Executive Summary
ภาพรวมเศรษฐกิจโลก
- ตัวเลขเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มกลับมาดีกว่าที่คาดโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และยุโรป ขณะที่ประเทศจีนฟื้นจากระดับต่ำกว่าที่คาดเข้าสู่ระดับดีกว่าที่คาดอย่างรวดเร็วภายหลังจากที่รัฐบาลจีนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ ในฝั่งประเทศญี่ปุ่นยังอยู่ในโซนต่ำกว่าที่คาด
- แม้ทิศทางเศรษฐกิจเริ่มดีกว่าคาด แต่ตัวเลขภาคการผลิตในประเทศหลัก ๆ อย่างสหรัฐฯ และยุโรปยังอยู่ในระดับหดตัวในเดือนตุลาคม แต่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่เวียดนามภาคการผลิตสามารถพลิกกลับมาอยู่ในแดนขยายตัวได้หลังจากหดตัวลงในเดือนกันยายนจากผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นยางิ
ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
- เรายังคงมุมมองเป็นกลางต่อหุ้นตลาดสหรัฐฯ จากภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่งกว่าคาด ขณะที่ Bond Yield สหรัฐฯ ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจากความคาดหวังด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้นตามคะแนนความนิยมของ Trump ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อตลาดหุ้น
- อัตราการเติบโตของผลประกอบการหุ้นกลุ่ม Magnificent 7 ผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว แต่ยังสามารถเติบโตได้
- อย่างไรก็ดี Valuation ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับตึงตัว เราจึงแนะนำเน้นการ Selective และใช้จังหวะความผันผวนช่วงเลือกตั้งเข้าสะสมสำหรับการลงทุนระยะยาว
ตลาดหุ้นยุโรป
- เรายังคงมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นยุโรป แม้เศรษฐกิจเริ่มดีกว่าที่คาด แต่ยังอยู่ในระดับที่อ่อนแอและฟื้นตัวช้าโดยเฉพาะภาคการผลิต สอดคล้องกับทิศทางผลประกอบการของบริษัทที่อ่อนแอและถูกปรับลดประมาณการกำไรลง ขณะที่ valuation ของตลาดหุ้นอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น
- ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเรายังคงมุมมองเป็นลบ จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในแดนแย่กว่าที่คาด ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีโอกาสใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นในอนาคตจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่นมีโอกาสแคบลงอาจทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะส่งผลเชิงลบต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น
ตลาดหุ้นจีน
- เราปรับคำแนะนำหุ้นจีนจากทยอยขาย เป็น “คงสัดส่วน (Neutral)” เพื่อรอติดตามการประกาศมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมหลังเลือกตั้งสหรัฐฯ และการประชุม Fed ในเดือนพฤศจิกายน
- ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของจีนยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ยังอ่อนแอตามภาคอสังหาฯ แต่ล่าสุดข้อมูลความถี่สูงในภาคอสังหาฯเห็นการฟื้นตัวของปริมาณการทำธุรรรมอสังหาฯ ในเมืองใหญ่
- การปรับประมาณการกำไรยังอยู่ในทิศทางทรงตัวและ Valuation ของตลาดหุ้นอยู่ในระดับค่าเฉลี่ย
ตลาดหุ้นอินเดีย
- เราปรับคำแนะนำหุ้นอินเดียจากทยอยสะสม เป็น “ถือหรือคงสัดส่วน” เพื่อรอประเมินสถานการณ์เมื่อดัชนีตลาดหุ้นปรับฐานเข้าใกล้ระดับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน
