กลยุทธ์การเข้าลงทุนที่เรานิยมกันนั้น จะมีอยู่ 2 สไตล์หลักๆ นั่นคือ
- วิธีจับจังหวะลงทุนแบบ Market Timing
- วิธีการทยอยลงทุนถัวเฉลี่ยต้นทุนแบบ DCA
แต่คำถามที่อยู่ในใจของหลายคนก็คือควรจะเลือกกลยุทธ์แบบไหนถึงดี เพื่อให้เหมาะกับตัวเองมากที่สุด วันนี้เราสรุปมาแล้วแบบง่าย ๆ
Market Timing และ DCA คืออะไร ?
Market Timing คือ กลยุทธ์การลงทุนด้วยการประเมินทิศทางตลาด โดยใช้เครื่องมือทางเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจประกอบกัน เพื่อหาจังหวะเข้าซื้อขาย โดยมุ่งหมายที่จะซื้อในจุดที่ราคาต่ำสุด และขายในจุดที่ราคาสูงสุด
DCA (Dollar-cost Averaging) คือ การทยอยลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน โดยซื้อหลักทรัพย์ในจำนวนเงินที่เท่า ๆ กันทุกงวด แบบไม่ต้องสนใจราคา เช่น ตั้งใจว่าจะซื้อหุ้น A จำนวน 5,000 บาท ทุกวันที่ 5 ของเดือน เป็นระยะเวลา 5 ปี
Market Timing และ DCA เหมาะกับใคร ?
Market Timing เหมาะกับใคร
- วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจได้แม่นยำ
- มีความรู้เรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิค
- มีเงินก้อน และกำลังรอคอยเวลาลงทุนที่เหมาะสม
DCA เหมาะกับใคร
- ไม่มีเวลาในการติดตามข้อมูล
- มีเงินเริ่มต้นลงทุนไม่มาก
- ต้องการสร้างวินัยในการลงทุน
กรณีศึกษาการลงทุนแบบ DCA
ตัวอย่างเช่น ลงทุนในหุ้น XYZ ด้วยเงินจำนวน 60,000 บาท โดยการ DCA เดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 12 เดือน
เมื่อครบ 12 เดือน หากขายหุ้น XYZ เราจะได้รับผลตอบแทน 10.53% หรือ 6,318 บาท
กรณีศึกษาการลงทุนแบบ Market Timing
ตัวอย่างเช่น ลงทุนในหุ้น XYZ ด้วยเงินจำนวน 60,000 บาท โดยวิธีการ Market Timing
เหตุการณ์แรก หากจับจังหวะถูกต้อง เข้าซื้อในเดือน เม.ย. ที่ราคาหุ้นอยู่ในจุดต่ำสุด
เมื่อถึงสิ้นปี หากขายหุ้น XYZ จะได้รับผลตอบแทน 31.25% หรือ 18,570 บาท
เหตุการณ์สอง หากจับจังหวะผิดพลาด เข้าซื้อในเดือนพ.ย. ที่ราคาหุ้นอยู่ในจุดสูงสุด
เมื่อถึงสิ้นปี หากขายหุ้น XYZ จะขาดทุน 4.55% หรือ -2,733 บาท
บทสรุป
- การลงทุนแบบ Market Timing มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูง หากสามารถจับจังหวะลงทุนได้แม่นยำ แต่ก็มีโอกาสที่จะขาดทุนได้เช่นกันหากเข้าลงทุนผิดพลาด
- การลงทุนแบบ DCA ได้ผลตอบแทนน้อยกว่า แต่มีข้อดีตรงที่ถัวเฉลี่ยความเสี่ยง ถึงแม้จะไม่ได้กำไรสูงสุด แต่ก็ไม่ขาดทุนแบบกู่ไม่กลับ
- ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวในการลงทุน มีเพียงวิธีการที่เหมาะสมกับตัวเองเท่านั้น
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/market-timing-vs-dca/