Key Takeaways (คลิกเพื่ออ่านแต่ละส่วนที่สนใจได้เลย) 

K-CHINA-A กองทุนจีนพิมพ์นิยม ที่หลายคนขยาด?

กองทุนหุ้นจีน น่าจะเป็นยาสามัญประจำพอร์ตของนักลงทุนชาวไทยที่ไม่ว่าบ้านไหนก็ต้องมี ด้วยเหตุผลหลายอย่าง คือ

  • คาดกันว่า GDP จีนจะมีโอกาสแซงสหรัฐฯ ในช่วงปี 2030-2035
  • พลังการบริโภคภายในประเทศ ของประชากร 1,400 ล้านคน ที่ครึ่งหนึ่งเป็นชนชั้นกลาง
  • การเติบโตก้าวกระโดดของบริษัทสายนวัตกรรม เช่น Tencent, Alibaba, Meituan, CATL หรือ BYD
  • ในภาพใกล้เข้ามา จีนเปิดประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี 2023
  • คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยโลกในปี 2023 – 2024 ที่ 5.5% และ 4.8%

 

Source: Photographer: Roy Liu/Bloomberg

อย่างไรก็แล้วแต่ สำหรับนักลงทุนไม่น้อย กองทุนจีนเหมือนเป็นยาขม พูดง่าย ๆ คือ มองว่าดีแต่ก็ไม่กล้ากิน โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีหลัง (2021 – 2022) ทั้งนี้ เพราะจีนในช่วงเวลาดังกล่าว สะกดเป็นแต่คำว่า วิกฤติ และ วิกฤติ และ วิกฤติ … เช่น

  • รัฐบาลใช้มาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดในหลายธุรกิจ เช่น อีคอมเมิร์ซ, คริปโทฯ, กวดวิชา และเกม 
  • วิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ตั้งต้นมาจากกรณี Evergrande
  • ความขัดแย้งกับสหรัฐฯ ที่เรื้อรังมาตั้งแต่สมัยโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ล่าสุดลุกลามถึงวงการชิปและ AI 

 

และสิ่งเหล่านี้เองก็กระทบกับพอร์ตการลงทุนเข้าอย่างจัง โดยในกรณีของกองทุน K-CHINA-A มีผลการดำเนินงาน -17.49% นับตั้งแต่ต้นปี (ข้อมูล ณ วันที่ 11/7/2023) ยังไม่นับที่ลงมายาว ๆ ตั้งแต่ต้นปี 2021

ประเด็นตรงนี้เลยกลายเป็นคำถาม (และความกังวล) ของนักลงทุน ว่ากอง K-CHINA-A ยังไหวอีกไหม ควรสู้ต่อไปหรือขายทิ้งดี 

วันนี้ FINNOMENA จะพาไปรีเช็กฟอร์ม K-CHINA-A และชวนมองไปข้างหน้า เพื่อตอบคำถามที่คาใจของนักลงทุนว่าควร ‘สู้หรือหนี’ สำหรับกองจีนยอดฮิตกองนี้

ทบทวนวิถีการลงทุนแบบ K-CHINA-A: ยังเป็นกองที่ใช่ของเราไหม?

ทบทวนกันแบบรวดเร็ว K-CHINA-A หรือ กองทุนเปิดเค ไชน่า หุ้นทุน-A เป็นกองทุนที่ลงทุนในบริษัทจีน ผ่านกองทุนแม่ คือ JPMorgan Funds – China Fund โดยมีวิธีการเลือกธุรกิจที่น่าสนใจเข้าพอร์ตการลงทุน คือ

  • เลือกธุรกิจแบบ bottom-up stock 
  • คัดเลือกหุ้นโดยเน้นไปที่การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
  • เลือกลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตที่เหนือกว่าคู่แข่งอย่างยั่งยืน 
  • เน้นหุ้นกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่ได้ประโยชน์จากแผนพัฒนาของรัฐบาลจีน
  • กองทุนหลักบริหารแบบ active management เพื่อให้ผลประกอบการชนะดัชนีชี้วัด 

