มุมมองตลาดปัจจุบัน
ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลว่าเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่คาด หลังเงินเฟ้อชะลอตัวลงน้อยกว่าที่คาด อย่างไรก็ดี การที่เฟดและธนาคารกลางยุโรปเร่งขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคธนาคารของสหรัฐและยุโรปบางแห่งเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง และนำไปสู่การล่มสลายของ Silicon Valley Bank (SVB) และ Signature Bank ของสหรัฐ และการเข้าซื้อ Credit Suisse ของ UBS Bank
ทั้งนี้ ถึงแม้รัฐบาล ธนาคารกลาง และภาคธนาคารชองสหรัฐและยุโรป ต่างร่วมมือกันในการสกัดวิกฤตความเชื่อมั่นในภาคการเงินเพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลาม อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้ฝากเงินที่มีต่อภาคธนาคารสหรัฐและยุโรปยังคงเปราะบาง ในขณะที่เฟดและธนาคารกลางยุโรปยังคงเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพของเงินเฟ้อ
สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลดลง ทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลก จากความกังวลว่าปัญหาในภาคการเงินของสหรัฐและยุโรปอาจเป็นสัญญาณถึงจุดเริ่มต้นของวิกฤตการเงินรอบใหม่ ถึงแม้ ธปท. และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องต่างระบุว่า ระบบธนาคารของไทยมีความแข็งแกร่งก็ตาม อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมีขึ้นในเดือน พ.ค. เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่งและสามารถรองรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้
ในส่วนของตราสารหนี้ได้รับผลกระทบเชิงบวกจากการที่เฟดมีแนวโน้มยุติวงจรดอกเบี้ยขาขึ้นในเร็วๆนี้ รวมถึงได้แรงหนุนจากความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ
ทั้งนี้ คาดว่าในระยะสั้น ตลาดหุ้นจะยังคงได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของภาคการเงินของสหรัฐและยุโรป และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนฯ อย่างไรก็ดี การปรับตัวลงของตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมาอาจเป็นการปรับลดลงมากเกินไป เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานโดยรวมของเศรษฐกิจโลกยังคงมีความแข็งแกร่งมากพอ ดังนั้น พอร์ตการลงทุนจึงยังคงเน้นลงทุนในกลุ่มหุ้น defensive และลงทุนในหุ้นจีนซึ่งจะได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศและความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน
พอร์ตการลงทุน
ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 29 มีนาคม 2023
ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 29 มีนาคม 2023
กองทุนแนะนำสำหรับการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์/ภูมิภาค
กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ
- กองทุนกลุ่มตราสารหนี้ระยะกลาง – ยาว ยังคงจะเผชิญกับความผันผวนและมีแรงกดดันในระดับสูงต่อไปในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 จากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะทยอยปรับขึ้นอย่างค่อยเป็ยค่อยไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสู่ระกับ 75% – 2.25% ในขณะที่ความไม่แน่นอนด้านจุดสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯยังคงมีอยู่ ดังนั้นเพื่อรองรับความผันผวนดังกล่าว ทำให้กองทุนที่มีการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนยังคงสามารถลดความผันผวนของตลาดลงได้บ้าง โดยคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนยังคงมีความน่าสนใจสำหรับเงินลงทุนระยะยาวที่ไม่ต้องการสภาพคล่องในระยะสั้น อาทิเช่น กองทุน KFAFIX-A ขั้นต่ำ 1 ปีขึ้นไป โดยปัจจุบันกรอบ Duration เฉลี่ยของกองทุน KFAFIX-A = 1.6 – 3.0 ปี
กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ
- กองทุนปรับลดสัดส่วนในเงินสดลงพร้อมทั้งเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิตที่มีสภาพคล่องสูง และยังคงมั่นใจว่าการลงทุนใน non-agency MBS จะส่งผลดีต่อการลงทุนเนื่องจากพื้นฐานที่แข็งแกร่งของภาคอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ
กองทุนตราสารทุนในประเทศ
- กองทุนที่เน้นการเฟ้นหาหุ้นที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละภาวะตลาด มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนดีในระยะกลางถึงยาว ตามผลการดำเนินของบริษัทฯที่กองทุนคัดเลือกลงทุน
กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ Developed Market Equity
- กองทุนมีการลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพสูง มีรายได้และกำไรเติบโตสม่ำเสมอ ทำให้กองทุนมีความผันผวน และการปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาด ซึ่งเป็นการลงทุนที่เหมาะกับภาวะที่ตลาดยังคงมีความผันผวน
- ตลาดยุโรปยังคงมีความผันผวนโดยปรับตัวลงในเดือนที่ผ่านมา หลังตลาดกลับมาคาดการณ์แนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED และ ECB ทั้งนี้ ตลาดมองว่าทาง ECB ยังคงเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเพื่อชะลออัตราเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี ภาพเศรษฐกิจยุโรปที่ออกมาดีกว่าคาดและการเปิดประเทศของจีนมีโอกาสจะเป็นแรงส่งให้กับตลาดยุโรปในช่วงต้นปีนี้
- ตลาดจีนปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมาหลังจากรับข่าวดีเรื่องการเปิดเมืองและการผ่อนคลายนโยบาย Zero-Covid โดยการปรับลดลงครั้งนี้อาจเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว เนื่องจากภาพการบริโภคในจีนยังส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัว ซึ่งทางรัฐบาลจีนกลับมาให้ความสำคัญกับการเติบโตของเศรษฐกิจอีกครั้งในปีนี้ ทั้งนี้สำหรับตลาดจีน ต้องระวังความเสี่ยงเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะกลับมากดดันตลาดต่อเนื่อง
KFHHCARE :
- ในช่วงที่ผ่านมา กลุ่ม Healthcare ได้รับแรงหนุนจากความเป็นอุตสาหกรรมเชิงรับ ทำให้มีความผันผวนน้อยกว่าตลาดโดยรวม โดย Healthcare เป็นอุตสาหกรรมที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง และกำไรสุทธิมีความมั่นคง ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน
KFUSINDX :
- กองทุนลงทุนในกองทุนต่างประเทศ iShares Core S&P 500 ETF โดยเน้นลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี S&P 500 Index เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนของกองทุน
ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 29 มีนาคม 2023
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร 0 2657 5757 | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299