ทองคำดีดตัวแรงกว่า 10$ หลัง ISM Manufacturing หดตัวต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี น่าจะทำให้ QE ของสหรัฐฯ กลับมาได้อีกครั้ง (THE RETURN OF QE !) แล้วไตรมาส 4 นี้ภาพการลงทุนเป็นอย่างไร จัดไปเต็ม ๆ 18 ข้อครับ
1. ล่าสุด (1 ต.ค. 62) ดัชนี ISM ของสหรัฐฯ ประกาศออกมาที่ 47.8 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ 50.4 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี
รูปที่ 1 : ประกาศตัวเลข ISM ของสหรัฐ (1 oct 19)
รูปที่ 2 : ดัชนี ISM ของสหรัฐ และ ดัชนี S&P 500 (1 oct 19)
2. ราคาทองบวกกว่า 10 เหรียญมายืนที่ $1483 ขณะที่ Yield พันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปีปรับลง 0.05 มาที่ 1.63% (ยังไม่ new low)
รูปที่ 3 : ราคา Gold Spot (1 oct 19)
3. ที่แข็งมากคือค่าเงินดอลลาร์แม้ตัวเลขเศรษฐกิจจะอ่อนแต่ Dollar Index ยังยืนแข็งที่สูงกว่า 99 (อ่อนลงมาเล็กน้อยหลัง ISM ประกาศ)
4. ในอดีตถ้า ISM ต่ำกว่า 45 เมื่อไหร่ อเมริกาเกิดเศรษฐกิจถดถอย (recession) ทุกครั้ง
5. (มุมมอง) THE RETURN OF QE !!! งานนี้ FED หลังชนฝาน่าจะทำการลด FED Fund Rate ต่อเนื่อง และเชื่อว่าจะกลับมากระตุ้นด้วย QE อีกครั้ง
6. จริง ๆ แล้วเดือนกันยาที่ผ่านมา FED ใช้เครื่องมือ Repo ในการฉีดสภาพคล่องเข้าระบบเศรษฐกิจ ซึ่งแม้จะไม่เรียกว่า QE แต่ในทางเทคนิคก็เป็นการฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจคล้าย QE มาก ๆ
7. (มุมมอง) งานนี้สภาพคล่องล้นระบบกลับมาอีกแน่ หลังจากล่าสุดยุโรปเองก็เพิ่งประกาศใช้ QE นำไปก่อนแล้ว ทางญี่ปุ่นก็ยังกระตุ้นต่อเนื่อง ทางอเมริกาเองคงต้องทำบ้างเพื่อไม่ให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งไปกว่านี้และกระทบต่อดุลการค้า
8. (มุมมอง) ทรัมป์ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ถดถอย งานนี้คงทั้งนวดทั้งบีบ FED อย่างหนัก และคงหาวิธีกระตุ้นทางการคลังด้วยเช่นกัน
9. อย่างไรก็ตามการที่ Democrat คุมสภาล่าง และยังมีการยื่นถอดถอน (Impeachment) นายทรัมป์ ทำให้การจะเพิ่มการกระตุ้นทางการคลังไม่น่าจะทำได้ง่าย
10. กองทุนตราสารหนี้ระยะยาวทั้งไทยและโลกน่าจะทำผลงานได้ดีต่อเนื่องจากการลดดอกเบี้ย ยังชอบ KFAFIX และ PHATRA G-UBOND (ชอบกองของ PIMCO น้อยลงเนื่องจาก position การ short Yen ในช่วงหลัง ๆ)
11. (รูปที่ 3) ทองคำควรมีติดพอร์ตเยอะหน่อยต่อไป จากการที่สภาพคล่องล้นระบบ, Yield พันธบัตรปรับตัวลดลงต่อ และปริมาณการถือครองทองคำของเหล่าธนาคารกลางที่ปรับเพิ่มขึ้น มองมีโอกาสรีบาวนด์จากระดับนี้ (หรือถ้าลง แนวรับ 1442 น่าจะเอาอยู่) ชอบ TMBGOLDS เหมือนเดิม คือชอบทองแต่ยังกลัวบาทแข็ง ดังนั้นป้องกันความเสี่ยงค่าเงินไว้ดีกว่า
