ทางเลือกลงทุนในยุคดอกเบี้ยเงินฝากต่ำเป็นประวัติการณ์

เรามาถึงวันที่อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำเป็นประวัติการณ์ โดยอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธนาคารขนาดใหญ่อยู่ที่ประมาณ 0.5% หรือต่ำกว่า ขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีต่ำกว่า 2% ส่วนกองทุนตราสารหนี้ระยะยาวที่ผ่านมาก็มีความผันผวนพอสมควร

มาดูที่กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น และกองทุนตลาดเงินยังมีนักลงทุนหลายคนที่ยังกล้า ๆ กลัว ๆ จากปัญหาการปิดกองทุนขนาดใหญ่ และการผิดนัดชำระหนี้ของหุ้นกู้การบินไทยที่ผ่านมา ส่งผลให้ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้มีเม็ดเงินไหลเข้าสู่เงินฝากของธนาคารเป็นมูลค่าถึงเกือบ 1 ล้านล้านบาท ส่วนหนึ่งก็มาจากกองทุนรวม อีกส่วนหนึ่งก็มาจากภาคธุรกิจและประชาชนที่กลัววิกฤตโควิด ทำให้ชะลอการบริโภคและการลงทุนออกไป วันนี้ผมจึงจะขอมาแนะนำทางเลือกลงทุนในยุคดอกเบี้ยเงินฝากต่ำเป็นประวัติการณ์กันครับ

ลงกองทุนที่เน้นหุ้นกู้สหรัฐฯ ตามเฟด

ในช่วงวิกฤต COVID-19 ที่ผ่านมา FED ได้ทำการอัดฉีดเงินครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ และมีนโยบายเข้าไปซื้อหุ้นกู้ภาคเอกชนทั้งระดับ Investment Grade และ High Yield ส่งผลให้ราคาตราสารหนี้เหล่านี้ค่อย ๆ ทยอยปรับตัวสูงขึ้นภายหลังจากที่ปรับตัวลงอย่างรุนแรงในช่วงวิกฤตโควิดที่ผ่านมา โดยล่าสุดการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนเหล่านี้ยังได้รับผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อยู่เกือบ 2% จึงยังมีโอกาสที่ตราสารหนี้เอกชนเหล่านี้จะปรับตัวสูงขึ้นหลัก ๆ จากการสนับสนุนของ FED นั่นเอง ซึ่งกองทุนแนะนำที่ผมแนะนำที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน ได้แก่ PHATRA G-UBOND-H ซึ่งเป็นกองทุนที่มีการปิดความเสี่ยงค่าเงินด้วย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://finno.me/PHATRA-G-UBOND-H-1144

ทางเลือกลงทุนในยุคดอกเบี้ยเงินฝากต่ำเป็นประวัติการณ์

ลงกองอสังหาฯ รับประเทศไทยเปิดเมือง

ในช่วงปิดเมืองที่ผ่านมา กองทุนอสังหาฯ และ REITs ของบ้านเราปรับตัวลดลงอย่างแรงจากการที่ห้างปิด โรงแรมปิด ออฟฟิศก็เปลี่ยนเป็น Work from Home ราคาของกองทุนตัวอย่างเช่น CPNREIT IMPACT TLGF FTREIT ที่ปรับลดลงทำให้อัตราเงินปันผลของกองทุนเหล่านี้เพิ่มขึ้นในเวลาเดียวกัน โดยข้อมูลจาก Bloomberg ล่าสุด ณ ต้นเดือนมิถุนายน 2563 อัตราเงินปันผลของกองทุนเหล่านี้ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5 – 6%

ซึ่งหากเปรียบเทียบอัตราเงินปันผลที่ 5 – 6% ของกองอสังหาฯ กับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปีแล้วยังมีส่วนต่าง (Spread) สูงถึงกว่า 4% ทำให้กองทุนอสังหาฯ เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในยุค New Normal ที่หวังว่าวิกฤต COVID-19 กำลังจะผ่านพ้นไป และห้าง โรงแรม ออฟฟิศจะเริ่มค่อย ๆ ทยอยกลับคืนสู่สภาพเดิม ซึ่งถึงแม้ในระยะสั้นโดยเฉพาะไตรมาส 2 ของปีนี้ค่าเช่าจะหายไปบ้าง แต่ในระยะยาวสิ่งต่าง ๆ จะค่อย ๆ คืนสู่สภาพเดิม แต่ที่ไม่เหมือนเดิมคือระดับอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยที่ลดลงมาต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% น่าจะยังคงต่ำอยู่อย่างนี้อีกนาน และการเอาเงินทิ้งไว้ในเงินฝากนาน ๆ ไม่น่าจะเป็นไอเดียที่ดีแน่ครับ

สำหรับกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในกองอสังหาฯ ผมแนะนำกองทุน LHTPROP ของค่ายบลจ. แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ซึ่งที่ผ่านมามีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมเมื่อเปรียบเทียบกับกองทุนในกลุ่มเดียวกัน สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://finno.me/LHTPROP1144

ทั้งหมดก็เป็นสองไอเดียการลงทุนในยุค New Normal ที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำติดดินน่าจะอยู่กับคนไทยไปอีกนานหลายปี อย่างไรก็ตามการลงทุนทั้งในกองตราสารหนี้โลก และกองอสังหาฯ นั้นมีระดับความเสี่ยงและความผันผวนสูงกว่าเงินฝากด้วย ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดี และลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้นะครับ

FundTalk รายงาน

เปิดบัญชี FINNOMENA ซื้อกองทุน PHATRA G-UBOND-H และ LHTPROP
เปิดไว เปิดง่าย ใน 1 วัน พิเศษ!
เปิดวันนี้รับรางวัลขวัญถุง 100 บาท อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://finno.me/oa1190


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | การทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวอาจมีต้นทุน ซึ่งทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นกองทุน LHTPROP มีนโยบายการลงทุนเฉพาะเจาะจงในหมวดอุตสาหกรรม จึงอาจมีความเสี่ยงและความผันผวนของราคาสูงกว่ากองทุนรวมทั่วไปที่มีการ กระจายการลงทุนในหลายอุตสาหกรรม |  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนภัทร จำกัด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

TSF2024