Executive Summary
- ภาพรวมตลาดโลก: ตัวเลขเศรษฐกิจโดดเด่น ตลาดยังหวังธนาคารกลางลดดอกเบี้ยในปีนี้
- ตลาดหุ้นสหรัฐ: หุ้น Growth ขึ้นมาแรง แนะนำ Take Profit เปลี่ยนมาหลบในหุ้น Value
- ตลาดหุ้นยุโรป: แนะนำ MEVT Call หุ้นยุโรปกลับมาแล้ว เศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดเข้าสู่ช่วงฟื้นตัว Valuation ไม่แพง
- ตลาดหุ้นจีน: แนะนำทยอยสะสม รัฐบาลจีนออกมาตรการกระตุ้นมากขึ้น Valuation ยังถูก
- ตลาดหุ้นเกาหลีใต้: แนะนำทยอยสะสมจากการฟื้นตัวของวัฏจักรเซมิคอนดักเตอร์ และมี Catalyst จากโครงการ Value-up Program
- ตลาดหุ้นญี่ปุ่น: แนะนำลดสัดส่วน มี downside จากการกลับทิศนโยบายการเงินของ BoJ
- ตลาดหุ้นไทย: ลดคำแนะนำสู่ Neutral จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบไม่เต็มที่ Earnings downgrade อาจเกิดขึ้นอีก แนะนำกองทุน active ที่มีกลยุทธ์ selective buy
- ตลาดหุ้นเวียดนาม: ยังชื่นชอบตลาดหุ้นเวียดนาม ระยะยาวได้อานิสงส์จาก China+1 และมี Catalyst จากการถูก upgrade เข้าสู่ดัชนี FTSE Emerging market Index
- แนะนำปรับพอร์ต: พอร์ต GAR ขายทำกำไรในหุ้นเติบโตสหรัฐฯ มาหลบในหุ้นคุณค่าสหรัฐฯ พร้อมขายทำกำไรหุ้นเวียดนามและเพิ่มสัดส่วนหุ้นยุโรป พอร์ต All Balance กองทุนหุ้นโลกเปลี่ยนมา Class unhedged ค่าเงิน พร้อมขายหุ้นเติบโตสหรัฐฯ และหุ้นเอเชีย เพิ่มหุ้นคุณค่าสหรัฐฯ และหุ้นยุโรป
ภาพรวมตลาดโลก: ตัวเลขเศรษฐกิจโดดเด่น ตลาดยังคาดธนาคารกลางลดดอกเบี้ยในปีนี้
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตัวเลขทางเศรษฐกิจสำคัญในหลาย ๆ ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ยุโรป และญี่ปุ่น ประกาศออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด โดยตัวเลขดังกล่าวสะท้อนผ่านดัชนี Citi Economic Surprise ที่ทุกประเทศอยู่ในโซนบวก อย่างไรก็ดี เราเห็นแนวโน้มตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยในประเทศจีน และยุโรป โดยทั้ง 2 ประเทศปรับตัวขึ้นมาจากโซนติดลบ
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
ในฝั่งของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิตที่จัดทำโดย S&P Global ยังส่งสัญญาณเติบโตได้ดีในประเทศกำลังพัฒนา และอาเซียน โดยเฉพาะจีน อินเดีย และเวียดนาม ที่ปรับตัวดีขึ้นมาติดต่อกัน 3 เดือน 4 เดือน และ 3 เดือนตามลำดับ ในฝั่งของสหรัฐฯ ดัชนีปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันสะท้อนโอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวต่อในอนาคต ในส่วนของยุโรป ถึงแม้จะยังเผชิญกับแรงกดดันระยะสั้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่แนวโน้มการปรับตัวขึ้นของดัชนียังทำได้ดีเมื่อเทียบกับ 2 ถึง 3 เดือนที่ผ่านมา
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
ในปัจจุบัน (11 มีนาคม 2024) อัตราดอกเบี้ยนโนบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยุโรป อังกฤษ และญี่ปุ่นอยู่ที่ 5.5%, 4.5%, 5.25% และ -0.1% ตามลำดับ โดยตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ยุโรป และอังกฤษ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในปีนี้สู่ระดับ 4.38%, 2.77% และ 4.52% ตามลำดับ สวนทางกับธนาคารกลางญี่ปุ่นที่คาดว่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 0.25%
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 07/03/2024
