ต่อเนื่องจากบล็อกบทความที่แล้ว ที่ผมได้เสนอให้ท่านผู้อ่านติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสองตัวหลัก คือ ตัวเลขคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อ ใน Inflation Report ของแบงค์ชาติ ซึ่งผมมองว่าเป็นตัวเลขคาดการณ์ที่นักลงทุนทุกกลุ่มในตลาดให้ความสำคัญในลำดับต้น ๆ นอกจากนั้นมีตัวเลขเศรษฐกิจอีกชุดนึงที่ควรรติดตามตัวเลขการเติบโตจริงของประเทศที่ประกาศโดยสภาพัฒน์ฯ เพื่อให้ทราบว่าการเติบโตจริงของประเทศ และนำไป cross check กับตัวเลขประมาณการของแบงค์ชาติด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าแบงค์ชาติประมาณการเศรษฐกิจจะโต 5% แต่หาตัวเลขจริงที่ประกาศโดยสภาพัฒน์ ใน 2 ไตรมาสแรกโตแค่ 2% นั่นคือมีโอกาสสูงที่แบงค์ชาติจะปรับประมาณการเศรษฐกิจลดลง ซึ่งแน่นอนจะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และค่าเงิน สำหรับรายละเอียดว่าตัวเลขแต่ละชุดจะมีกำหนดออกอย่างไร ความถี่ในการเผยแพร่ และแหล่งข้อมูลในการติดต่อหา สามารถติดตามได้จากบล็อก FundTalk9 ครับ

Your view against Market Consensus

ในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนของ ผู้จัดการกองทุน สิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงการติดตามการประกาศของตัวเลขเศรษฐกิจ หากแต่เป็นการมีมุมมอง (Market View) ที่แตกต่างจากสิ่งที่นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่เชื่อ (Market Consensus) ซึ่งสิ่งที่นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่เชื่อก็มักจะเป็นตัวเลขจากแหล่งที่น่า เชื่อถือเช่นแบงค์ชาติ หรือสภาพัฒน์ดังที่แนะนำให้ท่านติดตามนั่นเอง

ขอ ยกเป็นตัวอย่างครับ ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม แบงค์ชาติได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อในปี 2010 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยปรับตัวเลข GDP growth ปีหน้าจากเฉลี่ย 2.5% เป็น 4.0% และปรับตัวเลขเงินเฟ้อจากเฉลี่ย 2.0% เป็น 4.5% ซึ่งการปรับเพิ่มประมาณการครั้งเดียว 1.5 – 2.5% ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญมาก (ถ้าดูย้อนหลังในอดีตจะเห็นว่าการปรับประมาณการแต่ละครั้งโดยเฉลี่ยจะปรับน้อยกว่านี้)

Before Fact

การ กำหนดกลยุทธ์การลงทุน ก่อนที่ตัวเลขจะประกาศ หากเราทำการวิเคราะห์ก่อนหน้าที่แบงค์ชาติจะปรับประมาณการ และเชื่อว่าจะมีการปรับประมาณการแบบ Positive Surprise เราก็ควรจะปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น ลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ก่อนที่จะถึงวันที่แบงค์ชาติจะประกาศประมาณ การตัวเลขเศรษฐกิจ (เวลาเศรษฐกิจดี เงินเฟ้อสูงราคาหุ้นจะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนราคาตราสารหนี้จะปรับลดลง)

After Fact

หลัง จากตัวเลขการคาดการเศรษฐกิจของแบงค์ชาติประกาศ ตลาดก็จะปรับตัวไปตามการคาดการณ์นั้น หาก ผู้จัดการกองทุน มีมุมมองที่ต่างจากแบงค์ชาติ ยกตัวอย่างเช่น หาก ผู้จัดการกองทุน มองว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะโตเพียง 2% นั่นคือเชื่อว่าในอนาคตจะมีการลดประมาณการ GDP เราก็ควรจะปรับลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้น และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้

โดยสรุป การกำหนดกลยุทธ์ การลงทุน เพื่อชนะตลาด ต้องทำเมื่อนักลงทุน คิดแตกต่างจากสิ่งที่ตลาดคิด (Our view against consensus) ดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนควรมีคือมีมุมมองของตัวเอง เพื่อนำไปเทียบกับสิ่งที่ตลาดคิด แล้วนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์การลงทุน นั่นเอง

โดย เจษฎา สุขทิศ, CFA.
ผู้จัดการกองทุน, บลจ. อยุธยา จำกัด.

TSF2024