บนพื้นที่เพียงครึ่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ณ ตำแหน่งแห่งหนที่แม่น้ำฮัดสันไหลมาบรรจบกับมหาสมุทรแอตแลนติก คือที่ตั้งของมหานครที่ได้ชื่อว่าไม่มีวันหลับใหล จากความคึกคักยามพลบค่ำของ “จตุรัสไทม์สแควร์” ข้ามวันสู่ชีวิตชีวายามเช้าตรู่ของ “เซ็นทรัลพาร์ค” ที่โอบล้อมด้วยตึกสูงตระการตา ไปจนถึงพลังงานอันล้นเหลือจากช่วงสายจรดเย็นของผู้คนใน “มิดทาวน์” ศูนย์กลางธุรกิจอันเป็นที่ตั้งของตึกระฟ้าเอ็มไพร์สเตท

มหานครนิวยอร์กแห่งนี้ ยังเป็นเมืองที่มีพลังเปี่ยมล้นเพราะบนพื้นที่เทียบเท่า 1 ใน 8 ของมหานครเซี่ยงไฮ้ กลับเป็นที่ตั้งของตลาดทุนที่สำคัญทั้ง ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก และ NASDAQ ซึ่งบริษัทเจ้าของนวัตกรรมพลิกโลกมากมายที่มีมูลค่ารวมกันแทบประเมินไม่ได้ ต่างก็จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เหล่านี้ทั้งสิ้น

ถามว่าตลาดหลักทรัพย์เหล่านี้ใหญ่แค่ไหน ถ้าจะพูดให้เห็นภาพง่าย ๆ ต้องบอกว่าในตลาดนี้มีหุ้นอยู่ถึง 8 ตัวที่ลำพังแค่บริษัทเดียว ก็มีขนาดใหญ่กว่าตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยทั้งตลาด

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET ประกอบด้วย 616 บริษัท โดยมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) รวมกันสูงถึง 18.83 ล้านล้านบาทเข้าไปแล้ว อ้างอิงข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2566

ทว่า บริษัททั้ง 8 ที่เรากำลังจะพูดถึงมีขนาดใหญ่กว่านั้น

มัดรวมทั้งตลาดไทย ก็ไม่เท่าหุ้นเหล่านี้ตัวเดียว

1. Apple (ใหญ่เป็น 5 เท่าของ SET)

Apple มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 93.28 ล้านล้านบาท ถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกในปัจจุบัน โดยมีธุรกิจที่เรารู้จักกันดีคือ iPhone ซึ่งหลายคนกำลังใช้อ่านคอนเทนต์นี้ โดยธุรกิจนี้ธุรกิจเดียวเป็นแหล่งรายได้มากกว่า 50% ให้กับบริษัท

แต่ Apple ยังมีรายได้จากธุรกิจอื่น เช่น MacBook, iPad และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ซึ่งถูกจัดเป็นแหล่งรายได้จากคนละธุรกิจกัน แต่ธุรกิจที่ทำรายได้มากเป็นอันดับ 2 ให้กับ Apple ก็คือ การบริการ เช่น โฆษณา, บริการคลาวด์, App Store, AppleCare, Apple Pay และดิจิทัลคอนเทนต์ เป็นต้น

2. Microsoft (ใหญ่เป็น 4 เท่าของ SET)

Microsoft มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 81.04 ล้านล้านบาท ถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกอันดับ 2 ธุรกิจที่เราคุ้นเคยคือระบบปฏิบัติ Microsoft Windows ไปจนถึงซอฟต์แวร์ Microsoft Office 

แต่หากเจาะลึกมากขึ้น Microsoft ยังมีธุรกิจสาย Productivity & Business เช่น Office 365 และ Microsoft Teams สาย Cloud อย่าง Microsoft Azure และสาย More Personal Computing ซึ่งเกี่ยวกับลูกค้าทั่วไปมากขึ้น ทั้งฮาร์ดแวร์อย่างแล็ปท็อป Microsoft Surface และเครื่องเล่น Xbox ไปจนถึงเครื่องมือค้นหา Microsoft Bing, เบราว์เซอร์ Microsoft Edge และเกมในเครือ Xbox

3. Alphabet เจ้าของ Google (ใหญ่เป็น 3 เท่าของ SET)

Alphabet มีมูลค่าตลาด 53.94 ล้านล้านบาท ถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกอันดับ 4 ธุรกิจที่เราคุ้นเคยกันดีคือ Google บริการค้นหาข้อมูลที่เรามักจะเห็นเป็นหน้าแรกเวลาเข้าอินเทอร์เน็ต

