ซื้อกองทุน Thai ESG ดีไหม ใครบ้างที่เหมาะกับกองทุนนี้ อะไรคือจุดเด่นจุดด้อยของ Thai ESG และเงื่อนไขแบบไหนควรลงทุน Thai ESG บ้าง?
บทความนี้ได้สรุปเรื่องสำคัญของกองทุน Thai ESG ลดหย่อนภาษีรูปแบบใหม่ ซึ่งเปิดขายเป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2023 นี้
– คลิกอ่านบทความ 👉 กองทุน Thai ESG คืออะไร? ลดหย่อนภาษีแบบใหม่ เทียบกับ SSF RMF ต่างกันอย่างไร
ลดหย่อนภาษีปี 2567 ปีนี้ กับของดีฟินโนมีนา!
ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี พร้อมโพยดีดี ซื้อที่ ฟินโนมีนาฟันด์ ซื้อได้ครบทั้ง 21 บลจ.
ไม่ว่าจะเป็นกองทุน SSF RMF และ Thai ESG👍 ดูกองทุนแนะนำ คลิก https://finno.me/tax-saving-fund-ws
กรณีไหนควรซื้อ Thai ESG
หากคุณตรงกับเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งในนี้ อาจแปลได้ว่าคุณเหมาะที่จะลงทุนในกองทุน Thai ESG และยิ่งมีข้อที่ติ๊กถูกมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งตอกย้ำว่าคุณไม่ควรพลาดการลงทุนครั้งนี้
1. มีรายได้สุทธิที่หักลบค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว มากกว่า 150,000 บาท
2. ต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุน เพราะไม่อยากจ่ายภาษีเป็นจำนวนมาก หรือโดยหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว แต่อยากขอเงินภาษีคืน
3. เป็นคนที่ฐานภาษีสูง เช่น 20% 25% ขึ้นไป ยิ่งฐานภาษีสูงเท่าไหร่ การลดหย่อนภาษียิ่งคุ้มค่าขึ้นเท่านั้น เช่น คนฐานภาษี 20% การซื้อ TESG จำนวน 300,000 บาท จะช่วยประหยัดภาษีถึง 60,000 บาท แต่คนฐานภาษี 5% แม้จะซื้อ 300,000 บาทเท่ากัน จะนำไปลดภาษีได้เพียง 15,000 บาท
4. ยังลดหย่อนภาษีไม่พอ ต้องการวงเงินเพิ่ม ซึ่งการลงทุนใน SSF กับ RMF ให้สิทธิลดหย่อนภาษีรวมกันแค่ 500,000 บาท แต่หากใครที่ต้องการวงเงินมากกว่านั้น การซื้อ Thai ESG จะให้วงเงินลดหย่อนเพิ่มอีก 300,000 บาท รวมสูงสุดเป็น 800,000 บาท
5. ต้องการลดหย่อนภาษี แต่ไม่อยากซื้อ RMF เพราะต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี และต้องถือถึงอายุ 55 ปี ซึ่งใช้เวลานานกว่าจะขายได้ สำหรับคนที่อายุน้อยกว่า 45 ปี
6. ต้องการลดหย่อนภาษี แต่ไม่อยากซื้อ SSF เพราะมองว่าการถือลงทุนถึง 10 ปี ยังยาวนานเกินไปหน่อย
7. มีเป้าหมายการลงทุนระยะยาว สามารถถือกองทุน Thai ESG อย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป
8. เชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของหุ้นไทยยั่งยืน ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG
9. เชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของตราสารหนี้ไทยยั่งยืน หรือ ESG Bond ที่ผู้ระดมทุนมีเป้าหมายนำเงินไปใช้กับโครงการต่าง ๆ ภายใต้แนวคิดการเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมองค์กรในระยะยาว
10. มีเงินเย็นปล่อยทิ้งไว้นิ่ง ๆ กำลังมองหาช่องทางนำไปลงทุนให้งอกเงย พร้อมลดหย่อนภาษีไปด้วยเลย
กรณีไหนไม่ต้องซื้อ Thai ESG ก็ได้
แล้วเงื่อนไขแบบไหนบ้างล่ะที่ไม่ควรซื้อ Thai ESG หรือยังไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น เพราะมีทางเลือกการลงทุนประเภทอื่น ๆ ที่สามารถตอบโจทย์เป้าหมายได้ดีกว่า
1. รายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องจ่ายภาษีเหมือนกันหมด หากปีนี้คำนวณออกมาแล้ว รายได้ของเราไม่ต้องเสียภาษี หรือไม่มีความต้องการที่จะขอเงินภาษีคืน ก็ไม่มีความจำเป็นต้องซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี หากอยากลงทุนแนะนำให้ซื้อกองทุนรวมทั่วไปจะเหมาะกว่า
2. ปีนี้ค่าลดหย่อนภาษีเพียงพอแล้ว เช่น คนที่วางแผนซื้อกองทุน SSF, RMF หรือประกันลดหย่อนภาษี จนค่าลดหย่อนเพียงพอความต้องการไปแล้ว
3. กำลังชักหน้าไม่ถึงหลัง หากกำลังประสบปัญหาทางการเงิน แบบนี้การยอมจ่ายภาษีน่าจะเหมาะกว่าการทุ่มเงินก้อนซื้อ Thai ESG เพื่อให้ได้ลดหย่อนภาษี แต่ต้องมานั่งปวดหัวเพราะขาดสภาพคล่องทางการเงิน
4. ยังไม่มีเงินออมสำรองฉุกเฉิน เราควรจะมีเงินออมก่อนเริ่มต้นลงทุน สำหรับกันไว้ใช้จ่ายประมาณ 6 เดือน โดยเฉพาะ Thai ESG ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว แปลว่าถ้าเรานำเงินทั้งหมดไปเก็บไว้ในกองทุน หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา เราจะไม่มีเงินก้นถุงเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
5. ลงทุนแล้วกินไม่ได้นอนไม่หลับ ถ้ารู้ตัวว่ากลัวความเสี่ยงจากการลงทุน ทนเห็นตัวเลขเงินในพอร์ตที่ผันผวนขึ้นลงไม่ได้ การมองหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีอื่น ๆ น่าจะเหมาะกว่า เช่น ประกันออมทรัพย์ ประกันสุขภาพ
6. หากต้องการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ Thai ESG ไม่สามารถตอบโจทย์เป้าหมายนี้ได้ ซึ่งถ้าคุณอยากลงทุนหลากหลายสินทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ แบบนี้ต้องซื้อ SSF กับ RMF
7. ถ้าอายุเกิน 55 ปีแล้ว และกำลังวางแผนเกษียณในเร็ว ๆ นี้ แนะนำให้ซื้อ RMF มาลดหย่อนภาษีจะเหมาะกว่า
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Thai ESG Hub ศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Thai ESG ซื้อจบได้ที่นี่ คลิกเลย 👉https://finno.me/thaiesg-hub-ws
คำเตือน
- ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF RMF และ Thai ESG กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน
- การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน
- กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
- สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299