จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เริ่มตั้งแต่ช่วงต้นปี และระบาดหนักขึ้นเรื่อยๆ จนเริ่มมีการมาตรการถึงสถานที่ต่างๆ เช่น สถานบันเทิง สถานที่ออกกำลังกาย รวมถึงห้างสรรพสินค้า ซึ่งแน่นอนว่ามาตรการนี้ จะต้องกระทบกับหน้าที่การงานคนกลุ่มใหญ่อย่างแน่นอน
“แบบนี้บทความนี้ยังจะมาให้วางแผนการเงินอีกเหรอ?”
คงเป็นคำถามในใจของใครหลายๆ คนใช่ไหมคะ?
ก็จะขอตอบว่า “ใช่ค่ะ”
เพราะยังมีคนบางกลุ่มที่ยังสามารถจัดการตัวเองเพื่อวางแผนการเงินได้ และในบทความนี้เราจะพูดถึงคนกลุ่มนี้กัน
ในวันนี้.. ใครที่รายได้ยังปกติ มีงานประจำได้ทำอยู่ ยังคงได้รับรายได้เต็ม 100% ไม่ว่าจะทำงานอะไรอยู่ ขอให้เกาะงานเอาไว้แน่นๆ นะคะ และถ้ายังไม่เคยลองการจัดสรรรายรับ-รายจ่าย
“คุณคือคนที่ควรเริ่มต้นทำมากที่สุดค่ะ”
เพราะในอนาคตถ้ามาถึงคิวของเรา เราจะยังมีเงินที่พอหล่อเลี้ยงชีวิตไปได้สักระยะ
เริ่มต้นง่ายมากๆ ค่ะ อยากให้ลองเขียนรายจ่ายผันแปรที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนขึ้นมา เพราะเป็นรายจ่ายที่เราควบคุมได้ ส่วนรายจ่ายคงที่ ใครที่มีผ่อนรถ จ่ายค่าเช่าห้องอยู่ ก็ยังต้องจ่ายกันไป
รายจ่ายผันแปรหลักๆ มีอยู่ประมาณ 5 อย่างค่ะ เขียนในแบบสถานการณ์ปกติออกมาก่อน
  1. ค่าอาหาร
  2. ค่าเดินทาง
  3. ค่าใชจ่ายส่วนตัว
  4. ค่าโทรศัพท์รายเดือน
  5. ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาตัวเอง
พอได้รายจ่ายที่เวลาอยู่ในช่วงสถาานการณ์ปกติมาแล้ว ก็มาดูต่อว่า ตรงไหนที่เราพอจะลดได้บ้าง เพื่อเอาส่วนนี้ไปเก็บเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน
ช่วงนี้หลายๆ บริษัทมีให้ทำงานที่บ้านได้ (รวมถึงเราด้วยเหมือนกัน) ใครที่ค่าเดินทางเยอะ ประหยัดไปได้เยอะเลยค่ะ แต่มาเสียค่าไฟแทน 😂 ไม่เป็นไรเนอะ สถานการณ์แบบนี้ ต้องประคองกันไป
ส่วนที่ประหยัดไปได้ เราอยากให้เริ่มเก็บเป็นเงินสำรองฉุกเฉินไว้ค่ะ เพราะอนาคตอะไรก็ไม่แน่นอน วันนี้ได้ทำงานอยู่ดีๆ อนาคตเราอาจจะเป็นผู้ถูกเลือกให้ออกจากงานก็ได้

แล้วเงินสำรองฉุกเฉินควรมีเท่าไหร่?

ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของอาชีพค่ะ
  • ถ้าเป็นอาชีพปกติ อย่างมนุษย์เงินเดือน แนะนำที่ 3 เดือนของรายจ่ายต่อเดือน
  • เสี่ยงขึ้นมาหน่อย อย่าง Freelance แนะนำที่ 6 เดือนของรายจ่ายต่อเดือน
  • เสี่ยงสุดๆ รายได้ไม่สม่ำเสมอเลย 12 เดือนของรายจ่ายต่อเดือน อุ่นใจที่สุดค่ะแบบนี้
รายจ่ายต่อเดือนนี่รวมทั้งรายจ่ายผันแปรและรายจ่ายคงที่นะคะ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า แม้จะได้รับผลกระทบเรื่องรายได้ แต่ยังสามารถจ่ายค่าผ่อนรถ ค่าเช้าห้องได้อยู่สัก 3 เดือนขึ้นไป

เงินสำรองฉุกเฉินควรเก็บที่ไหน?

ควรเก็บไว้ในสินทรัพย์สภาพคล่องสูงค่ะ จะใช้ก็สามารถนำออกมาได้เลย เช่น เงินฝากออมทรัพย์ แต่สำหรับใครที่กลัวว่าเอาเงินไว้ในนั้นเยอะๆ แล้วจะหมดไปกับค่า shopping แทน แบ่งบางส่วนเข้ากองทุนรวมตลาดเงินก็ได้ค่ะ เสี่ยงขึ้นมานิดนึง แต่ยังถือว่าเป็นสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์
สำหรับใครที่สนใจเก็บเงินสำรองฉุกเฉินไว้ในกองทุนรวมตลาดเงิน ดูรายละเอียด FINNOMENA PORT MONEY PLUS เพิ่มเติมได้ที่ : https://www.finnomena.com/money-plus/
ลองดูนะคะ แล้วเราจะ Get Wealth Soon ไปด้วยกันค่ะ