ในส่วนของระดับ Valuation หุ้นสหรัฐฯ S&P 500 และ NASDAQ มี PE (Forward 12-m) ที่ระดับ 21.0 และ 26.3 เท่าตามลำดับ ซึ่งอยู่ในจุดที่แพงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี ในฝั่งหุ้นจีน MSCI China CSI 300 และ HSI มี PE (Forward 12-m) ที่ระดับ 8.8, 10.8 และ 7.7 เท่าตามลำดับ ซึ่งอยู่ในจุดที่ถูกกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี หุ้นยุโรป STOXX 600 และ STOXX 50 มี PE (Forward 12-m) ที่ระดับ13.9 เท่า และอยู่ในระดับค่าเฉลี่ย 10 ปี ในส่วนของประเทศอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น อินเดีย เวียดนาม ไทย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นมี PE (Forward 12-m) ที่ระดับ 20.8, 9.4, 14.9, 10.5 และ 16 เท่าตามลำดับ
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ: หุ้น Growth ขึ้นมาแรง แนะนำ Take Profit เปลี่ยนมาหุ้น Value
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
จาก Finnomena Investment Outlook 2024: มุมมองการลงทุนปี 2024 เราคาดว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง จะส่งผลให้ตลาดปรับตัวขึ้นได้จากความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าที่ตั้งเป้าไว้ในเดือนธันวาคม 2023 ต่อมาภายหลังการประชุม FOMC ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา คณะกรรมการยังคงดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับ 5.25-5.50% และยังไม่มีท่าทีที่จะลดดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วตามที่ตลาดคาด ตลาดจึงมีการปรับความคาดหวังลง ทำให้โอกาสที่ตลาดจะวิ่งต่อจากความหวังเริ่มมีจำกัดขึ้น
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เงินเฟ้อสหรัฐฯ Headline CPI และ Core CPI ประกาศออกมาที่ 3.1% YoY และ 3.9% YoY ตามลำดับ การปรับตัวของเงินเฟ้อเริ่มทรงตัวใน 2-3 เดือนที่ผ่านมาจาก Supercore Inflation ที่เร่งตัวจากค่าบริการขนส่ง โดยสาเหตุของการเร่งตัวมีที่มาจากค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย ส่งผลให้เงินเฟ้ออาจะปรับตัวลงช้ากว่าที่คาด
Source: Finnomena Funds, Macrobond, as of 11/03/2024
หุ้น Growth ใน Cycle การค้างดอกเบี้ยรอบปี 2023 ที่ผ่านมา สามารถ Outperform S&P 500 มาแล้วกว่า 3% ซึ่งเป็นระดับที่มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการค้างอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบก่อน ๆ ได้แก่ รอบปี 1995, 2000, 2006 และ 2018
Source: Finnomena Funds, Macrobond, as of 11/03/2024
ตัวเลขเงินออมส่วนเกินจากมาตรการอัดฉีดในปี 2020 ถึง 2022 ยังคงเหลืออยู่ในระบบ ถึงแม้ตัวเลขดังกล่าวกำลังค่อย ๆ ลดลง อัตราการลดลงที่ช้าสะท้อนว่าภาคครัวเรือนสหรัฐฯ ยังมีความแข็งแกร่งอยู่ และยังมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยอยู่
Finnomena Funds แนะนำขายทำกำไรจากกองทุนหุ้นเติบโตสหรัฐฯ KFUS-A หลังทิศทางการลดดอกเบี้ยเลื่อนออกไปในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ยังคงแนะนำลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ผ่านกองทุน AFMOAT-HA ที่ลงทุนในหุ้นที่มีปราการทางธุรกิจแข็งแกร่ง ในระดับ Valuation ที่เหมาะสม
ตลาดหุ้นยุโรป: MEVT Call หุ้นยุโรปกลับมาแล้ว เศรษฐกิจโตต่อ Valuation ไม่แพง
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
ตัวเลขคาดการณ์ดัชนีที่สำคัญ ๆ ทางเศรษฐกิจของยุโรป สะท้อนแนวโน้มที่ดีขึ้นในอนาคต โดยตัวเลขจากทาง Bloomberg Concensus ได้แก่ ตัวเลขอัตราการเติบโตของ GDP การบริโภคภาคครัวเรือน การลงทุนจากภาครัฐ การส่งออกนำเข้า ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรม และตัวเลขอัตราการว่างงาน ส่งสัญญาณฟื้นตัวในไตรมาส 1 ถึงไตรมาส 4 ปี 2024