อย่างไรก็ตาม Google ยังมีธุรกิจอื่นนอกจาก Search Engine เช่น โฆษณา, ระบบปฏิบัติการ Android, เบราว์เซอร์ Google Chrome, Google Maps, Youtube, ธุรกิจคลาวด์ ไปจนถึงฮาร์ดแวร์อย่างโทรศัพท์ในตระกูล Google Pixel 

นอกจากนี้ Google ยังมีหมวดธุรกิจที่เรียกเท่ ๆ ว่า Other Bets หรือการลงทุนเพื่อเดิมพันเพื่อยุคสมัยใหม่ เช่น Waymo เทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ, Calico ธุรกิจสาย Biotech ไปจนถึง Google Ventures ธุรกิจเงินร่วมทุน หรือ Venture Capital

4. Amazon (ใหญ่เป็น 2 เท่าของ SET)

Amazon มูลค่าตลาด 38.76 ล้านล้านบาท ธุรกิจที่เราคุ้นเคยกันดีคือแพลตฟอร์ม Amazon.com และเครื่องอ่านอีบุ๊ค Kindle แต่ก็ยังมีธุรกิจอื่น ๆ เช่น ธุรกิจคลังสินค้า, ธุรกิจขนส่ง, ธุรกิจค้าปลีกทั้งออฟไลน์ (ผ่านหน้าร้านของตัวเอง) และออนไลน์, สตรีมมิง Amazon Prime ไปจนถึง Amazon Web Service (AWS)

5. NVIDIA (ใหญ่เป็น 1.4 เท่าของ SET)

NVIDIA มีมูลค่าตลาด 26.21 ล้านล้านบาท เป็นผู้ผลิต GPU โดยมีธุรกิจหลักคือการ์ดจอสำหรับลูกค้าสายเกมที่สร้างรายได้ให้บริษัทได้เกือบ 50% อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีช่องรายได้อื่น เช่น การขายชิป GPU ให้ Data Center ลูกค้ากลุ่มนักออกแบบกราฟิก ลูกค้ากลุ่มยานยนต์ และการรับทำชิป OEM ให้ระบบอื่น ๆ

6. Berkshire Hathaway (ใหญ่เป็น 1.3 เท่าของ SET)

Berkshire Hathaway มีมูลค่าตลาด 24.44 ล้านล้านบาท เป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ลงทุนผ่านการถือหุ้นในบริษัทอื่น ๆ หลายประเภทของปรมาจารย์ด้านการลงทุนแบบเน้นคุณค่าอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ โดยล่าสุดได้ถือหุ้นของ Apple เอาไว้ถึง 46.4% ของพอร์ตการลงทุนทั้งหมด ตามมาด้วย Bank of America 9.1%, American Express 7.7% และ Coca-Cola 7.6%

7. Meta (ใหญ่เป็น 1.2 เท่าของ SET)

Meta มีมูลค่าตลาด 21.87 ล้านล้านบาท ธุรกิจหลักของ Meta Platform คือ Facebook ที่มีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการโฆษณา แต่ที่จริงแล้ว Meta แบ่งธุรกิจของตัวเองออกเป็น 2 ส่วน คือ Family of Apps และ Reality Labs โดยฝั่ง Family of Apps หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ จะประกอบด้วย Facebook, Instagram, Messenger, WhatsApp และอื่น ๆ โดยธุรกิจในฝั่งนี้จะเป็นรายได้หลัก ๆ ของ Meta ในขณะที่ Reality Labs จะเป็นธุรกิจแห่งอนาคตที่ลงทุนใน VR และ AR ทั้งในด้านแพลตฟอร์ม (Horizon Worlds) ฮาร์ดแวร์ และคอนเทนต์

8. Tesla (ใหญ่เป็น 1.1 เท่าของ SET)

Tesla มีมูลค่าตลาด 20.36 ล้านล้านบาท เป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าล้วนเบอร์ 1 ของโลกในปัจจุบัน ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2566 บริษัทยานยนต์ไฟฟ้าภายใต้การนำของ Elon Musk สามารถส่งมอบรถได้กว่า 422,875 คัน แบ่งเป็นรุ่นราคาย่อมเยา คือ Model 3 และ Model Y รวมกัน 412,180 คัน (เติบโต 39% จากปีก่อน) และรุ่นราคาสูงขึ้นมา คือ 10,695 คัน (ลดลง 27% จากปีก่อน)

