บทความก่อนหน้านี้ กับ โพสหลายๆอันใน Facebook Fanpage ผมพาคุณผู้อ่านไปดูภาพกว้างๆของธุรกิจ Health Care ซึ่งเป็นหนึ่งใน Mega Trend ที่มีความน่าสนใจในการลงทุนระยะยาวนะครับ เนื่องจากช่วงนี้ เป็นช่วงที่ บลจ.กรุงศรี มีการเสนอขาย IPO กองทุนตัวใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้โดยตรง จึงขอมาทำรีวิวกอง Master Fund ให้ทุกท่านได้ทราบกัน เพื่อเป็นข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน ด้วยการถามตอบกับ Mr.Messenger แบบอ่านหนุกๆนะครับ ^^

Q : KF-HEALTHD ชื่อเป็นมงคลนะ (555)
A : อันนี้ต้องยกความดีความชอบให้คงแต่งชื่อย่อกองทุนนะครับ หุหุ จริงๆ มันเกิดจาก กองทุนนี้ จะมีนโยบายจ่ายปันผลให้ผู้ถือหน่วยครับ ทาง บลจ.กรุงศรี จดนโยบายไว้กับ กลต. ว่า จะพิจารณาจ่ายปันผลปีละไม่ต่ำกว่า 1 ครั้ง ในอัตราที่ไม่ต่ำกว่า 10% ของกำไรสุทธิ แต่ก็แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนเขานะครับ ว่าจะจ่ายตอนไหนเมื่อไหร่ ซึ่งการจ่ายปันผลหรือ Dividend ตัวนี้ เลยเป็นที่มาที่ทำให้ชื่อย่อของกองทุน มีตัว “D” อยู่ข้างหลังนั้นเอง

Q : กองนี้เป็น Feeder Fund หรือ Funds of Fund?
A : กอง KF-HEALTHD เป็น Feeder Fund ไปลงทุนในกองทุนหลักที่ชื่อว่า JPMorgan Global Healthcare Fund ครับ ใครอยากดู Performance ของกองทุนแม่ ก็ไปที่ www.Bloomberg.com แล้วพิมพ์ Code ตรงช่อง Symbol ตามนี้ “JPHLTUA:LX”

Q : ชอบ Theme Health Care ว่าแต่ กองนี้ ไปลงทุนในอะไร?
A : ผมลองเข้าไปดูใน Fund Fact Sheet ของกองทุนหลัก ก็เห็นหน้าตาพอร์ตเป็นแบบนี้นะครับ

จะเห็นว่า กองทุนนี้ เน้นหนักลงทุนใน 2 อุตสาหกรรมหลักของธุรกิจ Healthcare นั้นคือ ผู้ผลิตยา และ Biotech หรือ เทคโนโลยีชีวภาพ โดยสองกลุ่มนี้ รวมกันก็มากถึง 70% ของพอร์ตทีเดียว ในแง่ของ Country Allocation บริษัทผู้ผลิตยาส่วนใหญ่ก็อยู่ในอเมริกาทั้งนั้น ดังนั้น ทั้ง Benchmark และกองทุนหลัก ก็หนักลงทุนในอเมริกาเช่นกัน

Q : Benchmark ของกองทุนนี้คือใคร?
A : Benchmark ของกองทุนนี้คือ MSCI World Health Care ครับ ซึ่งถ้าดูผลตอบแทนในช่วง 3 ปีย้อนหลังที่ผ่านมา จะเห็นว่า ฉีกจาก Benchmark ออกมาอย่างขาดลอยเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะ การที่กองทุนหันไปลงทุนในกลุ่ม Biotech มากกว่าน้ำหนักของตลาดซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่ถูกจังหวะ เพราะการวิจัยพัฒนายารักษาโรคในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กลับกลายเป็นว่า กลุ่มนี้ ดูเป็นความหวังของผู้ป่วยมากขึ้น

อีกอย่างคือ JPMorgan ไม่ได้ลงทุนเฉพาะบริษัทยาขนาดใหญ่เท่านั้นนะครับ ซึ่งต่างจาก MSCI World Health Care ที่เน้นลงทุนในหุ้น Market Cap ใหญ่ และอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (developed countries) เท่านั้น

Q : แล้วบริษัทขนาดเล็กมันดียังไง?
A : ก็ปั่นราคาง่ายไง เอร้ยยยย ไม่ใช่!! 5555+ ดีตรงที่ บริษัทเหล่านี้มันยังมี Growth ในระดับที่สูงมากๆอยู่ ยา หรือวัคซียบางประเภท ไม่ได้ต้องใช้ทุนวิจัยที่สูง แต่พึ่งความสามารถของนักวิจัยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งบริษัทเล็กๆเหล่านี้ก็มีจุดแข็งอย่างที่บอก และข้อดีอีกข้อคือ พอถึงขั้นตอนการขอจดสิทธิบัตร สมมติว่า บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Roche หรือ Johnson & Johnson เขาวิจัยไม่ทันแต่อยากขายยาตัวนั้น วิธีที่ง่ายที่สุด ก็อย่างที่คุณวิชัย ทองแตง ทำกับเครือโรงพยาบาลกรุงเทพนั้นหล่ะ บริษัทเราใหญ่ และเงินเยอะนิ ก็ไปซื้อบริษัทนั้นมา ได้พร้อมสิทธิบัตรเลยสิ ด้วยเหตุนี้ ราคาของบริษัทขนาดเล็กเหล่านี้ ก็เลยมีการแกว่งค่อนข้างสนุกสนาน และสร้างผลตอบแทนให้กองทุนได้เหนือดัชนีชี้วัด แต่ที่เล่ามาซะยาวเนี่ย บริษัทเล็กๆ ตามคำนิยามของ JPMorgan เขา ก็คือ Market Cap ต่ำกว่า $1Billion !!! ซึ่งก็ยังถือว่าใหญ่มากๆนะครับ หุ้นแค่ 3-4 ตัวในกองนี้ รวมกัน Market Cap ก็ใหญ่กว่า GDP ไทยซะอีก หุหุ

แต่จริง Market Cap ต่ำกว่า $1Billion นี้ กองทุนไปลงทุนทุนจริงๆก็แค่ 15% ของพอร์ตนะครับ เล่ามาซะยาว

Q : ไม่รู้จะถามอะไร มีอะไรจะเล่าอีกไหม?
A : พาไปดูหุ้นบางตัวใน Top10 Holdings แล้วกัน

ตัวแรก Johnson & Johnson 8.3% ของพอร์ต
บริษัทมีธุรกิจหลัก 3 ประเภท คือ
1. ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค เช่น ดูแลเด็ก การดูแลผิวหนัง การดูแลช่องปาก การรักษาแผล และการดูแลสุขภาพของผู้หญิง
2. เภสัชกรรม : ผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าทั่วไป (รายย่อย) การขายส่ง และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ต้องมีใบสั่งยา
3. อุปกรณ์ และเครื่องมือวิเคราะห์ทางการแพทย์ที่ใช้โดยแพทย์ พยาบาล โรงพยาบาล และคลินิก

โดยรายได้หลักของบริษัท ก็มาจากธุรกิจประเภทที่ 2 รวมถึง กำลังมียาออกใหม่ ซึ่งน่าจะกินส่วนแบ่ง Market Share ในตลาดได้กว้างขึ้น คือ Zytiga (รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก) Xarelto (การป้องกันการแข็งตัวของเลือด) Stelara และ Simponi (การต่อต้านการ
อักเสบ)

ราคาหุ้นย้อนหลัง 5 ปี เห็นแล้วต้องบอกว่า สวยงามมาก (แต่อาจจะดอยรึเปล่า ไม่รู้ละ)

ตัวที่สอง Roche 6.2% ของพอร์ต
เป็นบริษัทสัญาชาติสวิสฯ เป็นบริษัทที่หนักไปทางพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับการวิเคราะห์ และการรักษาโรค รวมถึงการบริการในการตรวจวิเคราะห์ในระยะเริ่มต้น การป้องกันโรค การวิเคราะห์ การรักษา และการตรวจสอบการรักษา จุดเด่นของ Roche ก็คือ การวิเคราะห์ วิจัยโรคมะเร็งของการแพทย์ปัจจุบัน Roche มีส่วนแบ่งกำไรตลาดในการรักษโรคมะเร็งมากที่สุดเลยก็ว่าได้ แถมบริษัทยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน Genetech บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพในสหรัฐฯ และ Chugai บริษัทเภสัชกรรมในญี่ปุ่น การพัฒนายาในขั้นกลางและขั้นสุดท้าย เรียกว่า รักษาแบบครบวงจรเลยทีเดียว

ราคาหุ้นย้อนหลัง 5 ปี มาทรงเดียวกับ Johnson เบยยย แต่ที่ไม่มีข้อมูล EPS กับ PE เพราะเป็นบริษํทนอกตลาดสหรัฐฯนะครับ SeekingAlpha เขาเลยหาข้อมูลไม่ได้

ยกตัวอย่างอีกซักบริษัท GSK (GlaxoSmithKline) 2.5% ของพอร์ต
เป็นบริษัทอังกฤษ ทำธูรกิจเยอะทีเดียวครับ ทั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา เภสัชกรรม วัคซีน การดูแลสุขภาพ ทีเด็ดของบริษัทนี้คือ เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทในโลกนี้ที่ วิจัยยาและวัคซีนให้แก่องค์การอนามัยโลก (WHO) สำหรับโรคหลัก 3 โรค คือโรคเอดส์ (HIV/AIDs) วัณโรค และ มาลาเรีย ยอดขายหลักมาจากผลิต และจำหน่าย วัคซีน ยาตามใบสั่งแพทย์ และยาจำหน่ายตามร้ายขายยา (OTC medicine)รวมถึงผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพสำหรับผู้บริโภค ถ้าใครนึกถึง Theme Aging Society และ การที่ประชากรในกลุ่มประเทศเกิดใหม่มีรายได้และสามารถเข้าถึงแหล่งยารักษาโรคได้ดีขึ้นละก็ GSK เนี่ย ได้ประโยชน์เต็มๆครับ เพราะยาพื้นฐานส่วนใหญ่ ก็ผลิตมาจาก GSK ด้วยเช่นกัน

Q : อืมมม พอเห็นภาพ แต่มีคนบอกว่า บริษัทกลุ่ม Biotech เนี่ย ตอนนี้มูลค่าอาจจะแพงเกินไป คุณมองว่าไง?
A : คนที่พูดเนี่ย หนึ่งในนั้นคือ Janet Yellen ประธาน Fed ด้วยนะครับ แต่ขอให้มองในอีกมุมหนึ่ง เอาไว้ไปคิดต่อนะครับ
กลุ่ม Biotech จะมีการวิจัยและพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆซึ่งต้องใช้เวลาหลายปีมาก กว่าจะขอยื่นจดสิทธิบัตรกับ FDA ได้ โดย PE จะถูกลากสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อขั้นตอนการวิจัย มาถึง Phase III ซึ่งเริ่มทำการให้ยากับผู้ป่วยจริง และถ้าผ่านจากตรงนี้ จะได้สิทธิบัตร และขายยาได้ใน 2-3 ปีข้างหน้า เรียกว่ามีลุ้นได้กำไรเป็นกอบเป็นกำนั้นเอง เปรียบไปก็เหมือนกับหุ้นกลุ่ม Property Developer ทืเก็งกับว่าจะได้งานโน้นนี้นั้นเท่าไหร่นั้นล่ะครับ อีกสาเหตุหนึ่งคือ Cost ของการทำ R&D อย่างอย่างมันสูงมาก จนกำไรในช่วงก่อนหน้า แทบไม่มีให้เห็น มันก็กลับไปที่เหตุผลแรกอีกรอบว่า ต้องรอให้ยามันผ่าน FDA เสียก่อน

Q : FDA คือใคร ใหญ่มาจากไหนฟร่ะ?
A : ย่อมาจาก Food and Drug Administration ครับ มีกันทุกประเภท จะขายอาหารหรือยาอะไร ก็ต้องมั่นใจก่อนว่าปลอดภัยกับผู้บริโภค มันเลยต้องมีคนตรวจสอบ มีคนรองรับ ซึ่งก็คือ FDA นี่ละ
การวิจัยยาทุกตัว จะแบ่งเป็น 4 Phase คือ Preclinical (ทดลองกับสัตว์) >> Phase I (ทดลองกับคนจำนวนน้อย) >> Phase II (ทดลองกับคนจำนวนมาก) >> Phase III (ทดลองกับผู้ป่วยจริง) แล้วค่อยจดสิทธิบัตรได้

จากตารางด้านบนจะเห็นว่า อัตราการผ่านจาก Phase II มา Phase III นั้น แค่ 12% เท่านั้น และแต่ละ Phase ก็ใช้เวลาเฉลี่ยคือ 2-4 ปี ซึ่ง FDA ก็จะอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบทุกๆ Phase นะ

อ้อ เห็นเขาวิจัยกันยาวนานขนาดนี้ JPMorgan Global Healthcare จะลงทุนเฉพาะบริษัทที่วิจัยยาผ่าน Phase II มาแล้วเท่านั้นนะครับ เพื่อลดความเสี่ยง ดังนั้น Biotech ทั้ง Sector เราอาจเห็นบางบริษัท PE เกิน 50 ถึง 100 เท่าก็มี แต่หุ้น Biotech ในกองของ JPM นี้ P/E สูงสุดจะอยู่ราวๆ 40 เท่า (ซึ่งบางคนก็มองว่าแพงอยู่ดี ฮาๆ)

Q : เห็นว่า ในไทย ก็มีกอง Health Care เหมือนกันนิ?
A : บลจ.บัวหลวง ออกกองทุน Sector นี้มาตั้งแต่ปี 2550 ลงทุนในธุรกิจ Healthcare เหมือนกัน โดยกองทุนหลักชื่อว่า Wellington Global Health Care Equity ใครสนใจรายละเอียดเชิงลึก คุณ ไตรรัตน์ เคยเขียนรายละเอียดกองไว้ในลิงค์นี้ครับ ตามไปอ่านกันได้ http://fundmanagertalk.com/wellington-global-health-care/ อ่านแล้ว ถ้ารู้สึกชอบทั้งสองกอง ก็คงต้องมาเปรียบเทียบกันที่ผลตอบแทนนะครับ ทั้งสองกอง ชนะ Benchmark ไม่ยาก และเมื่อเปรียบเทียบกันแบบตัวต่อตัว เป็นอย่างไร ก็ตามตารางด้านล่างจ้า

ถ้าเทียบในแง่ Risk Reward โดยดูระหว่าง S.D. และผลตอบแทนในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่า JPM เสี่ยงกว่า NAV ผันผวนกว่า แต่ก็ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า Wellington เช่นกันครับ

จบแล้วเรียบร้อย หวังว่าคงได้ประโยชน์ ไม่มากก็น้อยนะครับผม 🙂