เชื่อว่าพ่อแม่หลายคนคงมีความคิดที่จะส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ และหลายคนคงมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องการออมเงินเพื่อส่งลูกเรียนต่างประเทศ เพราะทุกวันนี้ค่าใช้จ่ายทางการศึกษามีแต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ อนุบาลดีๆ ต้องใช้เงินหลายแสน พอถึงระดับประถม-มัธยมก็อาจจะหมดไปหลักล้าน ถ้าต่อมหา’ลัยต่างประเทศก็ต้องจ่ายอีกหลายล้าน เทียบกับเงินเดือนที่คาดว่าจะได้หลังจบการศึกษาแล้ว ถ้าไม่วางแผนให้ดีโอกาสมีปัญหาในอนาคตสูงมาก
ลองคำนวณดูนะคะว่าถ้าเราจะส่งลูกเรียนหนังสือจนจบ ต้องใช้เวลาและเงินเท่าไร?
ปัจจุบันการศึกษาชั้นอนุบาลใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี
ประถมศึกษา 6ปี
มัธยมศึกษา 6ปี
และช่วงปริญญาตรีอีก 4ปี
แถมหลายๆ ครอบครัวยังส่งลูกเรียนปริญญาโทในต่างประเทศอีกซึ่งใช้เวลาอีก1-2 ปี
รวมๆ แล้วเป็นเวลา 20ปี !!
สมัยนี้มีโรงเรียนให้เลือกหลายแนว การส่งลูกเรียนโรงเรียนรัฐบาลกับเอกชนก็ยิ่งแตกต่างกัน โดยเฉพาะถ้าเรียนอินเตอร์ก็แพงยิ่งขึ้นไปอีก !!
แน่นอนว่างานช้างคือระดับปริญญา โดยเฉพาะถ้าพ่อแม่คิดส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ ดังนั้นสิ่งที่เราจะเจาะลึกกันในบทความนี้ หลักๆ ก็จะเป็นจำนวนเงินและการวางแผนค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในการส่งลูกเรียนต่อต่างประเทศ ในประเทศผู้นำด้านการศึกษาอย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย รายละเอียดทั้งหมดสามารถนำมาวางแผนจัดพอร์ตเพื่อออมเงินในระยะยาว ช่วยให้พ่อแม่วางเป้าหมายแนวทางการศึกษาของลูกๆ ได้ชัดเจน และประมาณการค่าใช้จ่ายได้เพียงพอ
*ค่าประกันสุขภาพนี้เป็นภาคบังคับพร้อมการทำวีซ่านักเรียน แต่สามารถซื้อเพิ่มได้จากบริษัทประกันเพื่อความคุ้มครองที่เพิ่มขึ้นและสามารถเข้าสถานพยาบาลได้มากขึ้น
ตารางข้างบนแสดงค่าใช้จ่ายแบบแยกย่อยแต่ละประเภท ซึ่งจริงๆ อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ตามแต่ละกรณีไปแต่ค่าใช้จ่ายที่หยิบมาคุยกันในวันนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในระดับTop 10 ของอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย อย่างละ 1 มหาวิทยาลัย
เนื่องจากระดับค่าเทอมของแต่ละสาขาวิชาก็มีความแตกต่าง เช่นสาขาวิชาแพทย์ หรือวิศวะ ก็จะมีราคาสูงกว่า พาณิชย์ หรือเศรษฐศาสตร์ และกฎหมาย เราจึงขอหยิบค่าเฉลี่ยโดยประมาณมาใช้ในการเปรียบเทียบในบทความนี้
ลักษณะของมหาวิทยาลัยที่เราหยิบยกขึ้นมาจะมีที่ตั้งอยู่ในเขตเมือง แปลว่าค่าใช้จ่ายในการเช่าหอพัก และค่ากินอยู่จะอยู่ในระดับค่อนข้างสูง เพื่อให้พ่อแม่เห็นภาพค่าใช้จ่ายชัดเจนขึ้น หากเลือกมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตเมืองหลัก ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็จะลดลง
ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ก็อาจจะมีค่าสอบข้อสอบมาตรฐานต่างๆ ค่าสมัครของแต่ละมหาวิทยาลัย ค่าวีซ่า รวมถึงค่าที่ปรึกษา (สำหรับคนที่อยากไปเรียนมหาวิทยาลัยระดับท็อป) และค่าตั๋วเครื่องบิน ซึ่งคิดเป็นเงินตั้งแต่หลักหลายหมื่นไปจนถึงหลักหลายแสน ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีไป
ดูแค่ค่าเทอมไม่พอ อย่าลืมบวกเงินเฟ้อด้วย!
ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการคำนวณครั้งนี้เป็นของปี พ.ศ.2562 หากลูกของเรายังเล็ก แต่เราได้วางแผนจะให้เขาเรียนต่างประเทศในอนาคต ซึ่งถึงตอนนั้นค่าเรียนคงขึ้นไปมากพอสมควร เราจึงคิดเฉลี่ยการขึ้นราคาค่าเรียนด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ปีละ 3%
แล้วแบบนี้ค่าเล่าเรียนจะขึ้นไปเป็นเท่าไหร่? ไปดูกัน
ใช้เงินเยอะขนาดนี้ถ้ามีเงินอยู่แล้วก็ดีไป แต่ถ้าไม่ได้มีเงินอยู่แล้ว การจะส่งลูกไปเรียนระดับนี้ถามว่าเป็นไปได้ไหม?
อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับเงินตั้งต้น และเงินออมระหว่างทางของแต่ละคนนะ ใครสนใจลองไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fundtalk/kids-education-financial-planning/
สรุป การวางแผนการเงินที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นและไม่ควรมองข้าม
เพราะเปรียบเสมือนการวางรากฐานอนาคตที่ดีให้กับลูก และช่วยวางแนวทางการศึกษาให้ชัดเจน ส่งผลให้สามารถประมาณการค่าใช้จ่ายได้อย่างเป็นระบบ โดยพ่อแม่ควรเลือกโรงเรียนที่เหมาะกับความต้องการเป็นหลักและประเมินสถานะทางการเงินตามความจริง ถ้ารู้จักวางแผนอย่างถูกต้องความฝันที่จะส่งลูกให้มีการศึกษาที่ดีคงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนจ้า
ใครที่กำลังวางแผนการเงินและแนวทางการศึกษาให้ลูก ลองมาศึกษา KID’S WEALTH PATH กันค่ะ
KID’S WEALTH PATH คือ นวัตกรรมใหม่ล่าสุดจาก FINNOMENA ที่จะช่วยตอบโจทย์การวางแผนการศึกษาให้ลูก เหมาะกับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนเรื่องค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาและมองหาโรงเรียนให้เจ้าตัวน้อย “เพราะความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก” ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษนี้ก่อนใครได้ที่ https://www.finnomena.com/kidswealthpath/ หรือ คลิกที่แบนเนอร์ข้างล่างได้เลย
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน