มุมมองตลาดปัจจุบัน
ตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาส่วนใหญ่ยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังเฟดประกาศคงดอกเบี้ย และส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยในปี 2567 มากกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลดลง ท่ามกลางตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังคงแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ตลาดคาดว่ามีโอกาสที่เฟดอาจประกาศลดดอกเบี้ยมากกว่าที่คาด หลังตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวลงต่อเนื่อง
สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลดลง สวนทางกับตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลก จากปัจจัยเฉพาะตัวของหุ้นขนาดใหญ่บางตัว อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นไทยค่อยๆ ฟื้นตัวในช่วงปลายเดือน โดยได้แรงหนุนจากความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ตามการปรับลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยกองทุนตราสารหนี้ของไทยและกองทุนตราสารหนี้โลกพลิกกลับมาให้ผลตอบแทนเป็นบวก
ทั้งนี้ ตลาดมองไปถึงแนวโน้มดอกเบี้ยขาลงในปีหน้า ท่ามกลางตัวเลขเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนฯ ที่ไม่ได้ส่งสัญญาณชะลอตัวมากอย่างที่หลายฝ่ายกังวล รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในภาพรวมยังคงแข็งแกร่ง และเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มดีขึ้นในปีหน้าจากแรงหนุนของภาคการท่องเที่ยวและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ดังนั้น ตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้จึงมีแนวโน้มที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดี สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามได้แก่ ท่าทีเกี่ยวกับนโยบายการเงินของเฟด และสถานการณ์การสู้รบในตะวันออกกลาง
พอร์ตการลงทุน
ทางเราเสนอให้ปรับ KFJPINDX-A ออกจากพอร์ตการลงทุน เนื่องจากประเมินว่าค่าเงินเยนมีแนวโน้มกลับมาแข็งค่า จาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ เฟดมีแนวโน้มลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า และธนาคารกลางญี่ปุ่นมีแนวโน้มยุติการใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ ซึ่งจะส่งผลให้เงินเยนแข็งค่า โดยแนะนำให้ปรับไปลงทุนใน KFHTECH-A เนื่องจากประเมินว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจะได้ประโยชน์จากทิศทางดอกเบี้ยขาลง
ในส่วนของตราสารหนี้ แนะนำลดน้ำหนักการลงทุนใน KFAFIX-A เพื่อเพิ่มน้ำหนักการลงทุนให้กับ KF-CSINCOM ซึ่งคาดว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในตลาดที่ดอกเบี้ยมีทิศทางเป็นขาลง
ที่มา: เอกสารปรับพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 28 ธันวาคม 2023
ที่มา: เอกสารปรับพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 28 ธันวาคม 2023
กองทุนแนะนำสำหรับการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์/ภูมิภาค
กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ
- กองทุนกลุ่มตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาวมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยข้อมูลภาคแรงงาน และเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนมีมุมมองว่าอัตราดอกเบี้ย นโยบายของสหรัฐฯ มาถึงจุดสูงสุดแล้วที่ระดับ 25 – 5.50% อีกทั้งเชื่อว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงประมาณ 0.50% – 1.50% ในช่วงกลางปีหน้าเป็นต้นไป สำหรับมุมมองเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นมาถึงจุดสมดุลในระดับที่ 2.50% แล้ว อย่างไรก็ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจาก Digital wallet ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง โดยผู้จัดการกองทุนได้ทยอยเพิ่มการลงทุนในตราสารอายุยาวขึ้นอย่างระมัดระวัง ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชนในระดับสูงยังคงสามารถ ช่วยลดความผันผวนของตลาดลงได้ โดยคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุน ของกองทุนกลุ่มนี้มีความน่าสนใจสำหรับเงินลงทุนระยะยาวที่ไม่ต้องการสภาพคล่อง ในระยะสั้นอย่าง กองทุน KFAFIX (ขั้นต่ำ 1 ปี ขึ้นไป)
กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ
- กองทุนยังคงปรับเพิ่มอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ในพอร์ต โดยเน้นการลงทุน ในตราสารหนี้ระยะกลางของสหรัฐฯ ขณะที่ปรับลดสัดส่วนในตราสารหนี้ High Yield ทั้งนี้ กองทุนยังมีมุมมองเชิงบวกต่อหลักทรัพย์ที่มีสินเชื่อ อสังหาริมทรัพย์ค้ำประกันของภาคเอกชน (non Agency MBS) เนื่องจาก มีมุมมองว่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับการชำระหนี้เป็นอันดับต้นๆ
กองทุนตราสารทุนในประเทศ
- กองทุนที่เน้นการเฟ้นหาหุ้นที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละภาวะตลาด (KFDNM-D หรือ KFDYNAMIC) มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนดีในระยะกลางถึงยาว ตามผลการดำเนินงานของบริษัทฯ
กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ Developed Market Equity
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ภายหลังเผชิญกับแรงเทขายมาเป็นเวลา 2 เดือนติดต่อกัน โดย Fed ส่งสัญญาณว่าอาจไม่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อในปีนี้ เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปีปรับตัวขึ้นไปอย่ในระดับสูงแล้ว อีกทั้งตัวเลขเงินเฟ้อก็เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ส่งผลให้ตลาดกลับมาอยู่ในโหมดเปิดรับความเสี่ยง ซึ่งจะส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มการเติบโตสูง เช่น หุ้นเทคโนโลยี เป็นต้น
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้นมาแรงในช่วงเดือนที่ผ่านมา โดย Fed ส่งสัญญาณว่า อาจไม่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อในปีนี้ และตลาดมองว่า Fed มีโอกาสปรับลด ดอกเบี้ยนโยบายลงได้เร็วกว่าคาด ซึ่งอาจเริ่มปรับลดตั้งแต่ในช่วงครึ่งปีแรก ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปีปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งตัวเลขเงินเฟ้อเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ทำให้ตลาดกลับมาอยู่ในโหมด เปิดรับความเสี่ยง ซึ่งจะส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มการเติบโตสูง เช่น หุ้นเทคโนโลยี เป็นต้น
- ในช่วงที่ผ่านมา กลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจาก การปรับตัวลดลงของ Bond Yield ส่งผลให้อาจมีการพักฐานได้บ้างในระยะสั้น นอกจากนี้กลุ่มเทคโนโลยียังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ของ Fed ที่น่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ประกอบกับคาดว่าผลประกอบการที่มี แนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่อง และสูงกว่าการเติบโตของตลาดโดยรวม อีกทั้ง ยังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจาก Theme AI
กองทุนที่ลงทุนทั่วโลก
- กองทุนเน้นการลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพสูง รวมถึงมีรายได้ และกำไรเติบโต ได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีลักษณะเป็นหุ้นที่มีความทนทานและมีคุณภาพ (Defensive Quality) เนื่องจากเป็นการลงทุนที่ยังคงเหมาะกับช่วงที่ เศรษฐกิจชะลอตัว
กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นต่างประเทศตลาดกำลังพัฒนา
- ตลาดหุ้นอินเดียยังคงปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยในช่วงที่ผ่านมาตลาดอินเดีย ได้รับแรงส่งจากเงินลงทุนของต่างชาติ และเศรษฐกิจของอินเดียที่เริ่มทยอยฟื้นตัว ประกอบกับแรงกดดันทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่น้อยกว่าจีน ทำให้ตลาดอินเดีย ปรับตัวได้ดีขึ้นต่อเนื่อง
- ในภาพรวมตลาดหุ้นจีนยังคงมีความผันผวน โดยนักลงทุนยังคงมีความกังวล ต่อเศรษฐกิจจีนที่ยังชะลอตัว ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดทาง Moody’s มีการปรับลดมุมมองอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตร รัฐบาลจีนลงมาเป็นเชิงลบ จากเดิมที่ระดับมีเสถียรภาพ เนื่องจากความกังวล ด้านปัญหาในตลาดอสังหาริมทรัพย์และการใช้จ่ายของภาครัฐที่ใช้ในการกระตุ้น ที่มากขึ้น ทั้งนี้ ระดับราคาของตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 แล้ว
ที่มา: เอกสารปรับพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 28 ธันวาคม 2023
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร 0 2657 5757 | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299