Key Takeaways (คลิกเพื่ออ่านแต่ละส่วนที่สนใจได้เลย) 

LV-M-H แค่ชื่อก็มีหลายแบรนด์แล้ว

ถ้าลองดูชื่อของ LVMH บริษัทจากฝรั่งเศสเจ้าของแบรนด์หรูชั้นนำ จะเห็นได้ว่ามีตัวย่ออยู่หลายตัว ซึ่งมาจากหลายแบรนด์ในเครือ คือ 

  • แบรนด์แฟชั่น Louis Vuitton (LV)
  • แบรนด์แชมเปญ Moët & Chandon (M) 
  • และแบรนด์คอนญัค Hennessy (H)

 

พูดได้เลยว่าแค่เห็นชื่อย่อก็เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักร Luxury Brand รายนี้ได้เป็นอย่างดี 

อย่าง Frederic Arnault ลูกชายของผู้ก่อตั้ง LVMH ที่เพิ่งจะมีข่าวลือออกเดตกับ ลิซ่า Blackpink ก็มีตำแหน่งเป็นซีอีโอของ Tag Heuer ผู้ผลิตนาฬิการะดับโลก และบริษัทนี้ก็ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่อยู่ใต้ร่มธงของอาณาจักร LVMH เหมือนกัน

เอาจริง ๆ แล้ว 3-4 ชื่อที่ว่ามาเป็นแค่เศษเสี้ยวของ LVMH เท่านั้น เพราะนับตั้งแต่เริ่มควบรวมในปี 1987 บริษัทแบรนด์หรูที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้ สามารถกวาดแบรนด์ต่าง ๆ เข้ามาอยู่ใต้อาณาจักรของตัวเองรวมแล้วกว่า 75 แบรนด์ 

ลองมาทำความรู้จัก LVMH กันให้มากขึ้น เจาะลึกกันว่าบริษัทแห่งนี้ยิ่งใหญ่แค่ไหน มีที่มาความมั่งคั่งจากไหนบ้าง ทำไมจึงสามารถกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและเจ้าแห่งแบรนด์หรูได้

เดินหน้าควบรวม วิถีแห่ง LVMH 

ความเป็นมาของ LVMH สามารถย้อนไปไกลที่สุดคือเมื่อม็องซิเยอร์ หลุยส์ วิตตอง เริ่มธุรกิจกระเป๋าเดินทางหน้าตาคล้ายหีบสัมภาระสำหรับการเดินทางด้วยรถม้าเมื่อปี 1854 ภายใต้แบรนด์ Louis Vuitton ที่เราคุ้นเคยกันดี 

แต่ถ้าจะพูดถึงการก่อร่างอาณาจักรแห่งนี้ขึ้นมาจริง ๆ ก็ต้องกระโดดไปในปี 1987 เมื่ออดีตวิศวกรโยธานามว่า Bernard Arnault เดินหน้าก่อตั้ง LVMH จากการควบรวม Louis Vuitton กับ Moët Hennessy (บริษัทที่ควบรวมระหว่าง Moët & Chandon และ Hennessy) ในปี 1987 ก่อนจะขึ้นเป็น CEO ของบริษัทในปี 1989

Bernard Arnault ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ LVMH, Source: Shutterstock

3 บิ๊กดีลของ LVMH เก็บแบรนด์หรูเข้าพอร์ต

ถึงจะมีชื่อว่า LVMH แต่ก็ไม่ได้มีแค่ 3-4 แบรนด์อยู่ในมือเท่านั้น เพราะตั้งแต่ก่อตั้ง LVMH เดินหน้ากวาดแบรนด์หรูอื่น ๆ อีกมากมายเข้ามาไว้ในมือ ถึงตรงนี้เราจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพ 3-4 ดีลที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ให้เห็นกัน

  • Tiffany & Co. ซื้อในมูลค่า 16,200 ล้านยูโร ในปี 2019
  • Christian Dior ซื้อในมูลค่า 13,100 ล้านยูโร ในปี 2017
  • Bulgari ซื้อในมูลค่า 5,200 ล้านยูโร ในปี 2011
  • Sephora ซื้อในมูลค่า 2,600 ล้านยูโร ในปี 1997

LVMH มหาอาณาจักร Luxury Goods กับ 75 แบรนด์หรูในมือ

ปัจจุบัน มหาอาณาจักรสินค้า Luxury อย่าง LVMH ครอบครองแบรนด์หรูอยู่ในมือมากกว่า 75 แบรนด์ แบ่งย่อยได้เป็น 6 ธุรกิจ คือ

รายได้ในแต่ละธุรกิจของ LVMH ปี 2022, Source: LVMH Snapshot – 2022 Figures

1. แฟชั่น & เครื่องหนัง

  • มี 14 แบรนด์ ที่มีชื่อเสียงจากประเทศต่าง ๆ ทั้ง ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน และอื่น ๆ
  • เช่น Louis Vuitton, Christian Dior, Celine, Givenchy และ Fendi เป็นต้น
  • รายได้ 38,648 ล้านยูโร (49% ของรายได้ทั้งหมดในปี 2022)

