ล้านแรกต้องเก็บยังไง? อยากมั่งคั่งต้องทำยังไง?
หรือพื้นฐานไปกว่านั้น อยากจัดการเงินให้ถูกวิธี เพื่อชีวิตที่ดี ควรทำอย่างไร?
เรื่องเหล่านี้น่าจะเป็นคำถามที่มือใหม่เรื่องการเงินอยากได้คำตอบ
ลองมาดูกันว่า สำหรับคนที่มีความฝัน สำหรับใครที่มีเป้าหมายในชีวิต ไม่ว่าฝันนั้นจะเป็นกองเงินล้าน บ้านหลังสวย หรือทริปเที่ยวรอบโลก เราจะเนรมิตสิ่งเหล่านี้ให้เป็นจริงได้อย่างไรผ่านพื้นฐานเรื่องเงินที่ดีและแผนทางการเงินที่จับต้องได้
วันนี้เราจะมาสรุปบทเรียนวิชาการเงิน 101 จากงานสัมมนา “ล้านแรกไม่ยาก ถ้าฐานแข็งแรง” ภายใต้โครงการ ลงทุนYoung By FINNOMENA ซึ่งเป็นงานสัมมนาดี ๆ ที่เพิ่งจัดไปที่ C asean Samyan CO-OP สามย่านมิตรทาวน์ให้กับเหล่านักเรียน-นักศึกษา และมนุษย์เงินเดือนที่สนใจเรื่องการวางแผนการเงิน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถคิดต่อยอด และวางแผนการเงินที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ตัวเองได้
Personal Finance 101: วางแผนการเงินยังไงดี
สิ่งแรกที่ถูกหยิบยกมาเล่าในงานครั้งนี้คือ ความมั่งคั่ง (Wealth) หรือนิยามง่าย ๆ ก็คือ นำทรัพย์สินทั้งหมดลบด้วยหนี้สิน ออกมาเป็นความมั่งคั่งสุทธิ แต่สำหรับนักเรียน-นักศึกษา หรือคนที่เริ่มทำงาน ความมั่งคั่งอาจจะยังดูไกลตัว
เราจึงต้องมาโฟกัสสิ่งที่ใกล้ตัวเข้ามาอย่าง รายได้ และ รายจ่าย และสิ่งที่มาช่วยให้เข้าใจสถานภาพทางการเงินของเรา ณ ปัจจุบัน คือ
อัตราส่วนความอยู่รอด (Survival Rate) = รายได้ ÷ รายจ่าย
ตัวเลขนี้ยิ่งมากก็ยิ่งดี
เป้าหมายแรกที่ควรสนใจมากที่สุด คือ การทำอย่างไรก็ได้ให้อัตราส่วนนี้มากกว่า 1 หรือพูดให้ง่ายกว่านั้นคือ ทำยังไงก็ได้ให้รายได้มากกว่ารายจ่าย แล้วจึงไปต่อกันที่การวางเป้าหมายและวางแผนทางการเงิน
ทีนี้เราลองมาดูภาพรวมของการวางแผนการเงิน 5 ขั้นตอน
- กำหนดเป้าหมาย
- คิดว่าเป้าหมายนั้นใช้เงินเท่าไหร่
- จัดการเงิน
- เพิ่มรายได้ ด้วยการลงทุน
- ลดรายจ่าย ด้วยการวางแผนภาษี
1. กำหนดเป้าหมาย
ก้าวแรกของการวางแผนการเงินคือการคิดว่าเป้าหมายของเราคืออะไร ถึงตรงนี้เรายังไม่ต้องคิดอะไรให้ปวดหัวมากมาย แค่ลองระบุให้ได้ว่า
อะไรบ้างที่เราอยากได้ในชีวิต?
ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋า นาฬิกา บ้าน รถ แต่งงาน เงินล้าน เที่ยวรอบโลก ใช้ชีวิตต่างแดน อยากได้อะไรก็ลองลิสต์ออกมาก่อน สิ่งที่แต่ละคนอยากได้ย่อมแตกต่างไปตามไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ไม่มีถูก ไม่มีผิด
สำคัญคือเราควรจะแบ่งให้ได้ว่า แต่ละอย่างที่เรานึกมาเป็นเป้าหมายระยะสั้น กลาง หรือ ยาว
ตรงนี้สำคัญต่อการวางแผนการเงิน เพราะไม่ทำให้ฝันเราดูไกลเกินเอื้อม (เพราะเมื่อรวมมูลค่าของทุกอย่างออกมา เราก็คงจะตกใจไม่น้อย) ถ้าจัดลำดับได้ว่าชิ้นไหนมาก่อน ชิ้นไหนมาหลัง ชิ้นไหนขาดไม่ได้ต้องมีทันที แผนการเงินเราก็จะดูเป็นไปได้มากขึ้น
จะเห็นได้ว่า
สิ่งที่อยากได้ในอนาคต = เป้าหมายทางการเงินของเรา
และในขั้นตอนต่อไป เราจะเห็นภาพมากขึ้นว่าในแต่ละช่วงเวลาเราต้องใช้เงินเท่าไหร่
2. คิดว่าเป้าหมายนั้นใช้เงินเท่าไหร่
การเปลี่ยนเป้าหมายในชีวิตให้เป็นเป้าหมายทางการเงิน สามารถทำได้ด้วย 3 คำถาม คือ
อยากได้อะไร? ราคากี่บาท? ตอนอายุเท่าไหร่?
เมื่อครู่เราได้ลองตอบคำถามแรกกันไปแล้วว่า มีอะไรบ้างที่เราอยากได้
ทีนี้เราลองมาคิดต่อว่า สิ่งที่อยากได้ราคากี่บาท? และเราอยากได้มันตอนไหน?
เช่น
- อยากซื้อรถยนต์ ราคา 7 แสนบาท ตอนอายุ 25
- อยากเที่ยวทั่วยุโรป ในงบ 2 แสนบาท ตอนอายุ 28
- อยากมีเงินล้าน ตอนอายุ 28
- อยากแต่งงาน ในงบ 3 แสน ตอนอายุ 30
สิ่งสำคัญคือ เราต้องตอบให้ได้ว่าข้าวของแต่ละชิ้นเราจะต้องแบ่งจ่ายตอนไหนบ้างของชีวิต เช่น การซื้อบ้านหรือคอนโด ก็จะมีการวางดาวน์ก้อนใหญ่ก่อนแล้วก็มีการผ่อนต่อในระยะเวลาหนึ่ง
ถึงตรงนี้เราก็จะเห็นภาพว่าความต้องการของเรามีอะไรบ้าง มีราคาเท่าไหร่ เป็นเป้าหมายระยะสั้น กลาง หรือยาว และยังพอเห็นภาพอีกด้วยว่า เราต้องจ่ายเงินสำหรับของแต่ละอย่างตอนไหนบ้าง
เพื่อแบ่งรายได้ในแต่ละเดือนไปสู่แต่ละเป้าหมายที่เราวางเอาไว้ ในขั้นตอนนี้ มี 3 เรื่องที่ต้องทำ คือ
3. จัดการเงิน
สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มแบ่งกองเงินอย่างไร งานสัมมนาครั้งนี้ก็หยิบเอา 2 สูตรจัดการเงินง่าย ๆ มาให้เราได้เอากลับบ้านไปลองใช้กัน คือ
- พีระมิดการเงิน (Financial Pyramid)
- โหล 6 ใบ (6 Jars)
ทั้งนี้ สามารถปรับแต่งสัดส่วนการเก็บออมเองได้ตามความจำเป็นและไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน และยังมีสูตรการบริหารเงินอื่น ๆ ที่อาจเหมาะสมกับชีวิตในแบบที่แตกต่างกันไป
สูตรที่ 1: พีระมิดการเงิน
พีระมิดการเงิน เป็นสูตรที่ช่วยกระจายเป้าหมายทางการเงินต่าง ๆ ที่เราวางเอาไว้แล้วก่อนหน้านี้ออกเป็น
กอง ๆ ตามความสำคัญ ทำให้เรารู้ว่าควรเน้นเก็บเงินก้อนไหนก่อน ก้อนไหนหลัง
วิธีนี้แบ่งเงินออกเป็น 3 กองใหญ่ ในแต่ละกองก็จะมี 2 กองย่อย
สิ่งสำคัญคือการทำฐานของพีระมิด (เงินก้อนที่เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน) ให้แน่นเสียก่อน แล้วจึงต่อเติมส่วนที่อยู่ข้างบนทีละเล็กทีละน้อย
