เงินเกษียณไม่พอแน่ ถ้ายังทำแบบนี้!

ทำไมในยุคปัจจุบันถึงนิยมให้วางแผนเกษียณ

หากเราลองสังเกตเรื่องยุคสมัยของคนที่วางแผนการเงิน จะเห็นว่ารุ่นอากง อาม่า ปู่ ย่า ตา ยาย จะไม่ได้วางแผนการเงินกันมากนัก เป็นเพราะสมัยก่อนนิยมมีลูก มีหลานกันมาก ทำให้ในยามชราก็มีลูกหลานช่วยเลี้ยงดูกันได้

จากรุ่นอากง อาม่า ปู่ ย่า ตา ยาย เข้าสู่รุ่นคุณพ่อคุณแม่ เป็นยุคที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงมากถึง 12% ต่อปี (ปี 2534) เป็นเรื่องที่ไม่แปลกใจ ว่าทำไมเรื่องการวางแผนการเงินในยุคคุณพ่อคุณแม่ ก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากขนาดนั้นอยู่ดี เพราะเพียงแค่ฝากเงินในธนาคาร ก็ได้ดอกเบี้ยตั้ง 12% ต่อปีแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปลงทุนอะไรที่มีความเสี่ยง

มาถึงยุคปัจจุบันที่เรื่องวางแผนการเงิน โดยเฉพาะเรื่องวางแผนเกษียณ เป็นที่พูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว และอัตราการมีลูกก็ลดลงไปมาก ในยุคสมัยนี้จึงนิยมให้วางแผนเกษียณเป็นของตัวเอง เพื่อที่จะได้ไม่รบกวนลูกหลาน

แต่เงินเกษียณจะไม่พอแน่ ถ้ายังทำแบบ 4 ข้อนี้!

วางแผนเกษียณ

1) มองเรื่องเกษียณเป็นเรื่องไกลตัว

สำหรับ First Jobber ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานมาไม่กี่ปี พอได้ยินเรื่องวางแผนเกษียณอาจจะอยากเบือนหน้าหนี เพราะตอนนี้เพิ่งอายุอยู่ในช่วง 20 กลางๆ เอง กว่าจะเกษียณ ยังมีเวลาอีกตั้งเกือบ 40 ปี ตอนนี้ขอวางแผนกับเรื่องใกล้ตัวก่อนแล้วกัน

ถ้าใครมีความคิดแบบนี้แล้วล่ะก็… เวลาผ่านไป อาจจะแต่งงาน มีลูกไปแล้ว พอมีลูก จะขอทุ่มเงินให้ลูกก่อน กว่าจะรู้ตัวอีกที อายุเข้าเลข 4 เลข 5 แล้ว ทำให้เหลือเวลาในการออมและลงทุนเพื่อใช้จ่ายในวัยเกษียณเพียง 10-20 ปีเท่านั้น ดังนั้นถ้าอยากเกษียณแบบได้ใช้ Lifestyle แบบเดิม จะต้องลงทุนในจำนวนเงินที่มากขึ้น และเสี่ยงมากขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทน ซึ่งอาจจะกระทบการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้

2) คำนวณเงินเกษียณต่ำกว่าความเป็นจริง

บางคนอาจจะคิดว่าตอนที่เกษียณแล้ว คงใช้จ่ายอะไรไม่มากหรอก แต่วัยเกษียณ เป็นวัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกมากกว่า 10 ปีข้างหน้า แน่นอนว่าเราไม่สามารถประเมินค่าใช้จ่ายที่เราจะใช้ในอีกเป็น 10 ปีข้างหน้าได้ แต่เราสามารถประเมินเบื้องต้นได้จาก Lifestyle ของเรา

ลองคำนวณดูว่าเราอยากใช้จ่ายแบบสบายๆ ในเรื่องของอาหาร, Shopping, ท่องเที่ยว, ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ รวมแล้วเดือนละเท่าไหร่ แล้วคำนวณรายจ่ายวัยเกษียณประมาณ 60-70% ของค่าใช้จ่ายนั้นได้ อยากบอกว่า “เหลือไว้ดีกว่าขาดนะ”

3) ออมเงินเพื่อเป้าหมายเกษียณไม่เพียงพอ

จากข้อข้างบน ถ้าเราคำนวณค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณน้อยกว่าความเป็นจริง จะทำให้เงินที่เราเก็บเพื่อวัยเกษียณนั้นลดน้อยลงมา ผลที่ตามมา คือ ในวันที่เราเกษียณแล้วจริงๆ เราต้องปรับ Lifestyle ของเราให้เข้ากับเงินที่เรามี ถ้าเก็บมาได้น้อย จากที่อยากไปเที่ยวต่างประเทศปีละหลายทริป อาจจะไปได้ไม่กี่ทริป หรือ เก็บเงินเพื่อใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลต่ำเกินไป จากที่อยากรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน อาจจะต้องไปโรงพยาบาลรัฐบาลแทน

4) มองเรื่องการลงทุนเป็นเรื่องน่ากลัว

แน่นอนว่าการลงทุนมีความเสี่ยง แต่การไม่ลงทุนเสี่ยงยิ่งกว่า เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสมัยนี้ ไม่สูงเหมือนสมัยก่อนแล้ว จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2534 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 12% ต่อปี แต่ปัจจุบันอยู่เพียง 0.5% ต่อปีเท่านั้น ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่น้อยกว่าเงินเฟ้อ การที่จะหวังพึ่งการเติบโตของเงิน จากอัตราดอกเบี้ยในยุคสมัยนี้ ไม่เพียงพอต่อเงินเกษียณแน่นอน

แล้วเราจะ Get Wealth Soon ไปด้วยกันนะคะ…

TSF2024