มุมมองตลาดปัจจุบัน
ข้อมูลเศรษฐกิจยังคงบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐ และยุโรป ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า แต่ในอัตราที่ชะลอลง หลังการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้มีการใช้มาตรการล็อคดาวน์ในบางกิจกรรม อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจจีนและญี่ปุ่นมีแนวโน้มสดใสมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคการผลิตที่ขยายตัวมากขึ้น สอดคล้องกับภาคการผลิตในตลาดโลก เป็นสัญญาณว่าการค้าในตลาดโลกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากขึ้น
ในส่วนของตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือนตุลาคมชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากปัจจัยจากวันหยุดพิเศษหมดไป อย่างไรก็ดี หลายภาคส่วนประเมินตรงกันว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้ดีขึ้น ทั้งนี้ สภาพัฒน์ได้ปรับคาดการณ์จีดีพีของไทยในปีนี้เป็นติดลบน้อยลง หลังเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีกว่าที่คาด
ทั้งนี้ ในเดือนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวแข็งแกร่ง นำโดยหุ้นขนาดใหญ่ตามคาด ในขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกต่างปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดยได้แรงหนุนจากข่าวความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของนายโจ ไบเด็น ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ การฟื้นตัวของราคาน้ำมัน การฟื้นตัวของตัวเลขเศรษฐกิจ
ในส่วนของตราสารหนี้ ผู้จัดการกองทุนยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาว เนื่องจากภาวะดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำทั่วโลก และทิศทางการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางที่ยังคงเอื้อต่อการลงทุน อย่างไรก็ดี นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของนายโจ ไบเด็นจะส่งผลให้มีการออกจำหน่ายพันธบัตรเป็นจำนวนมาก จึงอาจส่งผลให้ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้ลดลง
พอร์ตการลงทุน
ในเดือนนี้ บลจ. กรุงศรีฯ แนะนำปรับพอร์ตการลงทุน เพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปีหน้า หลังผลการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 มีความชัดเจนมากขึ้น โดยปรับสัดส่วนการลงทุนใน Multi-Asset ออก และทดแทนโดยการลงทุนในกองทุนหุ้น นอกจากนี้ ได้ปรับการลงทุนในกองทุนหุ้นจีนเข้ามาเป็น Core Holding เนื่องจากเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มกลับมาเติบโตชัดเจนในระยะยาว และความเสี่ยงจากสงครามการค้ามีน้อยลง รวมถึงจีนน่าจะได้ประโยชน์จากเงินทุนไหลเข้า
ในส่วนของ Satellite Holding บลจ. กรุงศรีฯ เลือกกองทุนหุ้นญี่ปุ่น ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของการค้าโลก โดยคาดว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้นจะสามารถชดเชยผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินเยนได้ และเลือกกองทุน KFHHCARE-A เนื่องจากคาดว่าจะได้ประโยชน์จากวัคซีนต้านโควิด-19 และจากการโยกเงินลงทุนออกจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
กองทุนแนะนำสำหรับการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์/ภูมิภาค
กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ
KFAFIX-A:
- ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผลตอบแทนของกองทุนกลุ่มตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาวยังคงให้ผลตอบแทนที่ดี เนื่องจากเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Curve) ทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า ภายหลังจากที่ปรับตัวแบนราบลงในเดือนก่อนหน้า ประกอบกับส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (Corporate spread) ของหุ้นกู้เอกชนไทยในกลุ่มที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงยังคงปรับตัวลดลงทำให้กองทุนที่มีการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนได้รับประโยชน์เพิ่มเติม
- สำหรับแนวโน้มในช่วงหนึ่งเดือนข้างหน้าคาดว่าส่วนต่างอัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนกลุ่มที่มีคุณภาพเครดิตดีจะทยอยปรับลดลงต่อเนื่อง ภายหลังจากสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ปรับตัวดีขึ้นทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง จึงทำให้คาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนกลุ่มนี้มีความน่าสนใจโดยเฉพาะสำหรับเงินลงทุนระยะยาวที่ไม่ต้องการสภาพคล่องในระยะสั้น อาทิเช่น กองทุน KFAFIX-A (ขั้นตํ่า 1 ปี ขึ้นไป) โดยปัจจุบันกรอบ Duration เฉลี่ยของกองทุน KFAFIX-A = 2 – 3 ปี
กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ
KF-SINCOME/ KF-CSINCOM:
