เนื้อหาของบทความนี้ (คลิกอ่านส่วนที่สนใจได้เลยครับ)


ปี 2020 ในโมงยามที่โลกยังคุกรุ่นไปด้วยอวลไอของความสิ้นหวังจากการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ชายเฒ่าวัยเฉียดร้อยผู้หนึ่งกล่าววาทะเอาไว้ ณ ชายขอบสุดของภูมิภาคมิดเวสต์ เมืองโอมาฮา มลรัฐเนบราสก้า สหรัฐอเมริกาว่า

อย่าแทงสวนอเมริกา

ในเวลานั้น ไม่ว่าใครก็ขยาดกับตลาดสหรัฐฯ ดัชนีหุ้นที่เป็นทั้งภาพแทนของประเทศ และเป็นแหล่งรวมบริษัทที่ดีที่สุดในโลกกำลังดิ้นรน ณ ก้นเหว หลังจมดิ่งสู่ห้วงลึก

หลังจากนั้นไม่นาน ก็เป็นไปดั่งคำพูดของชายชราผู้นั้น ดัชนี S&P 500 ฟื้นตัวต่อเนื่องถึงปัจจุบัน และใช่แล้วครับ ชายผู้นั้นไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นเจ้าของนาม ‘พ่อมดแห่งโอมาฮา’ เขาคือ วอร์เร็น บัฟเฟตต์

วันเกิด Warren Buffett

อะไรทำให้คนกังวลในตลาดสหรัฐฯ ?

ผมว่าในปลายปี 2023 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาสู่คำถามเดิม ๆ อีกครั้งว่าจะไปต่อได้ไหม จากสถานการณ์ที่ ‘ดู’ จะไม่เป็นใจ คือ

  • ภาวะเงินเฟ้อ ที่ยืดเยื้อ
  • การคงอัตราดอกเบี้ย ในระดับสูงต่อไป (higher for longer)
  • ผลตอบแทนพันธบัตร ของสหรัฐฯ (Bond Yield) สูงสุดในรอบ 16 ปี 

 

สามเรื่องนี้เกี่ยวกัน คือ 

  • พอเงินเฟ้อสหรัฐฯ สูงเฟดก็พยายามขึ้นหรือคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้สูง ๆ เพื่อลดเงินเฟ้อ 
  • แล้วพอดอกเบี้ยเพิ่ม Bond Yield (ซึ่งเป็นผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย) ก็ขึ้นตาม 

 

ทีนี้ลองนึกภาพตามครับ พอสินทรัพย์ที่เสี่ยงน้อยกว่าอย่างพันธบัตรให้ผลตอบแทนน่าสนใจ ก็ถึงคราวหุ้นซึ่งเสี่ยงสูงกว่านั่งมองตาปริบ ๆ เพราะคนย้ายเงินไปสู่พันธบัตร ทำให้ราคาหุ้นลง

เราจะเห็นภาพนี้ชัดมากเมื่อมองไปในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลงเฉลี่ยถึง 4% ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

ที่พูดมาทั้งหมดน่าจะเป็นภาพที่คนมองตลาดหุ้นแห่งนี้ในปัจจุบันคือ ยังต้องทุรนทุรายไปกับเงินเฟ้อ ดอกเบี้ย และ Bond Yield ซึ่งกดดันตลาดหุ้น

และคราวนี้ผมก็จะมาอธิบายว่า ทำไมตลาดสหรัฐฯ น่าสนใจ แม้กระแสฝูงชนกำลังกังวลในตลาดสหรัฐฯ 

พูดง่าย ๆ คือผมมอง ‘สวน’ กระแสเงินทุนที่กำลังเทขายตลาดสหรัฐฯ นั่นเอง

เหตุผลหลัก ๆ คือ เรื่องวัฏจักรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดครับ

โอกาสชาวสวน! เราอยู่ท้าย Cycle ขึ้นดอกเบี้ยของเฟด

ตรงนี้ผมขอยกเรื่อง Cycle การขึ้นดอกเบี้ยโดย T. Rowe Price มาอธิบายให้ฟังกันครับ โดยทาง T. Rowe Price แบ่ง Cycle ตรงนี้ออกเป็น 4 เฟส คือ

  • Strong upward trend: Bond Yield พุ่งขึ้นรวดเร็ว จากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด
  • Long sideways: Bond Yield ปรับขึ้นแบบ Sideways 
  • Final blow-off: Bond Yield พุ่งขึ้นรวดเร็วครั้งสุดท้าย เมื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย
  • Powerful decrease: Bond Yield ร่วงลงอย่างรุนแรง (ส่งผลดีต่อหุ้น)

 

ประเด็นของผมก็คือว่า การที่ Yield ทะยานขึ้นเมื่อเดือนที่ผ่านมาจนแตะระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี อาจเป็นสัญญาณบอกว่า เรากำลังอยู่ในเฟสที่ 3 หรือ Final blow-off แล้ว

