liquidity-and-investment-01

แนวคิดดั้งเดิมของคนเล่นหุ้นเลยก็คือว่า สภาพคล่องเยอะๆดีหุ้นตัวเล็กๆซื้อขายน้อยๆอย่าเข้าไปยุ่ง ให้ซื้อแต่ตัวที่สภาพคล่องเยอะๆ ก็พอเวลาจะซื้อขายจะได้ทำได้ง่ายๆ ซึ่งต่อก็มีอีกหลายๆ ความคิดที่ออกมาบอกว่าเล่นหุ้นนั้นไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องสภาพคล่องเท่าไหร่นัก ยกตัวอย่างเช่น…

1.) Value Investor บอกว่าสภาพคล่องไม่ใช่ปัญหา 

“สภาพคล่องที่น้อยแต่ value ของหุ้นสูงกว่ามูลค่าในกระดานย่อมน่าซื้อ” เป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผลที่เราจะเอา value ของหุ้นไปแลกกับสภาพคล่อง เช่น หุ้นที่มี value น้อย แต่สภาพคล่องเยอะ ย่อมไม่ได้ดีไปกว่าหุ้นที่มี value สูง แต่สภาพคล่องน้อยกว่า สรุปก็คือ สภาพคล่องไม่ควรถูกมองว่าเป็น value อย่างนึงของหุ้น เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่มีคนเห็นคุณค่าของมันสภาพคล่องก็จะมาเอง

2.) กลุ่มคนที่ชอบเล่นหุ้นตัวเล็กๆ เช่นกลุ่ม mai

แล้วก็อัดมาร์จิ้นเยอะๆโดยใช้แนวคิดว่า “ไม่เป็นไรเดี่ยวมีคนเห็น value หุ้นก็ขึ้นเอง” ซึ่งในภาวะปกติก็ไม่เป็นไร แต่หากเกิดวิกฤติ เช่น Subprime พอร์ตการลงทุนก็อาจติดลบหนักกว่าตลาด ที่ติดลบหนักไม่ใช่เพราะว่าเขาไม่รู้ว่าหุ้นไม่ได้เป็นอย่างที่เขาคิด แต่เป็นเพราะว่า ถึงรู้ก็ออกไม่ได้”

จึงนำมาซึ่งข้อสรุปบางอย่างอีกว่า “ถ้าคุณจะเล่นหุ้นสภาพคล่องน้อยๆแล้วคิดว่าสุดท้ายต้องมีสภาพคล่อง” นั่นเป็นการมองว่า “คุณจะต้องคิดถูกแน่นอนและสุดท้ายหุ้นตัวนั้นต้องขึ้น และสภาพคล่องต้องมา” ซึ่งบนโลกของความเป็นจริง ไม่มีใครที่คิดถูกตลอดเวลา จริงๆแล้ว การที่หุ้นมีสภาพคล่องเยอะๆเป็นการเผื่อเหลือเผื่อขาดในกรณีที่คุณคิดผิด” คุณจะได้ไม่ต้อง Discount ราคาหุ้นลงไปจากราคาปัจจุบันเยอะมาก

และสำหรับนักลงทุนที่ยิ่งเล่นหุ้นมานาน ถ้าเล่นแล้วกำไรต่อเนื่อง พอร์ตการลงทุนก็จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จากที่เล่นแล้วไม่เคยมีปัญหาด้านสภาพคล่องเพราะพอร์ตเล็ก แต่พอพอร์ตใหญ่ขึ้น ก็จะเริ่มมีปัญหาด้านสภาพคล่องขึ้นมา ซึ่งนักลงทุนเหล่านี้ควรจะหาวิธีปรับตัวกับขนาดพอร์ตที่ใหญ่ขึ้น ไม่ใช่จะเล็กจะใหญ่กูก็อัดจิ้นกับหุ้นตัวเล็กๆตลอดเวลา แบบนี้ผมคิดว่าไม่ใช่วิธีการที่คำนึงถึงผลตอบแทนเปรียบเทียบความเสี่ยง แต่เป็นการคำนึงแต่ด้านของผลตอบแทน

ปัจจัยในการพิจรณาเรื่องสภาพคล่องเบื้องต้นของผมเป็นดังนี้

  • ความมั่นใจในการเล่นหุ้นตัวนั้น โดยพิจรณาจาก การมีตัวเร่งทางพื้นฐานของหุ้น เช่น หุ้นที่กำไรทำ new high ได้ปันผลค่อนข้างสูง ย่อมมีระยะเวลาในการหวังผลจากการลงทุนที่ชัดเจนกว่า จะไม่ซื้อหุ้นถูกโดยดูจากแค่ pe pbv โดยไม่สนใจสภาพคล่อง แล้วหวังว่าซักวันจะมีคนมาลากขึ้นไป แบบนี้ผมว่ายังไงก็ต้องคิดเรื่องสภาพคล่องบ้างไม่งั้นถ้าไม่มีคนมาลากแล้วเราซื้อเยอะมากๆแล้วเกิดอยากออกคงไม่พ่นต้องเฉือนเนื้อตัวเอง
  • มีการกระจายการลงทุนมากน้อยแค่ไหน เช่น ถ้าคนๆนึงเล่นหุ้น 10 ตัวในพอร์ตกับอีกคนนึงเล่น 3 ตัวในพอร์ต คนที่เล่น 10 ตัวอาจจะเล่นหุ้นสภาพคล่องน้อยกว่าได้ เพราะว่าเม็ดเงินลงทุนต่อหุ้นจะไม่สูงเท่ากับคนที่โฟกัสไม่กี่ตัว
  • มีการใช้มาร์จิ้นไหม คนเล่นมาร์จิ้นจะต้องคำนึงถึงสภาพคล่องสุดๆ เนื่องจากการใช้มาร์จิ้นเยอะๆจะมีการถูก Force sell ได้และถ้าสภาพคล่องหุ้นไม่เยอะเกิดมีคนโยนจนหุ้นติดลบมากๆแล้วเราอยากจะขายแต่ bid ไม่เพียงพอ นั้นคงเป็นหายนะของการลงทุนเลยทีเดียว

เห็นแบบนี้แล้วอย่าลืมให้ความสำคัญของสภาพคล่องกันนะครับ 🙂