มีเพียงบริษัทเดียวเท่านั้นที่ใหญ่กว่าตลาดหุ้นไทยแต่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ นั่นก็คือ Saudi Aramco บริษัทน้ำมันที่รัฐบาลซาอุดีอาราเบียเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยมีมูลค่ามากเป็นอันดับ 3 ของโลกด้วยมูลค่าตลาดกว่า 2 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้ยังมี TSMC เบอร์หนึ่งในตลาดเซมิคอนดักเตอร์จากไต้หวัน ที่มีมูลค่าเกือบเท่า SET ทั้งตลาด

สรุปทุกอย่างในภาพเดียว

โอกาสลงทุนใน 10 บริษัท ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก

บ่อยครั้งที่บริษัทขนาดยักษ์มาพร้อมกับ “แบรนด์” ที่ยากจะทำลายลง ถามว่าทำไมแฟน ๆ Apple ถึงต้องเบียดคิวกันซื้อ iPhone ทุกครั้งที่ออกรุ่นใหม่ในราคาเปิดตัวที่สูงขึ้น ถามว่าทำไม Tesla ถึงเป็นชื่อแรกที่คนนึกถึง (และอยากครอบครอง) เมื่อนึกถึงรถยนต์ไฟฟ้า คำตอบของเรื่องนี้อยู่ที่คำว่าแบรนด์ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ ในเวลาชั่วพริบตา แต่เป็นสิ่งที่สั่งสมมานับแต่การก่อร่างสร้างตัว ที่สำคัญคือแบรนด์เปรียบได้กับปราการอันยิ่งใหญ่ที่ป้องกันไม่ให้คู่แข่งย่องเข้ามาในปราสาทและหยิบฉวยส่วนแบ่งการตลาดออกไปได้ง่าย ๆ ถ้าถามว่าลงทุนในบริษัทใหญ่มีความได้เปรียบยังไง คำตอบน่าจะเป็นเรื่องนี้

สำหรับใครที่สนใจลงทุนไปกับสุดยอดบริษัทยักษ์ใหญ่ที่โอบล้อมไปด้วยปราการสุดแกร่ง สามารถลงทุนได้ผ่านกองทุน MEGA10-A* กองทุนรวมที่ลงทุนในสุดยอดหุ้นอเมริกาที่จดทะเบียนซื้อขายใน NYSE / NASDAQ  โดยจะคัดเลือกหุ้นที่มีแบรนด์แข็งแกร่งและมี market cap หรือความใหญ่ของหุ้นเป็นอันดับต้น ๆ และที่มีสภาพคล่องสูงสุด10 บริษัทแรก

*ข้อมูลบริษัทอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต และการลงทุนของกองทุน MEGA10-A มิได้ลงทุนใน 10 บริษัทข้างต้นนี้เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทใดใน NYSE / NASDAQ จะเข้าเงื่อนไขตรงกับนโยบายของกองทุน

MEGA10 กองทุนที่ลงทุนในหุ้นของ 10 บริษัทแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ลงทุนเริ่มต้นเพียง 1,000 บาท
👉 ลงทุนในกองทุน MEGA10 คลิก >>> https://finno.me/mega10-fund

อ้างอิง

https://www.tradingview.com/markets/stocks-usa/market-movers-large-cap/
https://s2.q4cdn.com/470004039/files/doc_financials/2022/q4/_10-K-2022-(As-Filed).pdf
https://abc.xyz/investor/other/additional-financial-information/
https://www.annualreports.com/HostedData/AnnualReports/PDF/NASDAQ_AMZN_2022.pdf
https://d18rn0p25nwr6d.cloudfront.net/CIK-0001326801/5fb5d0ea-c2c7-46f0-a26a-656df1673fac.pdf
https://cleantechnica.com/2023/04/10/teslas-q1-2023-delivery-numbers-are-not-great-under-the-surface/
https://www.nvidia.com/en-us/location-selector/
https://www.investing.com/pro/ideas/warren-buffett

หมายเหตุ: อ้างอิงมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดและอัตราแลกเปลี่ยนที่ 1 เหรียญสหรัฐฯ = 34.574 บาท ณ วันที่ 24 พษภาคม 2566


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

TSF2024