เชื่อว่าหลายๆ คนอยากมีบ้านเป็นของตัวเองทั้งนั้น แต่บางคนอาจจะมีเงินไม่พอ หรือ ไม่อยากใช้เวลานานๆ เพื่อเก็บเงินก้อน การกู้เงินถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดูเผินๆ แล้วเหมือนง่าย แต่จะมีอะไรที่เราควรรู้ล่วงหน้าบ้าง? ลองมาสำรวจคร่าวๆ เพื่อเตรียมความพร้อมกันเลย
รายได้
อย่างแรกที่ธนาคารดูเลยก็คือเงินเดือน ส่วนรายได้อื่นที่ไม่แน่ไม่นอน มาเป็นครั้งๆ คราวๆ จะถูกนำไปคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยย้อนหลังประมาณ 3-6 เดือน โดยคำนวณเป็นรายได้ประมาณ 40-50% ของทั้งหมด ตรงจุดนี้แต่ละธนาคารก็จะคำนวณไม่เหมือนกันค่ะ
หนี้สิน
เราควรสำรวจตัวเองให้ดีว่าเครดิตเราเป็นอย่างไร ตอนนี้เรามีหนี้ที่ค้างคาอยู่เท่าไร เรามีความสามารถจ่ายหนี้ได้ทันกำหนดเวลาไหม แล้วสามารถจ่ายได้เต็มจำนวนหรือเปล่า?
บางคนอาจจะบอกว่า ทำอย่างไรดี เผลอจ่ายช้ากว่ากำหนด จะยื่นเรื่องกู้ผ่านไหม? ข่าวดีคือเราสามารถเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อให้การยื่นเรื่องกู้ครั้งหน้านั้นผ่านได้ โดยการชำระหนี้ให้ทันเวลาอย่างน้อย 6-12 เดือน ก่อนที่จะยื่นเรื่องกู้ครั้งถัดไปค่ะ
ราคาบ้าน
เราสามารถสอบถามราคาซื้อขายและราคาประเมินจากธนาคารได้ จะช่วยให้เรารู้ว่าควรเก็บเงินดาวน์เท่าไร โดยทั่วไปแล้วธนาคารจะปล่อยกู้ประมาณ 80-90% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน ขึ้นอยู่กับว่าอันไหนต่ำกว่านะคะ
ดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) – อัตราดอกเบี้ยจะเท่าเดิมไปตลอด จะดีถ้าหากเทรนด์ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น เพราะเราจะได้ล็อกอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าไว้
2. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) – เคลื่อนไหวตามดอกเบี้ยอ้างอิง จะดีถ้าหากเทรนด์ดอกเบี้ยเป็นขาลง เพราะเราจะได้จ่ายดอกเบี้ยถูกลงตาม
ยังไม่จบเท่านี้ เพราะ Floating Rate แบ่งออกได้อีกเป็น 2 ประเภท ตามนี้เลย
2.1 Minimum Loan Rate (MLR): อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
2.2 Minimum Retail Rate (MRR): อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี
ลองเปรียบเทียบดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารดู จุดสำคัญคือช่วง 3-5 ปีแรก เพราะธนาคารจะให้อัตราดอกเบี้ยถูกสุดในช่วงนี้ค่ะ
และถ้าหากกำลังมองหาวิธีเก็บเงินซื้อบ้านหรือสร้างบ้าน สามารถให้การลงทุนเป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ด้วยแผน GOAL ที่จะช่วยให้คุณเก็บเงินทุกเดือนเพื่อบรรลุเป้าหมายเงินก้อน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ https://www.finnomena.com/goal/
Get Wealth Soon
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน