GGG ปรับพอร์ตครึ่งหลังปี 2024

พอร์ต Next-Generation Global Growth (GGG) เป็นพอร์ตการลงทุนแบบ Fully Invested หรือลงทุนในหุ้น 100% ตลอดเวลา แต่ควบคุมความเสี่ยงด้วยการกระจายการลงทุนในหลากหลายธีม ซึ่งจะถูกจัดหมวดหมู่เป็น 4 มิติการเติบโต (The Four Dimensions of Growth)

GGG ปรับพอร์ตครึ่งหลังปี 2024

The Four Dimensions of Growth
Source: Finnomena Funds as of 8/10/2024

  1. Country Growth ประเทศหรือภูมิภาคที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต
  2. Technology Growth ธีมการลงทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีหลักหรือย่อยที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต
  3. Sustainability Growth ธีมการลงทุนแบบยั่งยืน สอดรับกับแนวคิดการลดภาวะโลกร้อน
  4. Quality Growth ธีมการลงทุนที่เติบโตได้ในทุกสภาวะตลาด การเติบโตอาจไม่ได้เร็วแรงเท่ากับธีมอื่น แต่การมีธีมหุ้นสไตล์ Quality Growth อยู่ในพอร์ต ช่วยลดความผันผวนได้เป็นอย่างดี

 

และนำทุกธีมมาจัดสัดส่วนด้วย Minimum Volatility Optimization ทำให้การปรับสัดส่วนพอร์ต GGG จะมีขั้นตอนหลักสามขั้นตอนด้วยกัน

ขั้นตอนแรก คือการคัดเลือกธีมหุ้นที่เชื่อว่าจะมีโอกาสเติบโต โดยทบทวนสมมติฐานการเติบโตของธีมทั้งหมดในหน้าพอร์ตเก่า ว่าแต่ละธีมยังคงมีโอกาสในการเติบโตหรือไม่ ประกอบกับค้นหาธีมใหม่ที่เชื่อว่ามีโอกาสเติบโตได้ โดยแต่ละธีมจะมีการใช้ MEVT (Macro-Earnings-Valuation-Technical) Framework เข้ามาช่วยตัดสินใจ เพื่อให้สามารถประเมินโอกาสการเติบโตได้อย่างเป็นระบบ โดยในขั้นตอนนี้เราจะคัดเลือกธีมการลงทุนให้เหลือ 8-10 ธีม

ขั้นตอนถัดมา คือการคัดเลือกกองทุนที่เหมาะสมของแต่ละธีม โดยเราจะทำการสำรวจกองทุนหุ้นต่างประเทศในตลาดกองทุนไทย ที่มีนโยบายการลงทุนสอดคล้องกับธีมการลงทุนที่เราได้คัดเลือกไว้ และเลือกกองทุนที่มีผลตอบแทนโดดเด่นในระยะยาวเป็นกองทุนสำหรับพอร์ต GGG

ขั้นตอนสุดท้าย คือนำกองทุนทั้งหมดที่คัดเลือกแล้ว มาจัดเป็นพอร์ตด้วยการทำ Minimum Volatility Optimization ซึ่งเป็นกระบวนการจัดพอร์ต โดยใช้ข้อมูลการเคลื่อนไหวของมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุน นำมาคำนวณเป็นความผันผวนของกองทุน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient) ระหว่าง 2 กองทุนคู่ใดคู่หนึ่ง และใช้หลักการจัดพอร์ตโดยให้น้ำหนักกับคู่กองทุนที่มีค่า correlation coefficient ต่ำ เพื่อให้ความผันผวนของ 2 กองทุนหักล้างซึ่งกันและกัน นำไปสู่ความผันผวนรวมของพอร์ตที่ลดลง ในขณะที่พอร์ตยังมีการเติบโตจากธีมการลงทุนที่คัดเลือกมาแล้ว


Growth Revision and Fund Selection

สำหรับรอบการปรับพอร์ต GGG ในครึ่งหลังของปี 2024 เราได้มีการทบทวนธีมการลงทุนของหน้าพอร์ตปัจจุบันเล็กน้อย และได้มีการปรับกลยุทธ์การลงทุนของหลายธีมด้วยกัน โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

Add Semiconductor

ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Finnomena Funds ได้ทำการขายหุ้นกลุ่ม semiconductor ออกจากพอร์ต GGG จากปัจจัยด้าน valuation โดยในขณะนั้นเรามองว่าราคาของหุ้นในกลุ่ม semiconductor ปรับตัวขึ้นเร็วเกินกว่าการปรับประมาณการกำไรของนักวิเคราะห์ รวมถึงยังมีความไม่แน่นอนในความต้องการชิปในท้องตลาด แต่ในปัจจุบัน หลังจากที่นักวิเคราะห์ได้มีการปรับประมาณการหุ้นในกลุ่มดังกล่าวขึ้น ประกอบกับความต้องการชิปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

Finnomena Funds แนะนำเพิ่มสัดส่วนกองทุนหุ้น semiconductor อีกครั้ง ผ่านกองทุน KKP SEMICON-H ซึ่งลงทุนใน iShares Semiconductor ETF (SOXX) โดยล่าสุด ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนดังกล่าว กลับมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับระดับที่เราได้ทำการขายออกไปเมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

Remove China Tech

ธีม China Tech ซึ่งลงทุนในหุ้นจีน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงหรือตลาดหลักทรัพย์ภายในประเทศสหรัฐอเมริกา (ADR) โดยจะเป็นหุ้นที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นหลัก ตั้งแต่ต้นปี 2024 ที่ผ่านมา ภาพรวมหุ้นจีนมีการปรับตัวขึ้นเป็นระยะ ๆ เนื่องจากทางการจีนมีการออกนโยบายกระตุ้นเรื่อย ๆ โดยล่าสุด ทาง PBoC ได้ประกาศลด Reserve Requirement Ratio (RRR) สำหรับธนาคารพาณิชย์จีน, ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Reverse Repo, และจัดตั้ง swap program เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถเพิ่มสภาพคล่องจาก PBoC ปัจจัยเหล่านี้เป็นนโยบายกระตุ้นด้านการเงินของธนาคารกลางจีน ซึ่งส่งผลให้ดัชนีหุ้นจีน ทั้ง CSI300, HSI และ HSCEI ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี Finnomena Funds มีมุมมองต่อแรงหนุนดังกล่าวว่าอาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น การกระตุ้นผ่านนโยบายการเงิน ถึงแม้จะสามารถช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดทุนภายในประเทศจีน แต่อาจไม่ได้แก้ไขปัญหาใหญ่ที่เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญอยู่ นั่นคือปัญหาเรื่องอสังหาริมทรัพย์​ที่ยังดำเนินต่อเนื่องมาสักระยะ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่ปัจจุบันอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ

Finnomena Funds จึงยังคงมีมุมมองเชิงลบต่อตลาดหุ้นจีน และเนื่องจากในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งกองทุน Invesco China Technology ETF (CQQQ) และ KraneShares CSI China Internet ETF (KWEB) ซึ่งเป็นสองกองทุนหลักของกองทุน BCAP-CTECH ปรับตัวขึ้นตาม sentiment ของตลาดหุ้นจีน เราจึงแนะนำขายหุ้นจีนออกจากพอร์ตลงทุน GGG

Portfolio OptimizationGGG ปรับพอร์ตครึ่งหลังปี 2024

GGG Optimized Portfolio
Source: FINNOMENA Funds as of 08/10/2024

หลังจากคัดเลือกธีมการลงทุนและกองทุนสำหรับแต่ละธีม เราได้ทำการจัดพอร์ตด้วยแนวคิด Minimum Volatility Optimization และได้หน้าพอร์ตใหม่ดังนี้

GGG ปรับพอร์ตครึ่งหลังปี 2024

GGG Portfolio Allocation
Source: Finnomena Funds as of 08/10/2024

จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

TSF2024