ถ้ายกข้อมูลเศรษฐกิจมาประกอบด้วยคือ แนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีและเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอต่อเนื่อง (โดยเฉพาะในเรื่องค่าเช่าที่ว่ากันว่าลดค่อนข้างยาก) มีผลให้เฟดผ่อนคลายความเข้มงวดในนโยบายการเงิน หลังจากนี้ เราอาจเห็น Yield ร่วงลง ในเฟสถัดไป

มองลึกลงไปกว่านั้นถ้าเราดูจากรูปกราฟเงินเฟ้อ Core CPI less Shelter คือไม่รวมพวกค่าเช่าอสังหาฯ ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมานั้นกลับไปเติบโตที่ระดับใกล้ ๆ 2% เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถึงขนาด Paul Krugman นักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกลงบทความใน The New York Times เลยว่าเราชนะสงครามการตู้สู้เงินเฟ้อแล้ว ด้วยต้นทุนที่ถือว่าไม่มาก

อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ปี 2019-2023 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 02/10/2023

ถึงตรงนี้ผมขอยกข้อมูลในอดีตมาให้ดู 2 กราฟครับ อันแรกจะเห็นว่าตลอด 30 ปีที่ผ่านมา เมื่อเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย Bond Yield (ซึ่งกดดันตลาดหุ้นที่ผ่านมา) จะดิ่งฮวบลงจริง ๆ ตาม Cycle ที่เราพูดถึงก่อนหน้า (เส้นที่ขีดตั้งในรูปคือจังหวะที่ FED ขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายในแต่ละวัฏจักรที่ผ่านมา)

ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 1982-2023 | Source: FINNOMENA FUNDS, Macrobond, U.S. Department of Treasury, Federal Reserve Bank of New York as of 25 Sep 2023

และเช่นกัน เมื่อมองผลตอบแทนของ S&P 500 ย้อนหลังตั้งแต่ปี 1971 จะเห็นว่า เมื่อ Fed หยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดหุ้นจะปรับตัวไปต่อ 

โดยในกรณีที่เราเจอในปัจจุบัน เชื่อว่าเป็นกรณีของ Soft Landing (เมื่อกลับมาโตแบบชะลอตัวหลังเศรษฐกิจโตมามาก ๆ) ผลตอบแทนเฉลี่ยจะอยู่ที่ 34% เลยทีเดียว (เส้นสีเขียว) 

คาดว่าในตอนนี้เราอาจโตได้ในระหว่างช่วงสีเขียวและส้ม ซึ่งถือว่าเป็นบวกเยอะทีเดียว 21 – 34%

FINNOMENA FUNDS PORT Strategy เดือนตุลาคม 2023

ผลตอบแทนดัชนี S&P 500 หลังเฟดหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยนับจากปี 1971 | Source: FINNOMENA FUNDS, Macrobond, S&P Global as of 25 Sep 2023

แน่นอนว่าประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยและ Bond Yield เบาบางลงไปบ้างแล้ว แต่อะไรคือเครื่องยืนยันว่าตลาดสหรัฐฯ จะเติบโตได้ดีและมีมูลค่าน่าสนใจ เดี๋ยวผมเล่าให้ฟังต่อครับ

อีก 3 เรื่องที่ทำให้ตลาดสหรัฐฯ น่าสนใจ

เรื่องที่ 1 … ภาพใหญ่เติบโตดีกว่าคาด

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ดีกว่าคาดทั้งในแง่ภาคอุตสาหกรรม ตลาดแรงงาน และยอดค้าปลีก โดยล่าสุด ISM Manufacturing PMI เดือนกันยายนอยู่ที่ 49 จุด ดีกว่าตลาดคาดที่ 47.7 จุด แม้ว่าจะอยู่ในโซนชะลอตัว แต่มีทิศทางที่ฟื้นตัวขึ้น

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ปรับขึ้นคาดการณ์ GDP สหรัฐฯ ไตรมาสล่าสุดเป็น 3% จากเดิม 1% เท่านั้น ใกล้กับคาดการณ์ของ GDP Now โดย Fed สาขาแอตแลนตา ที่ระดับ 5% ต่อเนื่อง และอาจเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุนการลงทุนได้

US GDP Now 3Q23 | Source: FINNOMENA FUNDS, Atlanta FED as of 02/10/2023

เรื่องที่ 2 … ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนเติบโต

ผมว่าเรื่องที่น่าจับตาของหุ้นสหรัฐฯ อย่างหนึ่งคือผลประกอบการ เนื่องจากราคาวิ่งขึ้นไปส่วนหนึ่ง (จากหุ้นกลุ่ม Magnificent-7) ดังนั้นจึงจำเป็นที่บริษัทในตลาดสหรัฐฯ มีผลประกอบการณ์เพิ่มขึ้นเพื่อปรับบาลานซ์ PE ลงมา 

