นั้นคิดเป็น 1 ใน 3 ของ A Share เท่านั้นเอง โดยส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดใหญ่เกินกว่า 90% ในขณะที่พวก Small Cap นั้นน้อยมากครับ

4. Red-Chips

ดัชนีตัวนี้ รวบรวมเอาบริษัทจีนที่รัฐบาลจีนเป็นผู้ถือหุ้นร่วม และประกอบธุรกิจในต่างประเทศ (ไม่ได้อยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่) แต่จดทะเบียนอยู่ในตลาดฮ่องกง ซื้อขายด้วยสกุลเงิน HKD เหมือนกับ H Share ทั้งนี้ ตัว Red-Chips ถือว่านักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจไม่น้อยไปกว่า H Share เท่าไหร่ 

5. P-Chips

ดัชนีตัวนี้คล้ายๆกับ Red-Chips ครับ เพียงแต่ เป็นบริษัทที่ไม่มีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้น ซื้อขายในสกุล HKD เช่นเดียวกัน Market Cap. เล็กกว่า Red-Chips นิหน่อย ปัจุบัน กองทุนรวมในไทยบางกอง ที่ขนเงินไปลงทุนในจีนก็แบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนใน Red-Chips และ P-Chips เหมือนกัน เพื่อประโยชน์ด้าน Diversification (การกระจายความเสี่ยง) ของกองทุนครับ

นอกจากนี้ ยังมีหุ้นจีนอีกกลุ่มที่ไม่อยู่ในดัชนีทั้ง 5 ตัวข้างต้น ที่ทำธุรกิจอยู่นอกจีนแผ่นดินใหญ่ หรือ Greater China (จีน ฮ่องกง มาเก๊า และ ไต้หวัน) โดยไป Listed ตัวเองในตลาดหุ้นสหรัฐฯ NYSE และ NASDAQ รวมถึงตลาดหุ้นสิงคโปรค์ โดยซื้อขายกันใน 2 สกุลตามประเทศที่ตัวเองไปจดทะเบียนก็คือ USD และ SGD นั้นเอง

 แล้วนักลงทุนไทย ถ้าสนใจลงทุนในจีน ควรลงทุนในตลาดไหน?

เราถือเป็นนักลงทุนต่างชาติสำหรับตลาดหุ้นจีนนะครับ เพราะฉะนั้นการเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่โดยตรงนั้นทำไม่ได้ แต่กองทุนรวมที่เป็นเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงนั้น จะทำให้เราสามารถเข้าไปลงทุนหุ้นจีนได้ผ่านหุ้นที่อยู่ใน 2 ดัชนีหลักก็คือ A Share และ H Share นะครับ ส่วนว่า ควรไปลงทุนตลาดไหน ก็ดูสองประเด็น

1) A Share นั้นตลาดใหญ่ มูลค่าการซื้อขายหนาแน่น แต่หุ้นใน A Share นั้น ไม่ได้รับการยอมรับในเรื่องของมาตรฐานการบัญชี อาจมีการตกแต่งตัวเลขบัญชีให้สวยงามเกินจริง ดังนั้น มีความเสี่ยงสูงกว่า แต่ถ้าใครชอบอะไรที่เร็วๆ ซิ่งๆ ก็คือว่า A Share ตอบโจทย์ท่านแน่นอน

2) H Share นั้นคัดเลือกบริษัทที่มีคุณภาพ และมาตรฐานบัญชีที่ได้รับการยอมรับ แต่เนื่องจากการเข้าลงทุนใน H Share นั้นยังไม่กว้างขวาง ราคาหุ้นของบรษัทที่ Listed ทั้ง A และ H จึงต่างกันค่อนข้างมาก ซึ่งประเด็นนี้ ใครเป็นนักลงทุนระยะยาว ต้องเอามาพิจารณาด้วย

กราฟด้านล่างคือ ดัชนี Hang Seng AH Premium คำนวนโดยดูส่วนต่างราคาหุ้นจีนทั้งสองตลาด การแปลความหมายก็ง่ายๆครับ ถ้าดัชนี > 100 แสดงว่า หุ้นใน A Share นั้นแพงกว่า H Share แต่ถ้าต่ำกว่า < 100 ก็กลับกัน คือ H Share แพงกว่า A Share อย่างในช่วงปัจจุบันที่ตลาดหุ้นจีนร้อนแรงมากๆ ก็จะเห็นว่าดัชนีตัวนี้ มีค่า >100 นั้นแปลว่า ใครมองเรื่อง Valuation แล้วละก็ ณ ตอนนี้ H Share น่าสนใจกว่า

AH

อีกกราฟหนึ่ง เปรียบเทียบการวิ่งของตลาดหุ้นสองตลาด Shanghai Composite (SSEC) และ Hang Seng China Enterprise (HSCE) ซึ่งเป้นตัวแทนของ A Share และ H Share จะพบว่า A Share วิ่งแรงแซงทุกๆโค้งครับ แต่ลองหลับตานึกภาพตอนตลาดปรับฐาน ท่านก็คงนึกภาพกันตามออกว่า หน้าตาจะออกมาแบบไหน ^^

SSEC HSCE