มอง Libra ในมุมบริหารความเสี่ยง

เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน สกุลเงินคริปโตใหม่ล่าสุดนามว่า ‘Libra’ ได้ถูกเปิดตัวโดย Facebook ภายใต้องค์กรที่ตั้งขึ้น

และระบบแอพลิเคชั่นใหม่ที่ชื่อ Calibra ในสวิสเซอร์แลนด์ ที่ได้ชื่อว่าปลอดภัยที่สุดในโลกการเงิน โดยผู้ใช้จะมั่นใจกว่าคริปโตสกุลอื่นๆ ด้วยการใช้เงินสกุลหลักของโลก อาทิ ดอลลาร์ ยูโร และ เยน ในการสำรองเพื่อใช่หนุนหลัง (Tethering ในภาษาของบล็อกเชน) ทั้งนี้ Libra จะถูกกำกับดูแลโดย หน่วยงานอิสระชื่อ Libra Association ผ่าน Founding Members ในหลายกลุ่มธุรกิจ โดยตอนแรกจะเริ่มจาก 27 หน่วยงาน ที่มี Market Capitalization มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ร่วมลงขันบริษัทละ 10 ล้านดอลลาร์ โดยคาดว่าจะเริ่มใช้ในปีหน้า

ก่อนอื่น ผมขอเกริ่นย่อๆ ว่า ของความสัมพันธ์ระหว่าง บล็อคเชน และบิตคอยน์ ให้เข้าใจกับแบบเบื้องต้นก่อน เริ่มจาก บล็อคเชน เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์ของศาสตร์ที่ว่าด้วยการเข้ารหัส หรือ Cryptography โดยข้อมูลที่ส่งออกจากจุดหนึ่งจะส่งออกเป็น Block โดยที่จะเดินทางไปทุกจุดในระบบ บล็อคเชนที่กระจายไปทั่วหรือ decentralization โดยที่ผู้รับเท่านั้นที่มีพาสเวิร์ดซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลซึ่งเมื่อบันทึกแล้วไม่สามารถแก้ไขนี้ได้ ดังนั้นในระบบนี้ จึงไม่มีใครเป็นเจ้าของ เนื่องจากทุกคนในระบบเข้าถึง Block ที่ว่าได้ ทว่าด้วยการเข้ารหัสเป็นอย่างดี จึงมีผู้ที่มีพาสเวิร์ดเท่านั้น ซึ่งสามารถอ่านหรือได้รับข้อมูลนั้นได้ ทำให้มีความปลอดภัยสูงและต้นทุนถูก เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทว่าข้อเสียคือยังค่อนข้างช้า

ทีนี้ เจ้า บิทคอยน์ เข้ามามีบทบาทตรงที่จะเป็นทรัพยากรในการเข้ารหัสของ Block ดังกล่าว ซึ่งยิ่งมีสูตรการเข้ารหัสที่เก่งแค่ไหนก็ยิ่งจะได้รางวัลเป็นบิตคอยน์ มากแค่นั้น

ในภาษาทางเทคนิค Libra เน้น Tethering ด้วยการใช้เงินสกุลหลัก เพื่อทำให้เกิดมูลค่าในตัวมันเอง (Intrinsic Value) ส่วนบิตคอยน์เน้นส่วนของกุญแจบล็อคเชน นั่นคือ Libra เน้น ในส่วนการ Tethering ของบล็อคเชนมาเป็นเงินสกุลดิจิตอลนั่นเอง

สำหรับ White Paper หรือเอกสารที่ใช้สำหรับการพัฒนาของ Libra ระบุว่า Libra คือ สกุลเงินคริปโตที่มีความผันผวนของราคาต่ำ (low volatility) ที่ใช้บล็อคเชน ซึ่งสามารถเข้าถึงได้เฉพาะสมาชิก 27 แห่งดังกล่าวในช่วงเวลาต้นๆ มาช่วยสนับสนุนโดยความผันผวนของราคาต่ำมาจากการมีเงินสกุลหลักหนุนหลังมาคอยประคองตัวเงินคริปโต

โดยสรุป Libra จะเป็นส่วนผสมระหว่าง หนึ่ง ระบบ currency board ของฮ่องกงที่มีเงินดอลลาร์คอย fully backed สอง SDR ของ IMF ที่เป็นส่วนผสมตะกร้าของเงินสกุลต่างๆ และ สาม แอพ Wepay หรือ Alipay ที่สะดวกในการจ่ายเงิน

ในมุมข้อดีและข้อเสียของ Libra มีดังนี้

ข้อดีของ Libra ได้แก่

หนึ่ง เป็นระบบการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากมีตัวกลางน้อยลง (Disintermediation)

