ช่วงนี้ผมกำลังอ่านหนังสือ Random walk down Wall street อยู่ และพบว่าบทแรกๆของหนังสือมีเนื้อหาน่าสนใจมาก

ในหนังสือได้ยกเหตุการณ์ฟองสบู่ในอดีตที่เคยเกิดขึ้น

ผู้อ่านน่าจะพอเดาออกว่าผมกำลังจะเชื่อมโยงกับเหตุการณ์อะไรในปัจจุบัน

ผมอยากจะเล่าคร่าวๆเกี่ยวกับเหตุการณ์ฟองสบู่ในอดีตที่เคยเกิดขึ้น

เริ่มจากฟองสบู่ดอกทิวลิบที่เกิดขึ้นใน Netherland เมื่อช่วงปี 1637

ในสมัยนั้นดอกทิวลิบเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนมาก โดยเฉพาะดอกที่ติดเชื้อทำให้กลีบมีลวดลายสวยงาม

ผู้คนยอมจ่ายราคาให้ดอกทิวลิบที่มีลวดลายสวยงามจนราคาถูกดันให้สูงขึ้น

จนเมื่อผู้คนเริ่มเห็นว่าราคาขึ้นไม่มีท่าทีจะหยุด ผู้คนก็ยอมขายบ้านเพื่อที่จะมาเก็งกำไรในดอกทิวลิบ

ท้ายที่สุด ราคาของดอกทิวลิบนั้นขึ้นไปสูงกว่าค่าแรงของช่างฝีมือมากกว่า 10 เท่า

คาดว่าในช่วงนั้นดอกทิวลิบเปลี่ยนมือกันกว่า 10 คนต่อวัน โดยที่คนซื้อไม่เคยเห็นดอกที่ตัวเองซื้อมาด้วยซ้ำ

เหตุการณ์ต่อมาคือฟองสบู่บริษัททะเลใต้ที่เกิดขึ้นในอังกฤษเมื่อปี 1720

บริษัททะเลใต้ได้รับสัมปทานผูกขาดการค้าในทะเลใต้แลกกับการผ่อนภาระหนี้ของรัฐบาล 10 ล้านปอน

ผู้คนในสมัยนั้นค่อนข้างที่จะฝันหวานเกี่ยวกับธุรกิจการค้าทางทะเล และเชื่อว่าบริษัทจะสร้างความมั่งคั่งมหาศาล

เมื่อรวมกับความสามารถในการสร้างภาพของผู้บริหาร จึงเป็นจุดสำคัญที่ทำให้บริษัทนี้เป็นที่นิยมของผู้คนอย่างมาก

ราคาของหุ้นเริ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือการเงินต่างๆเกิดมาเพื่อบริการคนที่ต้องซื้อหุ้นด้วย

ท้ายที่สุดเมื่อผู้บริหารตระหนักดีว่าราคาหุ้นไม่สมเหตุสมผลก็เริ่มขายออกมาหมด

เมื่อข่าวเริ่มแพร่กระจายออกไป การล่มสลายของฟองสบู่ก็ได้มาถึง

ความเสียหายส่งผลเป็นวงกว้าง และ Sir Isaac Newton ผู้ค้นพบกฏแรงดึงดูดก็ได้รับความเสียหายจากฟองสบู่ครั้งนี้เช่นกัน

ยังมีเหตุการณ์ฟองสบู่หลายๆครั้งที่ประวัติศาสตร์สอนเรา เช่น ดอทคอม หรือ ซับพราม ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น

ถึงแม้ฟองสบู่จะเกิดกับทรัพย์สินที่แตกต่างกันในแต่ละเหตุการณ์

ความคล้ายคลึงกันของมันก็คือผู้คนมองเห็นแต่กำไร หละหลวมในการใช้เหตุผล

เชื่อหรือไม่ว่าทุกครั้งที่มีฟองสบู่กำลังก่อตัวขึ้น ผู้เชี่ยวชาญก็มักจะหาเหตุผลมาสนับสนุนได้ดูสมเหตุสมผลเสมอ

ทุกๆครั้งก็จะมีเครื่องมือทางการเงินเกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองคนที่อยากเก็งกำไร

แต่ท้ายที่สุดก็จะต้องมีคนที่เริ่มคิดได้และเริ่มใช้เหตุผลกับมันขึ้น และเมื่อนั้นก็คือจุดเริ่มต้นของจุดจบ

ถึงแม้ประวัติศาสตร์จะสอนเรามาหลายครั้ง แต่ประวัติศาสตร์ก็ได้สอนอีกเรื่องคือ​ “มนุษย์จำประวัติศาสตร์ไม่ได้”

ปัจจุบันเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่กล่าวมา หลายคนน่าจะเดาออกว่าพูดถึงอะไร

Bitcoin กลายเป็นสินทรัพย์ที่ผู้คนเริ่มรู้จัก

แต่ผู้คนที่รู้จัก Bitcoin ในแง่ของราคาที่สูงขึ้นหรือมีคนได้กำไร ไม่ใช่ในแง่ของการใช้มันทำอะไร

เมื่อใดที่คนเริ่มเขาหา Bitcoin มากขึ้นเพราะความหอมหวานของกำไรง่ายๆ เมื่อนั้นยิ่งต้องระวัง

เมื่อใดที่มีเครื่องมือทางการเงินเกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองนักเก็งกำไรจาก Bitcoin เมื่อนั้นยิ่งต้องระวัง

เมื่อใดที่ Bitcoin ไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนซื้อมาเพื่อนำมาใช้งานจริงๆ และผลัดเปลี่ยนมือกันหลายคนต่อวัน เมื่อนั้นยิ่งต้องระวัง

โดยเฉพาะผมคิดว่าน่าจะมีคนเพียงไม่เกิน 5% เท่านั้น ที่ถือครอง Bitcoin 95% ทั้งหมดบนโลกไว้

แปลว่าเมื่อราคาสูงจนเริ่มมีคนเหล่านี้อยากจะขายเมื่อไหร่ เมื่อนั้นการล้มสลายจะเกิดขึ้น

อาจจะมีใครคนใดคนหนึ่งอยากขาย Bitcoin เพื่อไปซื้อบ้านหรือรถหรู

อย่าลืมว่า Bitcoin ไม่มีปันผล อยากมีเงินสดใช้ก็จะต้องขายออกเท่านั้น

เมื่อมีคนเริ่มขาย ข่าวนี้จะเริ่มแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะยุค Internet

หากถึงเวลานั้นจะไม่มีโอกาสให้เราแก้ตัว มันอาจใช้เวลาน้อยมากเพราะ Bitcoin ไม่มีราคา Floor

ผมอยากจะให้มุมมองหลายๆคนไว้เผื่อเป็นประโยชน์

หากใครอยากทดลองก็สามารถทำได้ตามที่ต้องการ เพราะกำไรขาดทุนเป็นของท่านไม่เกี่ยวกับผม

ส่วนตัวผมก็ต้องขอผ่านครั้งนี้ไป ผมไม่ได้รีบร้อนรวยขนาดนั้น

เรื่องสุดท้ายที่อยากเตือนคือ ประวัติศาสตร์สอนว่าจุดจบของทุกฟองสบู่มักจะมีผลต่อเศรษฐกิจตามมาด้วยทุกครั้ง

InvestDiary