- แม้ในภาพระยะยาวเศรษฐกิจอินเดียยังสามารถเติบโตได้ในระดับสูงจากโครงสร้างประชากรที่สนับสนุน เม็ดเงินลงทุนไหลเข้าต่อเนื่อง แต่ในภาพระยะสั้นเริ่มเห็นการชะลอตัวลงจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคและการปล่อยสินเชื่อที่สะดุดลง ขณะที่ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ไม่มีความจำเป็นต้องรีบลดดอกเบี้ยเนื่องจากค่าเงินรูปีอ่อนค่าและเงินเฟ้อฟื้นตัวขึ้น
- ประมาณการกำไรของหุ้นอินเดียถูกปรับลงจากผลประกอบการส่วนใหญ่อ่อนแอกว่าที่คาด และหุ้นกลุ่มธนาคารส่งสัญญาณปล่อยสินเชื่อน้อยลงเพื่อรักษาเสถียรภาพ ด้าน Valuation ของตลาดหุ้นอินยังอยู่ในระดับตึงตัว
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้
- คงคำแนะนำทยอยสะสมหุ้นเกาหลี ผ่านกองทุน SCBKEQTG และ DAOL-KOREAEQ โครงการ Value-up program เริ่มเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นจากสถาบันการเงินได้ร่วมมือจัดตั้งกองทุน Corporate Value-up เพื่อสนับสนุนโครงการ Value-up program โดยตลาดหลักทรัพย์เกาหลีเผยว่ามีกองทุน ETF และ ETN รวมมูลค่าเงินลงทุน 5.1 แสนล้านวอน ซึ่งมีแหล่งเงินลงทุนบางส่วนมาจากกองทุน Value-up
- ขณะที่ประมาณการกำไรของตลาดหุ้นเกาหลีถูกปรับลดลงจากหุ้น Samsung ให้ Guidance ผลประกอบการ 3Q24 ที่ต่ำกว่าตลาดคาด และราคา DRAM ที่ปรับตัวลดลงได้กดดันต่อกำไรของบริษัทตลอดจนความล่าช้าของการส่งมอบชิป HDM
- อย่างไรก็ดี Valuation ยังอยู่ในระดับถูกมากเทียบในกับในอดีต (-1 S.D. ในรอบ 10 ปี)
ตลาดหุ้นไทย
- เรายังมีมุมมองเชิงลบต่อตลาดหุ้นไทย จากมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลที่ยังคงเน้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระยะสั้นซึ่งเพียงแค่ช่วยประคับประคอง โดยต้องติดตามมาตรการกระตุ้นและการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจระยะยาว
- ในฝั่งภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็น 1 ในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทยยังไม่สามารถฟื้นตัวสู่ระดับก่อนโควิด-19 ได้ แรงซื้อจากกองทุนวายุภักษ์เริ่มแผ่วประกอบกับนักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมาขายหุ้นไทยอีกครั้ง ขณะที่ Valuation ยังอยู่ในระดับถูก แต่ประมาณกำไรยังถูกปรับลง
ตลาดหุ้นเวียดนาม
- เรายังคงแนะนำลงทุนหุ้นเวียดนามผ่านกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A และ KKP VGF-UI* จากเศรษฐกิจเริ่มมีทิศทางฟื้นตัวในเดือนตุลาคมหลังจากสะดุดในเดือนกันยายนจากผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นยางิ การผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางเวียดนาม (SVB) เอื้อต่อการปล่อยสินเชื่อของธนาคารมากขึ้นและช่วยหนุนต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สอดคล้องกับภาครัฐบาลมีท่าทีสนับสนุนและให้ความสำคัญต่อภาคธุรกิจ
- การ Upgrade เป็น EM Market มีความคืบหน้าล่าสุดมีการแก้ไขกฏหมายเกี่ยวกับการชำระบัญชีหลักทรัพย์ตามความประสงค์ของ FTSE Russell ใน
- ด้าน Valuation ของตลาดหุ้นยังอยู่ในระดับถูก (-1 S.D. ในรอบ 10 ปี) ขณะที่ประมาณการกำไรทรงตัว
*ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย กองทุนรวมที่เสนอขายผู้ลงทุนสถานบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน
ดาวน์โหลดฟรี!
“สไลด์มุมมองการลงทุนประจำเดือนพฤศจิกายน 2024”
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299