
Executive Summary
- ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศลดภาษีนำเข้าทั้งหมดเหลือ 10% และเลื่อนการขึ้นภาษีออกไปอีก 90 วัน (ยกเว้นแคนาดา, เม็กซิโก และจีน) สะท้อนให้เห็นว่าภาษีกำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อรอง มากกว่าการจัดเก็บจริง
- เริ่มมีแรงต้านต่อนโยบายการค้าของทรัมป์ภายในสหรัฐฯ ทั้งจากคะแนนนิยมที่ลดลงนับตั้งแต่เริ่มดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง และความขัดแย้งภายในทีมงานและผู้สนับสนุน
- แม้สหรัฐฯ และจีนยังคงเก็บภาษีตอบโต้ในระดับสูง ซึ่งไม่ยั่งยืนและอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทุกฝ่าย แต่เชื่อว่าสุดท้ายจะนำไปสู่การเจรจา เช่นเดียวกับแนวโน้มที่สหรัฐฯ เลื่อนการขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ
- ปรับคำแนะนำการลงทุนขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยง
ภาพรวมคำแนะนำ
-
พอร์ต All Balance
- ลดสัดส่วน KKP PLUS 5%
- เพิ่มสัดส่วน K-GSELECTU-A(A) 5%
บทวิเคราะห์: ปรับพอร์ตรับมือมรสุมภาษี
จากบทความ สรุปคำแนะนำลงทุน: สหรัฐฯ เก็บภาษีตอบโต้ ครั้งประวัติศาสตร์! และ อัปเดตคำแนะนำลงทุน: โลกปั่นป่วนด้วยภาษีตอบโต้ของ ‘ทรัมป์’ ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศลดอัตราภาษีนำเข้า (Reciprocal Tariff) ทั้งหมดลงเหลือ 10% และเลื่อนการขึ้นภาษีออกไปอีก 90 วัน (ยกเว้นแคนาดา, เม็กซิโก และจีน) โดย
- แคนาดาและเม็กซิโก ยังคงถูกเก็บภาษีนำเข้าที่ระดับ 25%
- จีน ถูกปรับเพิ่มภาษีนำเข้าเป็น 125% หลังจากที่จีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ จาก 34% เป็น 84%
Finnomena Funds ประเมินว่า การประกาศลดภาษีนำเข้าและเลื่อนมาตรการภาษีบางส่วนออกไปอีก 90 วันโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือทางการเมืองและการเจรจาต่อรอง มากกว่าการมุ่งเก็บรายได้ภาษีอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันเราเริ่มเห็นแรงต้านนโยบายของทรัมป์จากคะแนนนิยมที่เริ่มถดถอย และความเห็นภายในพรรคที่เริ่มแตกต่างมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การ Rollback ภาษีบางส่วน หากสามารถบรรลุข้อตกลงกับบางประเทศได้ในอนาคต หรือเปลี่ยนไปใช้มาตรการภาษีที่มีลักษณะเจาะจงมากขึ้น แทนการใช้มาตรการแบบครอบคลุมในวงกว้าง
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 03/03/2025
จากแรงขายในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ค่า PE Valuation ของหลายตลาดอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะในกลุ่มตลาดหุ้นหลักทั่วโลก ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสนับสนุนสำหรับนักลงทุนที่มีมุมมองระยะกลางถึงยาว
- S&P 500 เทรดที่ 19.1 เท่า
- Nasdaq 100 เทรดที่ 22.3 เท่า
- STOXX 600 เทรดที่ 12.8 เท่า
- MSCI Asia ex China เทรดที่ 11.4 เท่า
- MSCI China เทรดที่ 10.0 เท่า
ด้วยปัจจัยดังกล่าว Finnomena Funds จึงปรับคำแนะนำเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากช่วงก่อนหน้านี้แนะนำให้ “Wait and See” เพื่อเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
รายละเอียดกองทุนที่แนะนำ
K-GSELECTU-A(A)
- ลงทุนในกองทุน JPMorgan Global Select Equity ETF
- กองทุนจะไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- กองทุนหลักมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนีชี้วัด (active management)
จัดทำโดยบลป. เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299