ส่วนวิธีการต่อเติมเงินแต่ละกองนั้น เราอาจใช้สูตร “โหล 6 ใบ” จัดสรรเงินที่ได้แต่ละเดือนมาเติมเป้าหมายแต่ละกองไปเรื่อย ๆ ให้เต็ม
สูตรที่ 2: โหล 6 ใบ
โหล 6 ใบ เป็นตัวอย่างการแบ่งใช้เงินที่ได้มาในแต่ละเดือนออกเป็น 6 ส่วน เพื่อการออมที่เป็นระบบ และตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงินที่กระจายไว้
แต่ก็ต้องย้ำกันอีกทีว่า เราสามารถปรับสัดส่วนได้ตามความจำเป็นและไลฟ์สไตล์ และยังมีสูตรการบริหารเงินอื่น ๆ ที่อาจเหมาะสมกับชีวิตในแบบที่แตกต่างกันไป
4. เพิ่มรายได้ ด้วยการลงทุน
การลงทุนอาจฟังดูยากสำหรับมือใหม่ แต่เรามี 2 คอนเซ็ปต์ที่นักลงทุนหน้าใหม่ (และหน้าเก่า) ควรรู้จัก เพราะนี่คือเครื่องมือง่าย ๆ ที่จะช่วยให้การลงทุนออกดอกออกผลไปเติมเต็มเป้าหมายทางการเงินของเราได้
5. ลดรายจ่าย ด้วยการวางแผนภาษี
เมื่อ 200 ปีที่ผ่านมา รัฐบุรุษชาวอเมริกันอย่างเบนจามิน แฟรงคลิน เคยกล่าวเอาไว้ว่า “ไม่มีสิ่งใดในชีวิตจะแน่นอนไปกว่าความตายและภาษี”
และคนทำงานเองก็มีภาษีอย่างหนึ่งที่ควรรู้จัก นั่นก็คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นภาษีที่เก็บจากผู้ที่มีรายได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ โดยมีอัตราภาษีเป็นลำดับขั้นบันได คือ ยิ่งมีรายได้มาก ก็ยิ่งเสียภาษีมาก
แล้ว รายได้ต่อปีเท่าไหนต้องเสียภาษีเท่าไหร่ สามารถลองดูได้ในกราฟิกเลย
ในการวางแผนทางการเงิน นอกจากการเพิ่มรายได้แล้ว การลดรายจ่ายก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการไปถึงเป้าหมายทางการเงิน และการลดหย่อนภาษีก็เป็นหนึ่งในวิธีลดรายได้ที่เราทำได้
ทั้งนี้ เราสามารถลดหย่อนภาษีเงินได้เพิ่มเติม ผ่านรายการลดหย่อนภาษีเงินได้ในหมวดต่าง ๆ ที่ยกมาเป็นตัวอย่าง* เช่น
*เป็นเพียงตัวอย่างรายการลดหย่อนบางประการ ต้องศึกษาหลักเกณฑ์ให้ครบถ้วน และติดตามหลักเกณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกปี เพื่อวางแผนลดหย่อนภาษีได้อย่างเหมาะสม
สรุป 5 ขั้นตอนการวางแผนการเงิน
ทั้งหมดนี้ คือสรุปไฮไลต์จากงานสัมมนา “ล้านแรกไม่ยาก ถ้าฐานแข็งแรง” ภายใต้โครงการ ลงทุนYoung By FINNOMENA งานสัมมนาดี ๆ ที่ FINNOMENA จัดทำขึ้นมา เพื่อสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมเห็นความสำคัญของการวางแผนการเงินการลงทุน โดยโครงการนี้คาดหวังในการส่งมอบความรู้การเงินการลงทุนพื้นฐานที่มีความถูกต้อง
หากสนใจเข้าร่วมสัมมนานี้ในครั้งถัด ๆ ไป สามารถติดตามอัปเดตได้ที่เพจ FINNOMENA ได้เลย
และถ้าใครสนใจเริ่มต้นลงทุนในกองทุนรวม หรือสร้างแผนการลงทุนของตัวเอง สามารถดาวน์โหลดแอปฯ FINNOMENA เพื่อเปิดบัญชีลงทุนกองทุนรวม จากทุก บลจ. ในประเทศไทย ดาวน์โหลดแอปฯ FINNOMENA ได้เลยที่ https://finno.me/contentfs-ws
อ้างอิง