ขึ้นดอกเบี้ย กดดันเงินเฟ้อได้จริงหรือ?

ปัจจุบันเราจะเห็นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องมาตลอดทั้งปี จนถึงตอนนี้เงินเฟ้อก็ยังไม่ร่วงลงเท่าไรเลย เกิดคำถามกันว่า การขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง สามารถแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้จริงหรือไม่

ในทางทฤษฎีการขึ้นดอกเบี้ยคือการดึงเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ ทำให้คนไม่อยากใช้จ่าย เพราะการขึ้นดอกเบี้ยจะขึ้นทั้งดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ เมื่อดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้นก็จะมีแนวโน้มให้คนไม่อยากใช้เงิน อยากจะฝากเงินมากขึ้น ในขณะเดียวกันที่ดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้นก็ทำให้คนไม่อยากลงทุน หรือใช้จ่าย

ในทางปฏิบัติจริงการขึ้นดอกเบี้ยที่รุนแรงอาจส่งผลให้บริษัทบางที่ถึงกับขาดทุนจนถึงขั้นปิดกิจการไปเลยก็มี เพราะจ่ายดอกเบี้ยไม่ไหว นำมาสู่การตกงาน และเมื่อคนเริ่มตกงานการเยอะขึ้น ก็ส่งผลให้คนไม่อยากใช้จ่าย การที่คนไม่อยากใช้จ่ายมันก็ทำให้ราคาสินค้าต้องปรับตัวลดลงเอง เพราะขายแพงมันขายไม่ออก นำมาสู่เงินเฟ้อลดลงในที่สุด

มาส่องประวัติศาสตร์สหรัฐกันว่ามันเป็นไปตามทฤษฎีหรือไม่  

ขึ้นดอกเบี้ย กดดันเงินเฟ้อได้จริงหรือ?

จากรูป เส้นสีแดง คือ PCE Index ซึ่งเราจะใช้เป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อ เส้นสีเขียว คือ อัตราดอกเบี้ย แถบสีเทา คือ ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจถดถอย เกิดการตกงาน

เราจะเห็นช่วงปี 1980 อัตราเงินเฟ้อเป็นขาขึ้น และขึ้นไปสูงสุดที่ 10% ในช่วงเวลานั้นเราจะเห็นว่าเฟดได้พยายามขึ้นดอกเบี้ยเรื่อย ๆ และดอกเบี้ยขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 18% หลังจากนั้นไม่นาน เราจะเห็นแถบสีเทาแสดงถึงคนตกงานกันละ แล้วในขณะเดียวกันตัวเลขเงินเฟ้อก็ร่วงลงเรื่อย ๆ ด้วย เป็นไปตามทฤษฎีข้างบนเป๊ะ ๆ เลย

สิ่งที่ปัจจุบันแตกต่างจากช่วงปี 1980 คือดอกเบี้ยเรายังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับเงินเฟ้อ บางสำนักก็บอกว่าต้องขึ้นดอกเบี้ยอีกเยอะ ถึงจะหยุดเงินเฟ้อได้ ดูอย่างในอดีตสิ ดอกเบี้ยต้องสูงกว่าเงินเฟ้อ มันถึงจะหยุดเงินเฟ้อได้ (เส้นสีเขียวต้องอยู่เหนือเส้นสีแดง)

แต่ในความคิดของผมคิดมันไม่จำเป็นว่าดอกเบี้ยต้องสู้กว่าเงินเฟ้อ แต่มันต้องดูว่าเศรษฐกิจสหรัฐช่วงนั้นรับดอกเบี้ยได้สูงแค่ไหน เมื่อไรเศรษฐกิจรับไม่ไหว เกิดการตกงาน เงินเฟ้อก็ร่วงได้อยู่ดี โดยที่ดอกเบี้ยไม่จำเป็นต้องขึ้นไปสูงกว่าเงินเฟ้อเลย  ซึ่งปัจจุบันปริมาณหนี้ในระบบเศรษฐกิจมันใหญ่กว่าสมัย 1980 มาก การขึ้นดอกเบี้ยแค่ระดับ 5% อาจส่งผลกระทบหนักกว่า การขึ้นดอกเบี้ยในปี 1980 ที่ระดับ 18% ก็เป็นได้

และถึงแม้เราจะยังไม่รู้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะทนรับดอกเบี้ยได้ถึงระดับไหน แต่ที่เรารู้ก็คือเงินเฟ้อระดับสูงแบบนี้ จะร่วงลงได้ มักเกิดจากเศรษฐกิจถดถอย เกิดการตกงาน ดังนั้นหากเป้าหมายเฟดคือการลดเงินเฟ้อ แสดงว่ามีโอกาสสูงมากที่อนาคตอันใกล้นี้จะได้เห็นคนตกงานในสหรัฐพุ่งสูงขึ้น แล้วตอนนั้นทองคำจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในพอร์ตการลงทุนครับ

Intergold

TSF2024