 

Source: Shutterstock

2. น้ำหอม & เครื่องสำอาง

  • มี 15 แบรนด์ ตั้งแต่แบรนด์ Designer จนถึงแบรนด์ Niche
  • เช่น Parfums Christian Dior, Acqua di Parma, Maison Francis Kurkdjian และ Guerlain เป็นต้น
  • รายได้ 7,722 ล้านยูโร (10%)

 

3. ไวน์ & สุรา

  • มี 27 แบรนด์ โดยจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ เช่น ไวน์ คอนญัค วิสกี้ และแชมเปญ
  • เช่น Hennessy, Moët & Chandon, Château d’Yquem, Krug และ Veuve Clicquot เป็นต้น
  • รายได้ 7,099 ล้านยูโร (9%)

 

4. นาฬิกา & อัญมณี

  • มี 8 แบรนด์ ในหมวดเครื่องประดับ อัญมณี และนาฬิกาหรู
  • เช่น Bulgari, Tiffany & Co., TAG Heuer และ Hublot เป็นต้น
  • รายได้ 10,581 ล้านยูโร (13%)

 

5. จัดจำหน่าย

  • มี 6 แบรนด์
  • เช่น Sephora เป็นต้น
  • รายได้ 14,852 ล้านยูโร (19%)

 

6. ธุรกิจอื่น ๆ

  • มี 5 แบรนด์ เป็นธุรกิจโรงแรมระดับไฮเอนด์ เรือยอชต์ และสวนสนุก
  • ยังไม่นับรวมกลุ่มธุรกิจสื่อ คือ Groupe Les Échos-Le Parisien ที่เป็นเจ้าของสื่อดังในฝรั่งเศส 5 เจ้า คือ Le Parisien, Les Echos, Investir, Connaissance des Arts, Radio Classique
  • รายได้ 282 ล้านยูโร (น้อยกว่า 1%)

 

สรุปธุรกิจ 75 แบรนด์ในมือ LVMH

แฟชั่น & เครื่องหนัง น้ำหอม & เครื่องสำอาง ไวน์ & สุรา นาฬิกา & อัญมณี จัดจำหน่าย อื่น ๆ
Louis Vuitton Parfums Christian Dior Hennessy Cloudy Bay Bulgari Sephora Belmond
Christian Dior Acqua di Parma Moët & Chandon Colgin Cellars Tiffany & Co. Le Bon Marché Rive Gauche Cheval Blanc
Celine Maison Francis Kurkdjian Château d’Yquem Domaine des Lambrays TAG Heuer 24S Cova
Givenchy Guerlain Krug Eminente Hublot DFS Royal Van Lent
Fendi Givenchy Parfums Veuve Clicquot Glenmorangie Chaumet La Grande Epicerie de Paris Jardin d’Acclimatation
Loewe Kenzo Parfums Dom Pérignon Joseph Phelps Fred Starboard Cruise Services Groupe Les Echos-Le Parisien
Kenzo Fresh Chandon Mercier Repossi
Marc Jacobs Loewe Perfumes Ao Yun Newton Vineyard Zenith
Emilio Pucci Benefit Cosmetics Ardbeg Ruinart
Loro Piana Cha Ling Belvedere Terrazas de los Andes
Berluti Fenty Beauty by Rihanna Bodega Numanthia Volcan de mi Tierra
Moynat KVD Beauty Château Cheval Blanc Woodinville
Patou Make Up For Ever Château Galoupet
RIMOWA Officine Universelle Buly Cheval des Andes
STELLA by Stella McCartney Clos19

สรุปธุรกิจ LVMH as of 18/7/2022, Source: LVMH

ส่องเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ของ LVMH

ในปี ๆ หนึ่ง LVMH มีรายได้เข้ามาเกือบ ๆ 80,000 ล้านยูโร (3.1 ล้านล้านบาท) รายได้ส่วนใหญ่มาจากเอเชีย (ไม่นับญี่ปุ่น) เป็นหลัก คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด ส่วนรายได้อีก 1 ใน 3 มาจากสหรัฐฯ และอีกเกือบ 1 ใน 4 มาจากยุโรป (เมื่อนับฝรั่งเศสด้วย)

รายได้แบ่งตามภูมิภาคของ LVMH ปี 2022, Source: LVMH Snapshot – 2022 Figures

เกร็ดน่าสนใจก็คือ

  • ในแทบทุกธุรกิจ รายได้หลัก ๆ จะมาจากเอเชีย
  • ในธุรกิจไวน์และสุรา รายได้มาจากสหรัฐฯ (37%) มากกว่าเอเชีย (20%)
  • ในธุรกิจแฟชั่น และ น้ำหอม/เครื่องสำอาง รายได้จากเอเชียสูงเป็นพิเศษ (เกิน 30%)

 

รายได้และกำไรจากการดำเนินงานของ LVMH ในช่วง 5 ปี, Source: LVMH Snapshot – 2022 Figures

การเงินของ LVMH ในปี 2022 แบบสั้น ๆ 

  • รายได้: 79,184 ล้านยูโร (โต 23.31% จากปีก่อน)
  • กำไรสุทธิ 14,080 ล้านยูโร (โต 17.02% จากปีก่อน) 

สรุป

LVMH เป็นธุรกิจที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในยุโรป และยังเป็นอาณาจักรสินค้า Luxury อันดับ 1 ของโลก ที่มีแบรนด์หรูในมือกว่า 75 แบรนด์ โดยแบ่งออกเป็นธุรกิจหลากหลาย เช่น แฟชั่น น้ำหอม สุรา รวมถึงธุรกิจระดับไฮเอนด์อื่น

ธุรกิจเหล่านี้เองคือเบื้องหลังความมั่งคั่งมหาศาลที่ทำให้ Bernard Arnault ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ LVMH ร่ำรวยเป็นอันดับ 2 ของโลก ด้วยความสินทรัพย์กว่า 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งถือว่าร่ำรวยกว่าคนดังคนอื่น เช่น Bill Gates, Jeff Bezos หรือ Warren Buffett โดยเป็นรองแค่ Elon Musk เท่านั้น

10 มหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลก, Source: Bloomberg Billionaires Index as of 18 July 2023

อ่านบทความ 10 คนที่รวยที่สุด บนดาวดวงนี้ เจ้าของ 8 หุ้นชั้นนำของโลก

แนะนำกองทุนยุโรป ที่มีการลงทุนใน LVMH มหาอาณาจักรแห่งสินค้า Luxury

สำหรับผู้ที่สนใจการลงทุนใน LVMH บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป FINNOMENA Investment Team แนะนำ กองทุน FINNOMENA Pick ที่คัดเลือกมาแล้ว ประกอบด้วย ONE-EUROEQ กองทุนเปิด วรรณ ยูโรเปี้ยน อิควิตี้ และ SCBEUEQA กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นยุโรป (ชนิดสะสมมูลค่า)

อ่านบทความ จัดกลุ่มกองทุนยุโรป มีเยอะแค่ไหนก็ไม่งง

ONE-EUROEQ เป็นกองทุนรวมหุ้นยุโรปที่บริหารจัดการโดย ELEVA Capital ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความชำนาญในการลงทุนในหุ้นยุโรป มีกระบวนวิเคราะห์หุ้นลักษณะ Bottom up โดยลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพการเติบโตระยะยาวและมีความสามารถในการแข่งขัน จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6 (มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นของ LVMH 2.75%)

อีกกองทุนที่แนะนำคือ SCBEUEQA เป็นกองทุนหุ้นยุโรปแบบ Passive เน้นลงทุนหุ้นยุโรปผ่าน iShares STOXX Europe 600 (DE) มีโอกาสได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนี STOXX Europe 600 จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6 (มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นของ LVMH 2.29%)

Top 10 Holdings ของกองทุนหลักของ ONE-EUROEQ (Eleva European Selection Fund) Source: Financial Times as of 17/07/2023

Top 10 Holdings ของกองทุนหลักของ SCBEUEQA (iShares STOXX Europe 600 (DE)) Source: Financial Times as of 17/07/2023

สรุปมุมมองการลงทุนในกองทุนหุ้นยุโรปโดย FINNOMENA Investment Team (30/06/2023)

ตลาดหุ้นยุโรปฟื้นตัวจากคาดการณ์ผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่น้อยกว่าคาด ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติปรับตัวลดลงเร็วอย่างมาก และทำให้เงินเฟ้อยุโรปปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 25bps จาก 3.75% ไปที่ระดับ 4.00% ในวันที่ 15 มิ.ย. 2023 และยังมีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องเพื่อคุมให้เงินเฟ้อปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับเป้าหมาย 2%

ในปีนี้ ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นจากกลุ่มสินค้าที่มีแบรนด์  สินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก จากการฟื้นตัวของการบริโภคและกระแสการเติบโตของเทคโนโลยี AI แม้ว่าหุ้นธนาคารยุโรปจะได้รับผลกระทบจากกรณี Credit Suisse แต่ด้วยการเข้ามาจัดการอย่างรวดเร็วจากธนาคารกลาง ทำให้ปัญหาไม่ได้บานปลาย

อย่างไรก็ตาม Valuation ของหุ้นยุโรปยังถูกเมื่อเทียบกับอีกหลาย ๆ ตลาด และยังถูกกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต แต่นับว่าแพงขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้ามากจากระดับ -1.5SD ขึ้นมาสู่ -0.5 SD 

FINNOMENA Investment Team ยังแนะนำ
Underweight หุ้นยุโรป จากแนวโน้มการเติบโตของตลาดหุ้นยุโรปที่เติบโตช้า

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/


อ้างอิง

คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม และประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”