Finnomena Monthly Investment Outlook กลยุทธ์การลงทุนประจำเดือนมีนาคม 2025 : “ลมเปลี่ยนทิศ ฟ้าหลังฝนของหุ้นยุโรป กับพายุลูกใหม่ที่สหรัฐ”

Executive Summary 

ภาพรวมเศรษฐกิจโลก

  • ภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังขยายตัวต่อไปได้ นำโดยสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ยุโรปอยู่ในแนวโน้มฟื้นตัว
  • ในฝั่งของประเทศจีน อาจเจอแรงกดดันเรื่องสงครามการค้า และปัญหาภายใน เช่น อสังหาริมทรัพย์ ความมั่นใจของผู้บริโภค และความมั่นใจของนักลงทุน
  • เงินเฟ้อทั่วโลกยังอยู่ในแนวโน้มขาลง โดยเฉพาะในส่วนของประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้แนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายยังเป็นขาลง โดยยุโรปอาจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้แรง และเร็วกว่าสหรัฐฯ

ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา

  • เราปรับมุมมองหุ้นสหรัฐฯ จาก Slightly Overweight เป็น Neutral จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด
  • เงินเฟ้อยังมีแนวโน้มปรับตัวลงในอีก 4-5 เดือนข้างหน้า จึงทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2025 อีก 2 รอบ
  • ในส่วนของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนแม้ประกาศออกมาดีกว่าคาด แต่นักวิเคราะห์ได้ปรับประมาณการกำไรลดลงต่อเนื่อง ทำให้ถึงแม้ราคาปรับตัวย่อลงมา Valuation ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับตึงตัว
  • เราจึงแนะนำ Neutral พร้อม Selective Buy โดยเน้นไปที่หุ้นเล็ก หรืออุตสาหกรรมที่ยัง Laggard อย่างกองทุน ASP-USSMALL-A

ตลาดหุ้นยุโรป

  • เราได้ปรับมุมมองต่อตลาดหุ้นยุโรปจาก Slightly Underweight เป็น Slightly Overweight แนะนำทยอยสะสม ผ่านกองทุน ONE-EUROEQ
  • โดยมองว่าเศรษฐกิจยุโรปได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว ปัจจัยกดดันสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสงครามรัสเซีย-ยูเครน ภาวะเงินเฟ้อ และนโยบายภาษีของทรัมป์ ได้ถูกสะท้อนอยู่ในตัวเลขเศรษฐกิจและดัชนีตลาดแล้ว
  • ในระยะข้างหน้า ยุโรปมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากการปฏิรูปกฎระเบียบด้านการกู้ยืม (debt break) ของเยอรมนี ประกอบกับการที่หลายประเทศกลับมามีงบดุลที่แข็งแกร่งมากขึ้น
  • อีกทั้งยังได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของ ECB ซึ่งจะช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนยังคงทรงตัว ในขณะที่ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ Valuation ของตลาดหุ้นยุโรปปรับขึ้นมาอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยรอบ 10 ปี

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

  • เรายังคงมุมมองเชิงลบต่อหุ้นญี่ปุ้น โดยปรับคำแนะนำเป็น Underweight จากเดิม Slightly Underweight
  • จากการที่เงินเฟ้อประกาศออกมาสูงมากกว่าคาด ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีโอกาสใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นในอนาคต ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐฯและญี่ปุ่นมีโอกาสแคบลงและเงินเยนแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อตลาดหุ้นญุี่ปุ่น

ตลาดหุ้นจีน

  • คงมุมมองหุ้นจีนเป็นกลาง Neutral โดยแนะนำเก็งกำไรระยะสั้นผ่านกองทุน MEGA10CHINA-A
  • โดยแนวโน้มเศรษฐกิจจีนเติบโตไม่โดดเด่นเมื่อเทียบกับในอดีต ภาคอสังหาฯ ยังไม่ฟื้นตัวชัดเจนสอดคล้องกับความเชื่อมั่นที่ยังต่ำ อย่างไรก็ดี รัฐบาลจีนกลับลำมาสนับสนุนภาคธุรกิจมากขึ้นโดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยี ซึ่งช่วยหนุน Sentiment ต่อตลาดหุ้น H-shares ด้านการปรับประมาณการกำไรหุ้นจีน H-shares แข็งแกร่งกว่า A-shares   

