Highlight ของบทความนี้ (คลิกอ่านส่วนที่สนใจได้เลย)


รู้จัก Xiaomi บริษัทสมาร์ตโฟนเบอร์ 3 ของโลก และผู้ผลิตสินค้ามากมายหลากหลายชนิด จนช่วงนึงเคยมีคนแซวว่า … 

พระเจ้าสร้างโลก ที่เหลือ Xiaomi สร้าง

ถ้าพูดถึงจุดเด่นของ Xiaomi (เสียวหมี่) คิดว่าเราน่าจะนึกถึง 2 เรื่อง นั่นคือ

  1. การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แทบทุกอย่าง ตอบโจทย์ทุกความต้องการ จนตอนนี้เป็นเจ้าของไอเท็มเกือบ 740 ล้านชิ้นทั่วโลก
  2. การเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์คุณภาพดีราคาย่อมเยา จนตอนนี้ครองตลาดสมาร์ทโฟนโลกได้ 1 ใน 8

 

แถมล่าสุด Xiaomi ก็เปิดให้จอง EV ภายใต้แบรนด์ของตัวเองแล้ว แต่ยังมีอีกหลายแง่มุมทีเดียว ที่คนนึกไม่ถึงเวลาพูดถึงชื่อ Xiaomi วันนี้เราเลยจะไปล้วงลึกธุรกิจรายนี้กันให้ถึงกึ๋น ทั้งความเป็นมา แหล่งรายได้สำคัญ รวมถึงวิชั่นต่อไปของ Xiaomi


จุดเริ่มต้นของ Xiaomi 

Xiaomi เริ่มต้นจาก Lei Jun (เหลย จุน) และดรีมทีมอีก 7 คน ที่มีดีกรีไม่ธรรมดา 

  • บางคนเป็นอดีตขุนพลระดับท็อปจากบริษัทเทคอย่าง Google และ Microsoft 
  • บางคนเป็นผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 
  • แถมหลาย ๆ คนก็เป็นบุคคลกรแนวหน้าในแวดวง IT

 

ถ้าเปรียบเป็นวงดนตรี ผู้ก่อตั้ง Xiaomi คงเป็นเหมือนร็อกสตาร์แถวหน้าของวงการ

ด้วยภูมิหลังที่ถนัดด้าน Software ผลิตภัณฑ์แรกที่ได้สร้างออกมาในปี 2010 ของ Xiaomi จึงไม่ใช่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่เป็นเฟิร์มแวร์สำหรับโทรศัพท์แอนดรอยด์ ที่เรียกว่า MIUI (Me You I) 

หลายคนได้ลองใช้ MIUI แล้วรู้สึกติดใจ แต่บางคนก็ยังเข้าไม่ถึงเพราะสมาร์ตโฟนค่ายอื่น ๆ ยังแพงเกินไป

ปี 2011 Xiaomi จึงเปิดตัวโทรศัพท์รุ่นแรกออกมา คือ Xiaomi Mi1 ภายใต้วิชั่นว่า “เรือธงไม่จำเป็นต้องแพง” ทำให้ยอดขายโทรศัพท์รุ่นแรกทะลุ 7 ล้านเครื่องจากเป้าหมายที่วางไว้ 1 แสนเครื่องเท่านั้น

ต่อมา Xiaomi ออกรุ่นใหม่แบบปีต่อปี มีการออกสินค้าใหม่ ๆ เช่น Smart TV และยังได้ขยายตลาดไปไกลถึงยุโรปในปี 2016

จนในปี 2018 Xiaomi ก็เข้า IPO ในตลาดหุ้นฮ่องกงได้สำเร็จ ถือเป็นหนึ่งในการ IPO ที่ใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ Alibaba เข้า IPO ในตลาดนิวยอร์กในปี 2014 เลยทีเดียว


ธุรกิจของ Xiaomi

ปัจจุบัน Xiaomi ได้ขยายตลาดออกไปทั่วโลกแล้ว ผ่านการทำธุรกิจ 3 อย่าง คือ

  1. สมาร์ทโฟน (คิดเป็น 60% ของรายได้ทั้งหมด)
    โดย Xiaomi ครองตลาดโลกได้ 12.8% เป็นรองแค่ Apple และ Samsung
  2. สินค้า AIoT หรือสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (คิดเป็น 30% ของรายได้ทั้งหมด)
    ตัวอย่างสินค้าในหมวดนี้ เช่น Smart Watch, Smart TV, ลำโพงอัจฉริยะ, กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ หรือ เครื่องซักผ้าอัจฉริยะ
  3. Internet Services (คิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมด)
    ธุรกิจนี้คนอาจจะรู้จักน้อยที่สุด แต่ก็มี Product หลายอย่างที่ใกล้ตัว เช่น บริการสตรีมเพลง, เกม, คลาวด์, MIUI, แอป Mi Store ไปจนถึงโฆษณา โดยพ่วงไปกับฮาร์ดแวร์ที่ Xiaomi ขาย

 