 

สำหรับนักลงทุนที่สนใจกองทุนนี้ ก็มีกองทุนให้เลือกอยู่ 2 คลาส คือ

  • K-CHINA-A(A) ที่เป็นชนิดสะสมมูลค่า (มีแบบ SSF และ RMF ให้เลือกด้วย) และ
  • K-CHINA-A(D) ที่เป็นชนิดจ่ายเงินปันผล

 

อ่านรีวิวกองทุนเต็ม ๆ : K-CHINA-A(A): โตไปกับ “พลังเงิน” ของคนจีน
สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/ 

เช็กร่างกาย K-CHINA-A: ปี 2023 ถืออะไรอยู่บ้าง?

จากข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2023 กองทุนหลักของ K-CHINA-A ยังคงเน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่ม New Economy ที่ได้ประโยชน์จากแผนพัฒนาของรัฐบาลจีนเหมือนเดิม

10 สินทรัพย์ที่ JPMorgan Funds – China Fund ลงทุนมากที่สุด, source: J.P. Morgan as of 31/5/2023

  • ถ้าลองดูในการลงทุน 10 อันดับแรกของกองนี้ก็จะเห็นภาพชัดเจน
  • ที่ตรงนี้แทบถูกสงวนไว้ให้ หุ้นไฮเทคจีน เช่น Tencent, Alibaba, Meituan และ NetEase

 

การลงทุนของ JPMorgan Funds – China Fund ในหุ้นแต่ละกลุ่ม, source: J.P. Morgan as of 31/5/2023

แค่นั้นไม่พอ ถ้าเราจัดกลุ่มหุ้นแต่ละตัวที่ลงทุนเป็นกลุ่ม จะเห็นได้เลยว่า กองทุนหลักให้ความสำคัญกับกลุ่ม IT เป็นอย่างมาก เพราะแม้จะไม่ได้ถือเป็นสัดส่วนมากที่สุด แต่พอเทียบกับ Benchmark (MSCI China 10/40) แล้ว ก็มากกว่าถึง 5.2% 

ส่วนหุ้นกลุ่มที่กองทุนหลักให้น้ำหนักมากสุด คือ Consumer Discretionary ซึ่งจะได้รับประโยชน์มหาศาลจากการบริโภคภายในของคนจีน

คนลงกองจีนต้องรู้! สรุปสถานการณ์ครึ่งแรกปี 2023 โดย FINNOMENA Investment

สถานการณ์เมื่อเริ่มปี 2023

  • จีนผ่อนคลายการควบคุม COVID-19 
  • จีนผ่อนคลายการควบคุมภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงกลุ่ม Big Tech จีน
  • คาดว่าจะส่งผลให้แนวโน้มเศรษฐกิจมีโอกาสฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับปรกติ

 

แต่เมื่อผ่านไปครึ่งปี

  • จีนหนุนเศรษฐกิจผ่านนโยบายการเงินเป็นหลัก (การเสริมสภาพคล่อง) เท่านั้น เช่น การลดอัตราส่วนสำรองขั้นต่ำ (RRR), อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF), อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) และการลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับธนาคารต่าง ๆ
  • จีนสงวนท่าทีต่อการออกมาตรการทางการคลัง ที่จะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประชาชน

 

ส่งผลให้

  • นักลงทุนผิดหวังกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ที่หนุนเศรษฐกิจผ่านการเงินอย่างเดียว
  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของจีนและเศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าที่ตลาดคาดไว้ สร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา
  • กองทุน K-CHINA ปรับตัวลง 18.9% นับตั้งแต่เริ่มแนะนำผ่าน MEVT Call by FINNOMENA ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2023 ตามทิศทางตลาดหุ้นจีน

 

วิเคราะห์ครึ่งหลังปี 2023 โดย FINNOMENA Investment 

ปริมาณการเสริมสภาพคล่องของรัฐบาลจีน ปี 2005 – 2023, source: FINNOMENA, Bloomberg as of 19/6/2023

