มุมมองตลาดปัจจุบัน
ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลกในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาปรับตัวลดลง เนื่องจากมีแรงขายทำกำไรหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และเปลี่ยนไปลงทุนในหุ้นกลุ่มที่ยังไม่ปรับตัวขึ้น เช่น หุ้นขนาดเล็ก กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น โดยตลาดมีความผันผวนมากขึ้น หลังบริษัทต่างๆเริ่มทยอยรายงานผลประกอบการในไตรมาส 2/67 ซึ่งมีทั้งดีกว่าที่คาดและแย่กว่าที่คาด นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการที่นายโดนัลด์ ทรัมป์มีโอกาสที่จะกลับมาประธานาธิบดีสหรัฐอีกครั้ง เนื่องจากนโยบายของนายทรัมป์มีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจโลก สำหรับปัจจัยที่หนุนตลาดได้แก่ การที่มีโอกาสมากขึ้นที่เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยในเดือนกันยายน หลังเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวต่อเนื่อง
สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมายังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ตามการปรับตัวลงของตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงแรงกดดันจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ถึงแม้มีความคืบหน้าเกี่ยวกับ digital wallet ก็ตาม
ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนเพิ่มความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยของเฟด โดยการลงทุนในตราสารหนี้โดยรวมยังคงให้ผลตอบแทนเป็นบวกในเดือนที่ผ่านมา
การขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีคาดว่าจะเกิดขึ้นชั่วคราว เนื่องจากในระยะยาวหุ้นกลุ่มเทคโนโลยียังคงมีแนวโน้มเติบโตดี และจะได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ยของเฟด ในขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มดีขึ้นจากแรงหนุนของภาคการท่องเที่ยวและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่อัตราการเติบโตมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ และมีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้น หลังจากมีข่าวการปิดกิจการของบริษัทในไทยอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ตลาดหุ้นต่างประเทศจึงมีแนวโน้มสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดหุ้นไทย ในขณะที่ตลาดตราสารหนี้ยังคงมีแนวโน้มที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีต่อเนื่อง
พอร์ตการลงทุน
ที่มา: เอกสารอัปเดตมุมมอง Krungsri The Masterpiece วันที่: 5 สิงหาคม 2024
ที่มา: เอกสารอัปเดตมุมมอง Krungsri The Masterpiece วันที่: 5 สิงหาคม 2024
กองทุนแนะนำสำหรับการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์/ภูมิภาค
กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ
- กองทุนกลุ่มตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาวยังคงมีแนวโน้มปรับตัวผันผวนต่อเนื่องตามความคาดหวังของตลาดที่ปรับตัวลดลงต่อโอกาสในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ภายหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ลงมติ 6 ต่อ 1 ในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 5 โดยมีคณะกรรมการ 1 ท่านลงมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยอาจไม่เติบโตเท่ากับค่าเฉลี่ยระยะยาวในช่วงที่ผ่านมาตามศักยภาพที่ลดลง อย่างไรก็ตามผู้จัดการกองทุนยังคงคาดว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยรอเพียงจังหวะที่เหมาะสมที่จะเข้าสู่วัฏจักรอัตราดอกเบี้ยขาลงในระยะถัดไป จากคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีโอกาสในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในปีนี้ 1-2 ครั้ง ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนจะทยอยปรับพอร์ตเพื่อหาโอกาสจากความผันผวนของตลาดอย่างสม่ำเสมอ โดยในระยะกลางถึงยาวจะเป็นไปในทิศทางการปรับเพิ่มอายุคงเหลือเฉลี่ยของกองทุน ซึ่งกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชนในระดับสูงจะยังคงสามารถช่วยลดความผันผวนของตลาดลงได้ โดยคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนกลุ่มนี้มีความน่าสนใจสำหรับเงินลงทุนระยะยาวที่ไม่ต้องการสภาพคล่องในระยะสั้น อาทิ กองทุน KFAFIX (ขั้นต่ำ 1 ปีขึ้นไป)
กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ
- กองทุนหลักมีมุมมองว่าอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ที่สูงในปัจจุบันเป็นโอกาสในการที่มูลค่าตราสารจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในอนาคตจากอัตราผลตอบแทนที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ต้องการเห็นถึงสัญญาณการชะลอตัวลงของเงินเฟ้ออย่างชัดเจน อาจทำให้อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับสูง และปรับตัวลดลงช้ากว่าที่ตลาดคาดในช่วงก่อนหน้า
กองทุนตราสารทุนในประเทศ
- เป็นกองทุนที่เน้นการเฟ้นหาหุ้นที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละภาวะตลาด มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนดีในระยะกลางถึงยาว
กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ Developed Market Equity
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวได้ดีขึ้น นำโดยการปรับตัวอย่างเข้มแข็งของหุ้นในกลุ่มเติบโตสูงและหุ้นเทคโนโลยี โดยในปัจจุบันตลาดให้น้ำหนักกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ 2 ครั้ง ซึ่งครั้งแรกอาจสามารถทำได้ในเดือนกันยายน อย่างไรก็ดี หากอัตราเงินเฟ้อออกมาน้อยกว่าคาด และเศรษฐกิจมีทิศทางชะลอตัวลง อาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้เร็วขึ้น ขณะเดียวกันคาดว่าความผันผวนเพิ่มเติมในตลาดจะมาจากนโยบายหาเสียงในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี
- การเติบโตของเทคโนโลยี AI รวมทั้งความต้องการ AI จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตที่สำคัญของผลประกอบการของหุ้นในพอร์ตการลงทุน นอกจากนี้ การเข้าสู่รอบวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงทั่วโลกยังเป็นแรงขับเคลื่อนให้หุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีมีต้นทุนทางการเงินถูกลงในระยะถัดไป อย่างไรก็ตาม ความคาดหวังที่มากเกินไปของนักลงทุนอาจส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นได้ในระยะสั้น หากผลประกอบการของหุ้นในพอร์ตการลงทุนไม่เป็นไปตามที่ตลาดคาดหวัง หรือมีต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
กองทุนที่ลงทุนทั่วโลก
- กองทุนมีการลงทุนในหุ้นทั่วโลกผ่านดัชนี MSCI All Country World ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาการเติบโตที่แข็งแกร่งของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ในระยะถัดไปการเติบโตของเทคโนโลยี AI รวมทั้งความต้องการ AI จะเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญของผลประกอบการของหุ้นในพอร์ตการลงทุน อย่างไรก็ตาม ความคาดหวังที่มากเกินไปของนักลงทุนอาจส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นได้ในระยะสั้น หากผลประกอบการของหุ้นในพอร์ตการลงทุนไม่เป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้
กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นต่างประเทศตลาดกำลังพัฒนา
- ตลาดหุ้นอินเดียปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง หลังจากตลาดคลายความกังวลเรื่องการจัดตั้งพรรครัฐบาลของ Modi โดยคาดว่านโยบายปฏิรูปของ Modi จะยังคงดำเนินต่อไปได้ ทั้งนี้ ความเสี่ยงของตลาดอินเดียจะมาจากการประเมินมูลค่า (valuation) ที่ปรับขึ้นไปค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต
ที่มา: เอกสารอัปเดตมุมมอง Krungsri The Masterpiece วันที่: 5 สิงหาคม 2024
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร 0 2657 5757 | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299