อย่างที่เรารู้กันว่า วิกฤตฟองสบู่แตก ต้มยำกุ้ง แฮมเบอร์เกอร์ ที่เราอาจจะได้ยินกันคุ้นหูอยู่แล้ว
แต่เคยสงสัยกันไหมว่า ไอวิกฤตฟองสบู่แตก ที่เป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจใหญ่ๆของโลกเนี่ย เกิดขึ้นครั้งแรกตอนไหน
วันนี้มานี่จะพาทุกคนมาย้อนรอย “วิกฤตฟองสบู่แตกครั้งแรก” กัน
ครั้งแรกที่เหตุการณ์ฟองสบู่แตกเนี่ยมันเกิดขึ้นกับทิวลิปยังไงละ หรือมีชื่อที่ฝรั่งเค้าเรียกกันเท่ๆว่า “The Dutch Tulip Mania Bubble”
ง่ายๆก็ วิกฤตฟองสบู่ทิวลิป นั่นแหละจ้า
หู้ว…น่าสนใจละสิว่าประวัติของมันเป็นยังไง วันนี้มานี่จะมาเล่ากันง่ายๆให้เพื่อนๆฟังกันนะจ๊ะ
วิกฤตการณ์ฟองสบู่แตกครั้งแรก มันเกิดขึ้นเมื่อ 383 ปีก่อน ในดินแดนแห่งทุ่งทิวลิปอันสดใส ประเทศเนเธอแลนด์นั่นเอง
ในช่วงปี ค.ศ. 1600-1700 เป็นช่วงยุคทองของดัช เศรษฐกิจรุ่งเรือง คนรวยเนี่ยเดินกันเพียบ ในเมื่อคนรวยเยอะขนาดนี้ก็ต้องมีสิ่งของฟุ่มเฟื่อยกันบ้าง (ถ้าเป็นยุคนี้ก็คงจะเป็น กระเป๋า ทองคำ อะไรอย่างงี้แหละ ที่แสดงถึงความร่ำรวยไงละ) และแล้วประจวบเหมาะ ดอกทิปลิปก็เข้ามาในช่วงนั่นพอดี ซึ่งดอกทิวลิปไม่ใช่พืชพื้นเมืองยุโรป มันจึงดูสวยงามแปลกตา ทำให้ในสมัยนั้นถ้าใครมีดอกทิวลิปเนี่ย ถือว่า ไฮโซ มากยิ่งมีสีเยอะๆ ยิ่งสวย เริ่ดอ่ะ
ดังนั้น ไม่รอช้าชาวดัชเห็นว่าดอกทิปลิปเนี่ยน่าจะขายได้ราคาดี ชาวดัชก็เริ่มอยากได้หัวทิปลิป จะได้เอาไปปลูกขายทำกำไรกันไป ซึ่งเจ้าต้นทิวลิป จะออกดอกเดือน มิถุนายน-กันยายน เท่านั้น จากนั้นถึงจะได้หัวทิปลิปไปปลูกต่อทำกำไร
พอ ถึงเดือนตุลาคม ปุ๊บก็เลยอยากมีคนซื้อหัวทิปลิปกันเพียบ แต่มันก็มีจำนวนจำกัดนะจ๊ะ เพราะพึ่งเข้ามาไม่นาน
ดังนั้น ก็เกิด การซื้อ-ขายใบจองขึ้น หรือก็คือ สัญญาซื้อขายทิวลิปล่วงหน้า (Future Contract) ขึ้น
ก็คือใครมี สัญญาอันนี้ เมื่อมีหัวทิวลิปออกมาก็จะได้หัวทิวลิปไป แลกกันๆ แฟร์ๆ
เมื่อมีสัญญาซื้อขายเกิดขึ้น ก็เกิดการเก็งกำไรจากพ่อค้าต่างๆ จากแรกๆ ราคาหัวทิวลิป 1 หัว เท่ากับ 5-15 กิลเดอร์ (ค่าเงินของชาวดัช) ตามปกติ แต่แล้ว ราคาของมันก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมีผู้คนต้องการจำนวนมาก จาก 15 ก็เป็น 50 เป็น 100 จนกระทั้งพุ่งขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้นักลงทุนต่างๆหรือแม้แต่ประชาชนทั่วไปก็เข้ามาซื้อขายเก็งกำไรในครั้งนี้ มีบันทึกไว้ว่า มีการนำที่ดินถึง 12 เอเคอร์ (49,000 ตารางเมตร) มาแลกหับ หัว “Semper Augustus” เพียงหัวเดียว
หลังจากนั้นการซื้อขายหัวทิปลิปก็เป็นไปจนกระทั่งอยู่ดีๆ วันที่ 3 ก.พ. 1637 การขายสัญญาซื้อขายก็หยุดชะงักลง เมื่อการประกาศขายสัญญาณทิวลิปที่ 200 กิลเดอร์ นั้นไม่มีผู้ซื้อแล้ว จึงทำให้เกิดเหตุการณ์วิตกกังวลของทุกคนขึ้น ฟองสบู่ที่สะสมมากับดอกทิวลิปได้แตกแล้ว ทุกคนคิดว่าราคาได้ถึงระดับที่สูงที่สุดแล้ว ทุกคนต่างรีบขายสัญญาณกันใหญ่ แต่ก็ไม่มีใครอยากซื้อ ทำให้ราคาทิ้งดิ่งลงเหวจาก 200 กิลเดอร์ กลับมาเหลือ 10 กิลเดอร์หรือต่ำกว่าภายในเดือนเดียว ทำให้เศรษฐกิจถึงกับซบเซาต่อเนื่องไปหลายปี แล้วยุคทองของดัทช์ก็ได้สิ้นสุดลงเช่นกัน
เหตุการ “ วิกฤตฟองสบู่ทิวลิป (The Dutch Tuplip Mania Bubble )” เป็นวิกฤตฟองสบู่ทางการเงินสมัยใหม่เป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้น เหมือนกับ เหตุการณ์ วิกฤตต้มยำกุ้งของเรานั้นเอง ซึ่งวิกฤตเหล่านี้ก็เกิดจากความต้องการที่จะเก็งกำไรของคนเรา จึงทำให้ลงเอยด้วยวิกฤตฟองสบู่แตก
*** เพิ่มเติม ***
ดอกทิวลิป Semper Augustus ถือเป็นดอกทิวลิปที่สวยที่สุดในยุคนั้น ราคาของมันมีมูลค่าสูงสุดถึง 12,000 guilders เทียบปัจจุบันก็ 2 แสนกว่าบาท แต่ในยุคนั้น มานี่ว่าน่าจะประมาณ 4 ล้านกว่าบาท โอ้ววมายก้อด ไม่แปลกเลยที่คนเอาที่ดินมาแลก
ใครอยากเห็นว่าสวยขนาดไหนลองไปหาดูกันได้นะจ๊ะ
ที่มา : มานี่ มีตังค์ – https://www.facebook.com/maniemoney/