ตลาดหุ้นอินเดีย

  • คงมุมมองหุ้นอินเดียเป็นกลาง Neutral โดยแนะนำถือหรือสัดส่วนกองทุน TISCOINA-A และ B-BHARATA
  • โดยการเติบโตของสินเชื่อชะลอตัวลง ซึ่งจะกดดันต่อการเติบโตของหุ้นกลุ่มธนาคารรวมถึงต้องรักษาเสถียรภาพทางระบบการเงินที่อาจทำให้การเติบโตของสินเชื่อทรงตัว
  • ขณะที่ทิศทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้นใน 4Q24 หลังรายงาน GDP ฟื้นตัวตามคาด อย่างไรก็ดี Valuation ของตลาดหุ้นอินเดียกลับมาอยู่ในระดับที่ไม่แพง

ตลาดหุ้นเกาหลีใต้

  • คงมุมมองเป็นกลาง Neutral ต่อหุ้นเกาหลีใต้ โดยแนะนำถือกองทุน SCBKEQTG และ DAOL-KOREAEQ
  • ภาคการส่งออกของเกาหลียังขยายตัว นอกจากนี้ มีรายงานระบุว่า Samsung ได้รับการอนุมัติจาก Nvidia ให้จัดหาชิป HBM3E แล้ว ในอนาคตผู้ผลิต Memory Chip จะได้อานิสงส์จากการประมวลผล Large Language Model (โมเดลภาษาขนาดใหญ่) ที่อาจมี Memory Requirement ที่เพิ่มสูงขึ้นไปอีก รวมถึง Samsung ยังเดินหน้าแผนซื้อหุ้นคืนต่อช่วยลด Downside ของราคาหุ้น

ตลาดหุ้นไทย

  • คงมุมมองเป็นกลาง Neutral ต่อตลาดหุ้นไทย แนะนำกลยุทธ์แบบ Selective โดยทั้งภาครรัฐบาลและหน่วยงานกำกับพยายามออกมาตรการพยุงตลาดหุ้น อาทิ การย้าย LTF ไป ThaiESG  และการปรับปรุงเกณฑ์การซื้อขายหลักทรัพย์
  • ขณะที่เครื่องยนต์เศรษฐกิจสำคัญอย่างภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกมีทิศทางฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่อง ด้านประมาณการกำไรตลาดหุ้นถูกปรับลงต่อเนื่อง Valuation อยู่ในระดับถูกมาก หากเทียบกับหุ้นอาเซียนถือว่าอยู่ในระดับไม่ถูก แต่เริ่มมีสัญญาณจาก market breadth บ่งชี้ถึงการรีบาวด์ระยะสั้น

ตลาดหุ้นเวียดนาม

  • คงมุมมองเชิงบวกเล็กน้อย (Slightly Positive) ต่อหุ้นเวียดนาม โดยแนะนำทยอยสะสม ผ่านกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A และ KKP VGF-UI*
  • รัฐบาลมีเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวที่ชัดเจน รวมถึงมีแผนดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังมีความท้าทายเรื่องมาตรการกีดกันทางการค้า
  • นอกจากนี้ รัฐบาลยังคงสนับสนุนพร้อมเน้นย้ำเป้าหมายการอัพเกรดตลาดหุ้นเป็น Emerging Market ภายในปี 2025  ด้านประมาณการกำไรของตลาดหุ้นยังถูกปรับขึ้น ขณะที่ Valuation ยังอยู่ในระดับถูก 

 

 *ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย กองทุนรวมที่เสนอขายผู้ลงทุนสถานบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน


กลยุทธ์การลงทุนเดือนมีนาคม 2025

ดู Fund Fact Sheet กองทุนแนะนำ

 

จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน


คำเตือนผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Wealth Health Check