12. ความท้าทายของสหรัฐฯ คือความซาดิสม์ของ ECB (แบงค์ชาติยุโรป) พี่แกเล่นกด Yield พันธบัตร 10 ปีของเยอรมันลงไปติดลบสุด ๆ ที่ -0.50% เข้าไปแล้ว ทำให้ส่วนต่าง Yield ของสหรัฐฯ และเยอรมันกว้างทะลุ 2% เงินยูโรก็เลยอ่อนเอา ๆ งานนี้เท่ากับบีบให้สหรัฐฯ ต้องกด Yield ตัวเองให้ต่ำตาม
รูปที่ 4 : Yield พันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี เทียบกับ Yield พันธบัตรเยอรมนี 10 ปี (1 oct 19)
13. นี่มันคือการทำการแข่งกันอ่อนค่าเงินชัด ๆ (Currency War) ซึ่งผลพลอยได้คือสภาพคล่องล้นโลก QE อาจเกิดขึ้นได้รัว ๆ และ Yield พันธบัตรจะแข่งกันลง โชคดีที่เงินเฟ้อต่ำมากช่วงหลายปีนี้ทำให้เหล่าธนาคารกลางสาดกระสุนกันได้ขนาดนี้
14. REITs, Property Fund, Infrastructure Fund งานนี้ยิ้มเชื่อว่าน่าจะได้เห็น New high เพราะยิ่งดอกเบี้ยต่ำนักลงทุนก็พร้อมที่จะย้ายเงินไปหาการลงทุนที่ได้ระดับ Yield ที่สูงกว่า แถมเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไม่ค่อยจะดี เงินก็จะไม่ค่อยกล้าเข้าหุ้นมาก ก็เลยมาเข้าที่ REITs ยังชอบ LHTPROP เหมือนเดิม และทีมก็กำลังเล็ง ๆ พวก Global Infrastructure Fund มาเสริมทัพ
15. หุ้นไทย ไม่ได้ชอบมากนัก เพราะเศรษฐกิจบ้านเรามันไม่ค่อยโต แต่ก็เชื่อว่าจะไม่ลงแรงมาก มีติดพอร์ตไว้พอได้ แนะนำ Sector ที่ไม่อิงเศรษฐกิจโลก ไม่เป็นหุ้นวัฏจักร อย่างกลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มอุปโภคบริโภค ท่องเที่ยวก็น่าสน (นักท่องเที่ยวจีนกลับมาแล้ว อานิสงส์จากความไม่สงบในฮ่องกง)
16. ความเสี่ยงที่จะทำให้หุ้นลงแรง ๆ ก็มีไม่น้อยทั้งเรื่องการถอดถอนทรัมป์, เรื่อง Brexit และสงครามการค้าที่ยังไม่จบแน่ ๆ แต่พลังของ THE RETURN OF QE ดูจะมีภาษีดีกว่าไม่น้อย
17. สินทรัพย์หุ้นคิดว่ามีในพอร์ตได้ แต่ให้เน้น High Dividend Yield คือหุ้นแนว Value ผมมองว่าเล่นแนว Growth ณ ตอนนี้ได้ไม่คุ้มเสีย ขณะที่ถ้าลงทุนแนวปันผลสูงด้วยหุ้นเชิงรับ REITs ตราสารหนี้ระยะยาว และมีทองคำติดพอร์ตไว้
18. แถมท้ายคือกองทุนแนว Income Focus อย่าง KFAINCOM ก็น่าสนใจในสถานการณ์นี้ และทีมงานกำลังหากองทุนที่เป็น Global Income มาแนะนำเสริมต่อไป
ขอให้ทุกท่านสำเร็จในการลงทุนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีครับ
Unlock Your Investment Potential
by FundTalk
Jessada Sookdhis
Investment Analyst (IA)
ตรวจทานบทความ
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน