วิธีคำนวณเงินคืนประกันสังคม ม.33 พนักงานประจำต้องอ่าน!
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าประกันสังคมที่จ่ายไป 750 บาท จะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
- 225 บาท (ไม่ได้คืน) ดูแลเรื่องเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสียชีวิต
- 75 บาท (ไม่ได้คืน) ใช้ประกันการว่างงาน
- 450 บาท เก็บเป็นเงินออม จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี
ดังนั้นแล้ว เงินที่เราจะได้คืนมีแค่ส่วนเดียวคือ ส่วน 450 บาท นั้นเอง โดยเงินที่ได้คืนจะมาในรูปแบบของบำเหน็จหรือบำนาญ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ไม่สามารถเลือกว่าจะรับแบบไหนด้วยตัวเองได้ แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข
เงื่อนไขการรับบำเหน็จ
- ต้องจ่ายประกันสังคมไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับ เงินส่วนของเราที่จ่ายไปทั้งหมดคืน
- จ่ายประกันสังคม 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับ เงินส่วนของเรา+เงินส่วนของนายจ้าง
ตัวอย่าง
จ่ายประกันสังคมทั้งหมด 11 เดือนแล้วลาออก พออายุครบ 55 ปีจะได้เงินคืน ดังนี้
450 x 11 เดือน = 4,950 บาท
เงื่อนไขการรับบำนาญ
- จ่ายประกันสังคม 180 เดือน จะคำนวณโดย ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x 20% ซึ่งฐานเงินเดือนสูงสุดคือ 15,000 บาท เท่ากับ 3,000 บาท/เดือน
- จ่ายประกันสังคม 180 เดือนขึ้นไป จะคำนวณโดย ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x 20% + โบนัสเพิ่มปีละ 1.5%
ตัวอย่าง
จ่ายประกันสังคม 240 เดือน จะได้รับเงินคืน ดังนี้
1. 15,000 x 20% = 3,000 บาท
2. โบนัส (240-180)/12 x 1.5% x 15,000 บาท = 1,125 บาทรวมทั้งหมด 3,000 + 1,125 = 4,125 บาท/เดือน
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/photo/?fbid=779493304347576&set=a.539585708338338