ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ (Regulation Risk) โถมกระหน่ำหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของจีนจนราคาร่วงลงอย่างหนักในปีนี้ และกำลังรุกคืบเข้าไปท้าทายบรรดายักษ์เทคสหรัฐมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการกินส่วนแบ่งตลาดเยอะจนแทบจะผูกขาดและวิธีเก็บข้อมูลซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของบริษัทเหล่านั้นล้วนตกเป็นเป้าโจมตี
หุ้นเทค (Tech Stocks) ยังมีโอกาสโตสูงกว่าสินทรัพย์ทั่ว ๆ ไปในระยะยาว แรงกดดันทางการเมืองและกฎระเบียบจากทั้งสองขั้วอำนาจสหรัฐ-จีน กระตุ้นให้นักลงทุนออกไปหาหุ้นเทคตลาดอื่นที่น่าสนใจและ “ได้เปรียบ” ในแง่มุมดังกล่าว
“เทคยุโรป” เผชิญความเสี่ยงกฎระเบียบน้อยกว่า ด้วย 3 เหตุผล จากบทความ Technology exists in Europe too! โดย Jon Ingram และ Alex Whyte ผู้จัดการกองทุน JPMorgan Funds – Europe Dynamic Technologies Fund
- บริษัทเทคโนโลยียุโรปจำนวนมากทำธุรกิจเฉพาะกลุ่ม (niches) แม้กำไรสูงแต่ปัจจุบันสเกลก็ไม่กว้างถึงขนาดที่จะกลายเป็นประเด็นผูกขาดในระดับใหญ่
- ยุโรปเป็นเลิศในธุรกิจ B2B บริษัทเทคยุโรปใหญ่สุด 10 อันดับแรกล้วนมุ่งเสนอสินค้า/บริการแก่ธุรกิจด้วยกัน (business-to-business) ชื่อเหล่านี้จึงอาจไม่ค่อยคุ้นหูคนทั่วไปแต่ก็เป็นผู้เล่นชั้นนำของโลกในอุตสาหกรรมของตนเอง และไม่ค่อยเสี่ยงกับประเด็นความเป็นส่วนตัวเชิงข้อมูล (data privacy) ตัวอย่างหุ้นเทคยุโรป B2B แถวหน้า เช่น ASML ผู้สร้างอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตชิปยุคใหม่ (next generation semiconductors) และ Adyen ซึ่งทำ software ชำระเงิน สนับสนุนธุรกิจหลายแบรนด์ใหญ่ระดับโลก
- บริษัทยุโรปมีประสบการณ์โชกโชนกับผู้คุมกฎที่เข้มงวด และได้ปรับปรุงนโยบายเก็บรักษาข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามเกณฑ์ General Data Protection Regulation (GDPR) เรียบร้อยแล้ว หมายความว่า บริษัทจำนวนมากแข็งแกร่งในด้านนี้ ข้อได้เปรียบดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่นักลงทุนยุโรปให้ความสำคัญเกี่ยวกับประเด็น สิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (ESG)
“เทคยุโรป” น่าลงทุนที่สุด (ในบรรดาเทคโนโลยี 3 ตลาด: สหรัฐ, จีน, ยุโรป) ราคาหุ้นมักจะถูกกว่าเทคสหรัฐตัวที่คล้ายกัน ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบก็มีน้อยกว่า นอกจากนี้ นโยบายสหภาพยุโรปสนับสนุนเต็มสูบ ขณะความเปลี่ยนแปลงหลังวิกฤตโควิดช่วยขยายโอกาสแก่ธุรกิจในธีมเทคโนโลยี ตัวที่น่าสนใจรองลงมาคือ “เทคจีน” ความเสี่ยงลดลงมากแล้วเพราะกลายเป็นปัจจัยลบสะท้อนในราคาหุ้นซึ่งร่วงแรงเกินเหตุจนเจอ “ผู้ซื้อ” อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนในตลาดจีนยังคงสูง จึงควรเข้าไปกับผู้จัดการสไตล์ยืดหยุ่นลงทุนได้หลากหลายเซ็กเตอร์ เช่น KT-CHINA ส่วนหุ้นเทคสหรัฐปัจจุบันน่าจะมีความคุ้มค่าน้อยที่สุดใน 3 ตลาด
เตรียมเข้าสู่ Mid-Cycle ด้วย “เทคยุโรป” หุ้นธีมเปิดเมือง (open up) ลดความนิยมลงไปเพราะภูมิภาคนี้เปิดมานานแล้ว เศรษฐกิจฟื้นดีขึ้นจน ECB เตรียมลดอัตราการซื้อสินทรัพย์ นำยุโรปเข้าสู่ “ช่วงกลางวัฏจักร” (mid-cycle) น่าจะกระตุ้นให้เงินลงทุนโฟกัสหุ้นเติบโตสูงกลุ่มที่อิงปัจจัยขับเคลื่อนระยะยาวมากยิ่งขึ้น ตัวหลักๆได้แก่ เทคโนโลยี และ climate change
กองทุนเปิดเคแทม ยูโรเปียน เทคโนโลยี อิควิตี้ ฟันด์ (KT-EUROTECH-A) เริ่มซื้อขายปกติ 28 ก.ย. 2021 ลงทุนในหน่วยของ JPMorgan Funds -Europe Dynamic Technologies Fund (กองทุนหลัก) เน้นบริษัทในภูมิภาคยุโรปที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นหลัก ธุรกิจที่ลงทุนได้มีหลากหลาย อาทิ Sustainability: Biofuel, EVs & Charging, Wind & Solar power / Digitalisation: Big data, E-commerce, Video gaming / Sustainable & Digital enablers: 5G, IT consulting, Semiconductors & Foundry เป็นต้น (ระดับความเสี่ยงกองทุน = 6)
คลิปสัมมนา: ทำไม “หุ้นเทคยุโรป” ถึงน่าสนใจหลัง ECB ส่งสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว
สับเปลี่ยนออก KTSTPLUS-A ทั้งหมด (10%) ไปเข้า KT-EUROTECH-A
คำเตือน: ความเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน
Krungthai Asset Management
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Krungthai Belief Allocation สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENAสำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Krungthai Belief Allocation คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก 1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT |
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด มหาชน หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”