1. จีนเสริมสภาพคล่องครั้งประวัติศาสตร์

  • FINNOMENA Investment Team มองว่า แม้โมเมนตัมการฟื้นตัวภาคเศรษฐกิจชะลอตัว จากการขาดนโยบายการคลัง ผสมกับความผิดหวังของนักลงทุนต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่จริง ๆ แล้ว มาตรการเสริมสภาพคล่องดังกล่าวก็ถือว่าเป็นการอัดฉีดครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์

 

คาดการณ์ GDP ของประเทศต่าง ๆ ในปี 2023 และ 2024, source: FINNOMENA, Bloomberg as of 19/6/2023

2. คาดจีนโตเหนือค่าเฉลี่ยโลก

  • การเติบโตทางเศรษฐกิจยังเหนือกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ที่ 5.5% และ 4.8% ในปี 2023 และ 2024
  • การไม่มีนโยบายการคลังในช่วงที่ผ่านมาหมายความว่า จีนจะยังมี Catalyst จากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางด้านการคลังในช่วงที่เหลือของปีนี้ 
  • ความเข้มงวดของรัฐบาลต่อบริษัทเทคโนโลยีลดน้อยลงส่งผลให้ Sentiment ต่อการลงทุนมีทิศทางที่ดีขึ้น 

 

Relative P/E ของดัชนีหุ้นจีนเทียบหุ้นโลก, source: FINNOMENA, Bloomberg as of 19/6/2023

3. หุ้นจีนยังถูก

  • ในเชิง Valuation หุ้นจีนโดยเฉพาะหุ้น All China ถูกกดดันต่อเนื่องกว่า 2 ปี ทำให้หุ้น All China มีความน่าสนใจลงทุนทั้งในแง่ของปัจจัยกดดันที่กำลังผ่อนคลาย และ Valuation ที่ต่ำ
  • Valuation ทั้งในแง่ Relative PE และ Earning Yield Gap อยู่ในระดับที่ถูก
  • Earning Yield Gap บ่งชี้ว่าหุ้นจีนอยู่ในโซนถูก เช่นเดียวกับ Relative P/E เมื่อเทียบกับหุ้นโลก อยู่ในโซน -1 S.D.

 

คำแนะนำต่อกอง K-CHINA-A สู้ต่อไป หรือ ขายทิ้ง?

ต้นปี 2023 ที่ผ่านมา ทางการจีนเดินหน้าผ่อนคลายท่าทีต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 และภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง

แม้โมเมนตัมการฟื้นตัวภาคเศรษฐกิจชะลอตัว จากการขาดนโยบายการคลังเพื่อหนุนความเชื่อมั่นผู้บริโภค นักลงทุนผิดหวังกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ที่หนุนเศรษฐกิจผ่านการเสริมสภาพคล่องเป็นหลัก

แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจยังเหนือกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก และมี room to improve ของการฟื้นตัวและกระตุ้นเศรษฐกิจ อีกทั้ง Valuation อยู่ในระดับที่ถูก ทั้งในแง่ของ Relative PE และ Earning Yield Gap

FINNOMENA Investment Team แนะนำ
ทยอยสะสม K-CHINA-A(A)

อ่านมุมมองการลงทุนประจำเดือนกรกฎาคม 2023
โดย FINNOMENA Investment Team แบบเต็ม ๆ ที่นี่

คำแนะนำในกองทุนอื่น โดย FINNOMENA Investment Team สำหรับช่วงครึ่งปีหลัง 

นอกจากกองทุนหุ้นจีนแล้ว ในช่วงครึ่งปีหลัง FINNOMENA Investment Team ยังแนะนำการลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ อีกด้วย

แต่จะเป็นสินทรัพย์ชนิดไหน และมีมุมมองอย่างไรบ้าง สามารถติดตามได้ ที่นี่


แหล่งที่มาข้อมูล

คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

TSF2024