สอง จีดีพี ต้องใช้เม็ดเงินและความเร็วในการหมุนเงินเป็นแรงขับเคลื่อน ตามสมการเชิงปริมาณของฟิชเชอร์ ซึ่ง Libra ทำให้ความเร็วในการหมุนของเงินเร็วขึ้นหลายเท่า

สาม Libra อาจจะเป็นสินทรัพย์อีกหนึ่งประเภทสำหรับนักลงทุน

ส่วนข้อเสีย ได้แก่

หนึ่ง Libra อาจเป็นความเสี่ยงต่อระบบการเงิน (monetary system)

สอง Libra อาจเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงิน (financial stability)

สาม ประเด็นความปลอดภัยของ digital wallet และ การถูกแฮ็กในอนาคตของ Libra

โดยความเสียหายที่ Libra อาจสามารถก่อให้เกิดเศรษฐกิจในอนาคตได้คือ หนึ่ง การเก็งกำไรค่าเงิน สอง การทำลายหรือทำให้ความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจของธนาคารกลางอ่อนแอลง สาม การก่อให้เกิดวิกฤตสไตล์แบบซับไพร์ม และท้ายสุด เฟซบุ๊คอาจใชัประโยชน์จากช่องโหว่ทางกฎหมายเพือธุรกิจของตนเองในอนาคต

ทั้งนี้ ข้อควรระวังในมุมของการกำกับเงินสกุลใหม่นี้ ซึ่งจะไม่ทำให้ Libra กลายเป็นปัจจัยที่บั่นทอนเสถียรภาพของระบบการเงินโลก มีดังนี้

หนึ่ง เฟซบุ๊คต้องไม่มีอำนาจในการกำหนดสัดส่วนระหว่างดอลลาร์ ยูโร และเยน เพื่อเลี่ยงการใช้ความได้เปรียบจากความสามารถในการโน้มน้าวพฤติกรรมของผู้ใช้ สำหรับเลือกฟีดในเฟสบุ๊คให้ชาวโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คเกิดความรู้สึกว่าสกุลเงินที่มาร์ค ซักเกอร์เบอร์ก ต้องการเชียร์ มีโอกาสแข็งค่าในอนาคตอันใกล้ ซึ่งตรงนี้จะเป็นช่องโหว่ให้เฟซบุ๊คอาจสามารถใช้เป็นช่องในการทำกำไรส่วนเกินหรือ Arbitrage

นอกจากนี้ ข่าว Oxford Analytics และ การแทรกแซงจากรัสเซียในการเลือกตั้งปธน.สหรัฐปี 2016 โดยใช้เฟซบุ๊ค กลายเป็นสิ่งที่หลายคนเกิดความวิตกต่อเจตนาและความซื่อสัตย์ของเฟสบุ๊คในโครงการ Libra นี้

สอง การกำหนดการเรียกเก็บเงินจากอัตราดอกเบี้ยแบบติดลบของธนาคารกลาง ยังต้องสามารถกระทำได้เหมือนเดิม โดย Calibra ต้องไม่เข้ามามีบทบาทในการแทรกแซง เพื่อให้ธนาคารกลางยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เหมือนเดิม

สาม สมาชิกของ Calibra นอกจากจะประกอบด้วยหน่วยงานหรือบริษัท 100 แห่งในอนาคต ยังควรต้องมีธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก โดยเฟด อีซีบี บีโอเจ จะเป็นสมาชิกถาวร ส่วนธนาคารกลางของประเทศเล็ก จะหมุนเวียนสลับกันเป็นวาระ โดยเงื่อนไขสำคัญคือจำนวนสมาชิกของฝังธนาคารกลางต้องมีมากกว่าฝั่งบริษัทเอกชน

สี่ เงินสำรองในรูปเงินสกุลหลักของโลก ต้องมาจากผู้ใช้ Libra ต้องไม่มาจากนักลงทุนอย่างที่ทาง White paper เขียนไว้

ท้ายสุด การใช้บล็อคเชน ที่เป็นเวอร์ชั่นแบบทีใช้กันในเฉพาะกลุ่มที่ลงทุนในโปรเจ็คนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ digital wallet ไม่ว่าจะเป็น cold/hot storage ของระบบของบล็อคเชน หรือการตอบตกลงการโอนเงินแบบ consensus ซึ่งไม่มีใครเป็นผู้อนุญาตหรือ permissionless ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ผมว่าควรใช้เฉพาะในการใช้เงินของสกุล Libra ในวงผู้ใช้เงินเท่านั้น แต่ต้องไม่ใช้ บล็อคเชน ในการบริหารเงินสำรอง เนื่องจากเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบการเงินครับ

ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647702

TSF2024