“RMF หรือที่รู้จักกันดีในนามของกองทุนประหยัดภาษี ที่มีสินทรัพย์ให้เลือกลงทุนหลากหลาย ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ ฯลฯ”
มาทบทวนเงื่อนไข RMF ปี 2022 กันหน่อยดีกว่า
- RMF ลงทุนในกองทุนรวมได้ทุกประเภท
- ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปีที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ*
- เมื่อซื้อแล้ว ต้องซื้อต่อเนื่องอย่างน้อยปีเว้นปี แต่ไม่มีขั้นต่ำ!
- ถืออย่างน้อย 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อกองทุนครั้งแรก และทำการขายได้เมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์
- ตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป ผู้ซื้อต้องแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกับบลจ.
*กองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ได้แก่
กองทุน SSF, กองทุน RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ
คุ้มฟินฟิน ประหยัดภาษีกับ FINNOMENA
คุ้มที่ 1 เปิดบัญชี รับฟรี! 100 FINT
คุ้มที่ 2 เปิดบัญชีกองทุนลดหย่อนภาษี รับฟรี! KCASH 100 บาท
👉 รับสิทธิ์โปรโมชั่น คลิก >>> https://finno.me/tax-super-khum-promotion
Asset Allocation คืออะไร?
Asset Allocation คือ การกระจายการลงทุนหลากหลายสินทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อประคองความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนในระยะยาว ตัวอย่างสินทรัพย์ที่หมายถึง คือ ตราสารทุน ตราสารหนี้ การลงทุนทางเลือก และเงินสด
จัดพอร์ตการลงทุนแบบ Global Asset Allocation สำคัญอย่างไร?
ข้อมูลจาก Novelinvestor ได้แสดงผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์ในแต่ละปี ตั้งแต่ปี 2007 จนถึงครึ่งปีแรกของปี 2022 นี้ ซึ่งใน Novelinvestor บอกว่าข้อมูลอัปเดตล่าสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2022 จะเห็นว่าไม่มีสินทรัพย์ใด ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดในทุก ๆ ปี และไม่มีสินทรัพย์ใด ให้ผลตอบแทนแย่ที่สุดในทุก ๆ ปีเช่นกัน มีขึ้นมีลงตามสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น ๆ
แต่จะเห็นว่ามีอยู่ 1 สินทรัพย์ที่ได้ผลตอบแทนอยู่กลาง ๆ ตลอด ไม่โดดเด่นที่สุด แต่ก็ไม่ได้แย่ที่สุด นั่นคือ AA ค่ะ AA ในความหมายของ Novelinvestor ย่อมาจาก Asset Allocation Portfolio เป็นการจัดพอร์ตการลงทุน โดยมีการกระจายการลงทุนทั่วโลก ทั้งใน ตราสารทุน, ตราสารหนี้ และ การลงทุนทางเลือก โดยแบ่งสัดส่วนเป็น ดังนี้
1. ตราสารทุน 50% แบ่งสัดส่วนเป็น
- 15% Large Caps Stocks วัดจาก S&P 500 Index
- 15% International Developed Stocks วัดจาก MSCI EAFE Index เป็นดัชนีที่วัดผลการดำเนินงานจากโซน Europe, Australasia และ Far East
- 10% Small Cap Stocks วัดจาก Russell 2000 Index เป็นดัชนีที่ใช้วัดผลการดำเนินงานของบริษัทขนาดเล็กสุด 2,000 บริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
- 10% Emerging Market Stocks วัดจาก MSCI Emerging Markets Index
2. ตราสารหนี้ 40%
- ลงทุนในตราสารหนี้ High-Grade Bonds หรือในภาษาง่าย ๆ คือเลือกลงทุนกับเจ้าหนี้ที่มีความมั่นคงค่อนข้างสูง มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ต่ำ ดัชนีที่ใช้วัดคือ Bloomberg Barclays U.S. Aggregate Bond Index
3. การลงทุนทางเลือก (อสังหาริมทรัพย์) 10%
- ดัชนีที่ใช้วัดคือ REITs FTSE NAREIT All Equity Index
และมีการทำ Rebalancing ทุกปี Rebalancing คือการปรับสมดุลของพอร์ตการลงทุนให้เป็นไปตามสัดส่วนที่เรากำหนดไว้ในตอนแรก โดยขายสัดส่วนของสินทรัพย์ที่เกินกำหนดออกมา (ส่วนของกำไร) และนำเงินไปซื้อสินทรัพย์ที่มีสัดส่วนต่ำกว่ากำหนด ให้กลับมาเท่าเดิม
เมื่อได้ทำ Asset Allocation แล้ว จะเห็นว่าในปี 2008 AA จะติดลบไป 22.4% เมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้นเพียงกลุ่มเดียว อย่าง EM หรือ Emerging Market ติดลบ 53.2% และ DM หรือ Developed Market ติดลบ 43.1% จะเห็นว่าการทำ Global Asset Allocation จะขาดทุนน้อยลงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว
นี่ก็คือข้อดีของการลงทุนแบบ Asset Allocation และเนื่องจาก RMF มีข้อได้เปรียบตรงที่มีสินทรัพย์ให้เลือกลงทุนหลากหลาย ผู้อ่านทุกท่านสามารถใช้ข้อได้เปรียบตรงนี้เพื่อเป็นประโยชน์กับพอร์ตลงทุนของท่านเองได้
ก่อนจะจากกันไปขอย้ำอีกสักนิดว่า การทำ Asset Allocation ไม่ใช่เป็นการจัดพอร์ตเพื่อไม่ให้เกิดผลขาดทุนเลย แต่เป็นการทำเพื่อกระจายความเสี่ยง ทำให้ลดโอกาสการขาดทุนได้ในยามที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ผู้อ่านที่สนใจลงทุน RMF แบบ Asset Allocation ทาง FINNOMENA ได้เปิดบริการลงทุนในกองทุนประหยัดภาษีเรียบร้อยแล้ว
สำหรับลูกค้าใหม่ อ่านวิธีเปิดบัญชีซื้อกองทุน Tax Saving เพิ่มเติม คลิก
สำหรับลูกค้าเก่า เปิดแอปพลิเคชัน แล้วเลือกสร้างแผน “Tax Saving” ได้เลย
คุ้มฟินฟิน ประหยัดภาษีกับ FINNOMENA
คุ้มที่ 1 เปิดบัญชี รับฟรี! 100 FINT
คุ้มที่ 2 เปิดบัญชีกองทุนลดหย่อนภาษี รับฟรี! KCASH 100 บาท
👉 รับสิทธิ์โปรโมชั่น คลิก >>> https://finno.me/tax-super-khum-promotion
เริ่มวันนี้… คุณก็สามารถสร้างความมั่งคั่งให้ด้วยเองได้ตั้งแต่วันนี้ แล้วเราจะ Get Wealth Soon ไปด้วยกันนะคะ สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกำหนดเวลา มิฉะนั้นจะต้องชำระเงินเพิ่ม และ/หรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”