วิเคราะห์รายได้ของ Xiaomi

ดูเผิน ๆ ในแง่รายได้แล้ว เราอาจคิดไปว่าธุรกิจ สมาร์ตโฟน และ AIoT คือธุรกิจสำคัญของ Xiaomi แต่ถ้าวัดกันจริง ๆ ที่ ‘กำไร’ จะเห็นว่า Internet Services นี่แหละคืออาวุธลับของ Xiaomi 


ธุรกิจ รายได้ (ล้านหยวน) กำไรขั้นต้น (ล้านหยวน) อัตรากำไรขั้นต้น (GPM)
Internet Services 30,000 22,000 74%
Smart Phone 160,000 23,000 15%
AIoT 80,000 13,000 16%

ข้อสังเกตคือ

  • Internet Services สร้างรายได้ได้แค่ 30,000 ล้านหยวนก็จริง แต่พอหักสิ่งต่าง ๆ ก็ยังเหลือกำไรขั้นต้น ถึง 22,000 ล้านหยวน
  • ขณะที่รายได้จาก Smart Phone อยู่ที่ 160,000 ล้านหยวน แต่มีกำไรขั้นต้นแค่ 23,000 หมื่นล้านหยวน (ซึ่งพอ ๆ กับ Services เลย)

 

จะเห็นว่า Services มีความสำคัญมาก ถึงขั้นที่สื่อหลายเจ้าวิเคราะห์ว่าสาเหตุที่ Xiaomi ขายของได้ถูก …

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ Xiaomi มีธุรกิจ Services ช่วยอยู่นั่นเอง


Xiaomi กับธุรกิจ EV

ปีที่ผ่านมา กำไรของ Xiaomi โตได้เกินเท่าตัว ความน่าสนใจคือ กำไรของ Xiaomi โตได้แรง แม้มีการใช้เงินลงทุนไปเกือบ 7,000 ล้านหยวน และหนึ่งในโปรเจ็กต์สำคัญที่ลงทุนไป คือ การผลิต EV 

เรื่องราวการผลิต EV ถือเป็นหนึ่งในเรื่องน่าทึ่งของ Xiaomi เหมือนกัน เพราะเกิดขึ้นได้จริงในเวลาไม่นาน

  • ย้อนกลับไปต้นปี 2021 Xiaomi ประกาศว่าจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมาให้ได้ในปี 2023 
  • ในเวลานั้นนี่คือเรื่องฮือฮามาก เพราะแม้คนจะแซวว่า Xiaomi จะผลิตได้ตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ แต่มีน้อยคนที่คาดว่า Xiaomi กระโดดไปเล่นในอุตสาหกรรมยานยนต์แบบนี้

 

ผ่านไปแค่ครึ่งปี Xiaomi ก็จดทะเบียนบริษัทลูกในชื่อ Xiaomi EV สำหรับทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ ถือเป็นการส่งสัญญาณจริงจังของ Xiaomi 

พอถึงปลายปี 2023 Xiaomi ก็ประกาศเปิดตัว EV ของตัวเองในชื่อ ก่อนจะเปิดให้จับจองในช่วงต้นปี 2024 ในราคาและสเป็กที่เรียกได้ว่าออกมาเพื่อชน Tesla Model 3 อย่างจริงจัง คือสเป็กเหนือกว่า Model 3 บางด้านในราคาเพียง 1.1 ล้านบาท

นี่คือก้าวสำคัญมาก ๆ ของ Xiaomi ที่ช่วยเติมเต็ม Vision ในการสร้าง Ecosystem คน-รถ-บ้าน

สรุปแล้ว Xiaomi เป็นธุรกิจที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะเป็นผู้ผลิตสมาร์ตโฟนอันดับ 3 ของโลก เป็นรองแค่ Apple และ Samsung และยังเป็นเจ้าของ Ecosystem ที่ครอบคลุมชีวิตตั้งแต่ตื่นยันนอน ผ่านอุปกรณ์อัจฉริยะที่เชื่อมโยงกันผ่านระบบ AIoT ไม่ว่าจะเป็น Smart Watch โทรศัพท์ เครื่องใช้ไฟฟ้าสมาร์ตโฮม ไปจนถึงรถยนต์ไฟฟ้า


แนะนำกองทุน ที่มีการลงทุนใน Xiaomi

สำหรับผู้ที่สนใจการลงทุนใน Xiaomi อีกหนึ่งบริษัทจีนที่น่าจับตา Finnomena ขอแนะนำกองทุน MEGA10CHINA-A สำหรับการลงทุนในจีน โดยกองทุนนี้มีหุ้น Xiaomi อยู่ในพอร์ตการลงทุนด้วย

Source: Fund Fact Sheet as of 28/3/2024

MEGA10CHINA-A เป็นกองทุนรวมหุ้นจีน ที่ลงทุนใน 10 บริษัททรงอิทธิพลในจีน ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง โดยจะต้องเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดขนาดใหญ่ มีสภาพคล่องสูง และเน้นความเป็นผู้นำในด้านตราสินค้า (Brand Value) จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6 และเป็นกองทุนที่ Finnomena คัดเลือกสำหรับการลงทุนในจีน

👇 รู้จัก MEGA10CHINA-A ให้มากขึ้น คลิกที่รูปได้เลย! 👇

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/


อ้างอิง

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

TSF2024