- ในรอบห้าปี ระดับอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ High Yield ในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ตํ่าทั้งที่ตลาดยังคงมีความเสี่ยงจาก COVID-19 อยู่ ประกอบกับมีตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ครบอายุปริมาณมาก ทำให้มีความเสี่ยงที่ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงด้านเครดิต อาจมีมูลค่าลดลงได้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงดำเนินนโยบายเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ตราสารหนี้ภาคเอกชนในตลาดรองผ่านการซื้อ Bond ETF มาตรการดังกล่าวอาจช่วยให้ ราคาตราสารหนี้ภาคเอกชนคุณภาพสูง ไม่ลดลงมากนัก
กองทุนตราสารทุนในประเทศ
KFENS50-A:
- กองทุนเน้นการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET 50
กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ
Developed market equity
KFGBRAND-A / KFGBRAND-D:
- ในระยะสั้นหลังการเลือกตั้งและวัคซีนของ Pfizer ตลาดกลับมา Risk on อีกครั้งทำให้กอง Defensive Quality อาจจะ Underperform ตลาดได้ อย่างไรก็ตามสำหรับนักลงทุนระยะกลางขึ้นไป ไม่จำเป็นต้องปรับกองทุนออก เนื่องจากยังให้ผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอ
KF-HUSINDX:
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นของ FED ที่เพิ่มสภาพคล่องให้ตลาด อย่างไรก็ตาม ตลาดสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงจากความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ ในประเด็นเรื่องฮ่องกงและสงครามการค้า โดยจีนยกเลิกการนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ ขณะที่สหรัฐฯ เองก็สั่งห้ามการค้าขายกับ Huawei และอาจห้ามบริษัทจีนมาจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทั้งนี้ ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ จะยังคงอยู่จนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปลายปีนี้
- กองทุนหลักเน้นลงทุนใน iShares Core S&P500 ETF ซึ่งจะมีผลการดำเนินงานที่ใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของดัชนี โดยคาดการณ์การเติบโตยังคงมีอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ เช่น การปฏิรูปภาษี การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
KF-EUROPE/ KF-HEUROPE:
- ตลาดยุโรปยังคงถูกกดดันด้วยการระบาดรอบ 2 โดยจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นสูงต่อเนื่องส่งผลให้หลายพื้นที่ในยุโรปต้องกลับมาใช้มาตรการ lockdown อีกครั้ง ซึ่งจะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป ทั้งนี้ ตลาดคาดว่าทาง ECB อาจจำเป็นต้องมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ โดยอาจเพิ่มวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจต่อ
KF-HJPINDX
- ตลาดญี่ปุ่นทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในญี่ปุ่นทรงตัว โดยทางรัฐบาลของนาย ซูกะ มีการออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ทั้งนี้ ตลาดญี่ปุ่นยังคงเป็นตลาดที่ laggard อยู่ อย่างไรก็ตามอาจต้องระวังประเด็นเรื่องเงินเยนที่แข็งค่าจากความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ
KFHHCARE
- ได้รับปัจจัยบวกจากสภาที่แยกเป็น 2 พรรค เนื่องจาก ไบเดน ออกมาตรการมาควบคุมกลุ่ม Healthcare ได้ยาก พร้อมกับพื้นฐานของกลุ่มยังแข็งแกร่ง ได้รับปัจจัยบวกจากยาใหม่ ๆ ที่จะได้รับอนุมัติค่อนข้างมาก ในช่วงใกล้ ๆ นี้ สร้างการเติบโตให้อุตสาหกรรม
Emerging market equity
KFACHINA-A:
- ตลาดจีนอาจมีความผันผวน โดยคาดว่าความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะยังคงอยู่ไม่ว่าใครจะขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีก็ตาม โดยหากเป็น ไบเดน คาดว่านโยบายกดดันจีนจะมีความชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาพเศรษฐกิจจีนยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการบริโภคและการพัฒนาเทคโนโลยีเองมากขึ้น อย่างไรก็ตามต้องระวังความผันผวนในตลาดหลัง ANT Financials ต้องเลื่อนการ IPO ออกไป
Krungsri Asset Management
โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก 1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT |
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Krungsri The Masterpiece สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENAสำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Krungsri The Masterpiece คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
หมายเหตุ:
- กองทุน KFGBRAND-A, KFGBRAND-D, KF-EUROPE, KFACHINA-A ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- กองทุน KF-SINCOME, KF-CSINCOM, KFAINCOM-A, KFAINCOM-R, KF-HUSINDX, และ KF-HEUROPE ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร 0 2657 5757