และข่าวดีก็คือ หุ้นในตลาดสหรัฐฯ มีแนวโน้มผลประกอบการณ์ดี

ด้านผลประกอบการของดัชนี S&P 500 มีการปรับประมาณการเพิ่มขึ้นเหนือดัชนีหุ้นโลก แต่ดัชนียังตอบรับข้อมูลเพียงเล็กน้อย 

สถิติผลตอบแทนของดัชนี S&P 500 และโอกาสในการให้ผลตอบแทนเป็นบวก รายเดือนตั้งแต่ปี 1928-2022 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 02/10/2023

ทั้งนี้ ภาพการเติบโตของกำไรต่อหุ้นของดัชนี S&P 500 ยังมีการเติบโตกว่า 10% และยังมีการปรับประมาณการการเติบโตของกำไรต่อหุ้นของ Nasdaq-100 เกิน 20% พร้อมทั้งการปรับประมาณการที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

EPS Growth และ EPS revision | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 29/09/2023

เรื่องที่ 3 … Valuation ตลาดสหรัฐฯ กำลังน่าสนใจ

แน่นอนว่าการลงทุนไม่ใช่แค่การหาของดี แต่เป็นหาของดีราคาเหมาะสมด้วยครับ และตอนนี้หุ้นสหรัฐฯ กำลังเข้าข่ายนี้เลยเพราะตอนนี้ค่า PE อยู่ที่ 18 เท่า พูดให้ง่ายกว่านั้นคือ กำลังเทรดที่ราคาเฉลี่ย 10 ปี 

Absolute PE ของดัชนีหุ้นทั่วโลก | Source : FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 29/09/2023

และก่อนจะจากกันไปคราวนี้ ผมขอทิ้งท้ายกับผู้อ่านไว้ด้วยกราฟนี้ครับ 

Market Sentiment ของดัชนี S&P 500 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 02/10/2023

จากความกังวลที่เกิดขึ้นจากอัตราดอกเบี้ย Bond Yield หรือการปรับฐาน จะเห็นว่าตอนนี้ฝูงชนในตลาดปรับโหมดเข้าสู่กลัวสุดขีด (Extreme Fear) ครับ

ทว่าจุดนี้เอง ที่มักเป็นโอกาสเข้าซื้อที่ราคาสมเหตุสมผลและให้ผลตอบแทนคาดหวังที่มากขึ้น ให้กับนักลงทุนที่มองสวนอารมณ์ของตลาดการลงทุน

สุดท้ายแล้ว กราฟนี้ชวนให้ผมนึกถึงวาทะอันโด่งดังของพ่อมดเฒ่าจากมิดเวสต์ที่เป็นเหมือนจอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) ของนักลงทุนสายสวนตลาดคำนี้ครับ…

จงกลัวเมื่อคนอื่นกล้า และจงกล้าเมื่อคนอื่นกลัว

Jet – The Contrarian Investor

แนะนำกองทุนหุ้นสหรัฐฯ: AFMOAT-HA

AFMOAT-HA หรือ กองทุนเปิด เอ เอฟ ยูเอส ไวด์ โมท เฮดจ์ ชนิดสะสมมูลค่า คือ กองทุนหุ้นสหรัฐฯ แบบ Passive เคลื่อนไหวตามดัชนี Morningstar® Wide Moat Focus Index เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันสูง (ปราการ) เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว มีกองทุนหลักคือ VanEck Morningstar Wide Moat ETF

กองทุน AFMOAT-HA ได้รับเรตติ้งระดับ 5 ดาวจาก Morningstar ทั้งในส่วนของภาพรวม การดำเนินงาน 3 ปี และการดำเนินงาน 5 ปี

เรตติ้งของกองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF โดย Morningstar | Source: vaneck.com as of 31/08/2023

ทรัพย์สินที่กองทุนหลักของ AFMOAT-HA ลงทุน 10 อันดับแรก | Source: Fund Factsheet ของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF as of 31/09/2023

กองทุน AFMOAT-HA มีการกระจายการลงทุนสูง ลดสัดส่วนในหุ้น Magnificent-7 หรือหุ้น Big Tech ทั้ง 7 คือ Apple, Microsoft, Alphabet, Amazon, META, Tesla และ Nvidia ซึ่งราคาปรับสูงขึ้นมาพอสมควรในปีนี้ สวนทางกับหุ้นสหรัฐฯ ตัวอื่นที่ราคายังปรับขึ้นมาไม่มากนัก ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนการลงทุนหลังจากนี้

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/


อ้างอิง

คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากกองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงบางส่วน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299 | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

TSF2024