Emerging Market คืออะไร? คงต้องปูพื้นเริ่มจากคำถามนี้ก่อน
Emerging Market หรือ EM คือ ระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ หรือ ก่อนหน้าเรียกว่า ตลาดกำลังพัฒนา ซึ่งตรงกันข้ามกับ ตลาดพัฒนาแล้ว หรือ Developed Market (DM)
แบ่ง EM กับ DM ยังไง?
1. ดูที่รายได้ประชาชาติ (GNI –Gross National Income per capita) ถ้าเป็น DM จะแบ่งคร่าวๆที่รายได้ USD 10,066 ต่อหัวขึ้นไป หรือ ปีละ 312,000 บาท (เดือนละ 26,000 บาท) ต่ำกว่านั้น เป็นประเทศเกิดใหม่ ปัจจุบัน ไทยอยู่ที่ USD 5,400 หรือ 167,400 บาท ตกเดือนละ 13,950 บาท ต่างกับเกณฑ์ของ DM เกือบ 2 เท่า ฉะนั้นเราเป็น EM นะครับ
2. ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ และระดับการศึกษาเฉลี่ยของคนในประเทศ รวมทั้งคุณภาพชีวิตของประชากร
3. ผลผลิตทางอุตสาหกรรมและการเกษตร
กลุ่มประเทศ Emerging Market นั้น ถูกนักวิเคราะห์และนักลงทุนแบ่งออกตามภูมิภาค 3 โซนด้วยกัน
1. เอเชีย มีประเทศ ไทย, เกาหลีใต้, จีน, อินเดีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, ปากีสถาน
2. ละตินอเมริกา มีประเทศ อาร์เจนตินา, บราซิ, ชิลี, โคลัมเบีย, เม็กซิโก, เปรู และ เวนาซูเอลา
3. ยุโรปตะวันออก และตวันออกกลาง มีประเทศ สาธารณรัฐเชก, ฮังการี, โปแลนด์, รัสเซีย, อิสราเอล, จอร์แดน, โมร็อคโค, อียิปต์, แอฟริกาใต้ และ ตุรกี
ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมดที่กล่าวมา มีประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีขนาดใหญ่ และถูกจับตาว่าจะเป้นตัวขัยเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกอยู่ 4 ประเทศด้วยกัน นั้นคือ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย และ จีน โดยใช้ชื่อย่อว่า BRIC นั้นเอง
จุดเด่นของเศรษฐกิจประเทศในตลาดเกิดใหม่คืออะไร?
ประเทศเหล่านี้ มีอัตราการเติบโตทาง GDP ที่สูงกว่าตลาดพัฒนาแล้ว อย่างตอนนี้ อเมริกาขยายตัวได้ราวๆ 2% ต้นๆ ส่วนยุโรปนั้น GDP Growth กำลังจะติดลบให้เห็น แต่ประเทศใน EM สามารถโชว์การเติบโตได้ที่ 3% ขึ้นไป นี่คือจุดเด่นข้อสอง
จุดเด่นอีกข้อคือ มีปัจจัยพื้นฐานที่รองรับการพัฒนาประเทศได้ดีกว่า นั้นคือ มีหนี้สาธารณะในระดับต่ำ ในขณะที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ไม่เหมือนอย่างกลุ่ม Euro Zone ที่ Debt to GDP สูงกว่า 70-80% บางแห่งอย่างกรีซนั้นสูงถึง 120%
เศรษฐกิจของ Emerging Market ได้รับผลกระทบจากปัญหาการชะลอตัวของสหรัฐฯ และปัญหาหนี้ของยุโรปไหม?
สำหรับประเทศที่พึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศดังกล่าวเยอะๆ ย่อมเจอปัญหานี้เป็นธรรมดา นั้นเป็นคำตอบที่ว่า ทำไมช่วง 2 ปีที่ผ่านมา EM โดยรวมถึงดูสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นได้ค่อนข้างน้อย
แต่สำหรับกลุ่มประเทศที่ปรับกลยุทธ์และหันมาจริงจังกับการเติบโตภายในประเทศมากขึ้น ก็จะโดนผลกระทบจะโลกน้อยลง หรือแทบไม่มีผล ดูได้จากเศรษฐกิจ และตลาดหุ้นของไทยในปีนี้ ซึ่งยังสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่นักลงทุน โดยหากนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 6 ธ.ค. ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทย (SET Index) สร้างผลตอบแทนได้เป็นอับดับ 3 ของโลก ที่ 30.68% เป็นรองแค่ ตุรกี และฟิลิปปินส์ ซึ่งทั้งสองประเทศนั้น เป็นประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใมห่ (Emerging Market) เหมือนกัน
อนาคตข้างหน้า จะเป็นอย่างไร?
ระยะสั้นๆแล้ว เงินเฟ้อของกลุ่ม EM จะทยอยลดลง ซึ่งจะทำให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศมีกระสุนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ (ลดดอกเบี้ย) ในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากสหรัฐและยุโรปมากกว่าที่เป็นอยู่ จึงทำให้ดูยังพอรับมือได้ แต่ในระยะยาว เมื่อกระตุ้นได้ดี เศรษฐกิจโตขึ้น เงินเฟ้อจะกลับมาเป็นปัญหากดดันอีกครั้ง จากการที่เงินทุนไหลเข้า และนักลงทุนต่างชาติพยายามนำเงินมาลงทุน แทนที่จะกอดเงินอยู่ในบ้านตัวเองที่อเมริกาหรือยุโรป ดังนั้น ประเทศที่ดำเนินยุทธศาสตร์ทางเศรษบกิจที่ถูกต้อง เน้นส่งเสริมการลงทุน และการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก จะดูดีกว่า และปลอดภัยกว่า ในแง่ของการลงทุนในระยะยาว ซึ่งเมื่อมองในมุมนี้ ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่น่าสนใจ ก็อยู่ใน “เอเชีย” แทบทั้งหมด
ออกไปลงทุนในต่างประเทศ ก็ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดีหากมีข้อมูล และเตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นได้นะครับ