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของฝั่งยุโรป ถึงแม้ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 สะท้อนโอกาสหดตัวของธุรกิจในอนาคต แต่ระดับการเพิ่มขึ้นของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ทั้งตัว Composite Service และ Manufacturing ปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2023 สัญญาณดังกล่าวนับเป็นสัญญาณชี้นำที่ดี สะท้อนว่าเศรษฐกิจยุโรปผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และกำลังฟื้นตัวต่อเนื่องอย่างช้า ๆ สอดคล้องกับการคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจในอนาคตของ Bloomberg Concensus ก่อนหน้า
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
ในฝั่งของตัวเลขเงินเฟ้อหลังจากทำจุดพีคที่ 11% YoY ในช่วงเดือนกันยายน 2022 จากราคาพลังงาน และอาหาร ตัวเลขดังกล่าวก็ปรับตัวลดลงอย่างมีนัย โดยปัจจุบันดัชนี Headline Inflation ลดมาเหลือ 2.8% YoY และ Core Inflation ลดลงมาเหลือ 2.3% YoY ส่งผลให้ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อในยุโรปเริ่มคลี่คลาย
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
โดยในฝั่งของกำไรบริษัทจดทะเบียนในยุโรปในภาพรวม กำไรยังสามารถเติบโตได้ดีในหลายอุตสาหกรรม โดยดัชนี STOXX 600 จะมีความแตกต่างจาก STOXX 50 ในส่วนของการกระจายตัวของกำไรไปในหลากหลายอุตสาหกรรมมากกว่า ได้แก่ กลุ่มการเงิน กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มสุขภาพ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และอื่น ๆ ทำให้ดัชนี STOXX 600 มีข้อได้เปรียบในส่วนของการกระจายความเสี่ยงที่หลากหลาย
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
นอกจากนี้ เมื่อทำการเปรียบเทียบในส่วนของดัชนีราคา STOXX 600 และ MSCI ACWI พบว่าถึงแม้ STOXX 600 จะปรับตัวขึ้นมามากแต่ยังน้อยกว่า MSCI ACWI และยัง Underperform หุ้นโลกอยู่ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา กลับกันเมื่อเปรียบเทียบ EPS ตลาด พบว่ากำไรตลาด STOXX 600 ไม่ได้ถูกปรับประมาณการลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นโลก ทั้งหมดนี้ทำให้ระดับ PE ของ STOXX 600 เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับดัชนี MSCI ACWI อยู่ในโซน -2S.D. นับเป็นมูลค่าที่ถูกกว่าหุ้นโลกมาก
Source: Tradingview, as of 11/03/2024
ดัชนี STOXX600 ปรับตัวขึ้นเหนือจุดสูงสุดใหม่ และกำลังเข้าสู่คลื่นที่ 5 ของ Elliott Wave ซึ่งในทาง Technical ยังมี Upside ~13% (Fibonacci 161.8%) สอดคล้องกับ MACD ที่อยู่เหนือแกน 0 บ่งชี้ถึงแนวโน้มเชิงบวก
Finnomena Funds แนะนำ MEVT Call หุ้นยุโรปโดยแนะนำลงทุนผ่านกองทุน ONE-EUROEQ หลังเห็นสัญญาณบวกฝั่งยุโรปมากขึ้น ทั้งทิศทางเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวและผ่านจุดต่ำที่สุดมาแล้ว ทิศทางดอกเบี้ยที่น่าจะลดลงได้เร็ว และ Valuation ที่ยังถูกโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ Developed Markets อื่น ๆ
ตลาดหุ้นจีน: ขับเคลื่อนด้วยนโยบายกระตุ้น
กราฟดัชนี, EPS (forward 12 m), P/E (forward 12 m) ของตลาดหุ้นจีน (CSI300)
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
ตลาดหุ้นจีนมีความน่าสนใจจากสองปัจจัยหลัก ๆ ปัจจัยแรกคือเรื่องของ Valuation ที่ค่อนข้างถูก เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่น ๆ ตัวเลข 12-m Forward P/E ของดัชนี CSI 300 อยู่ที่ประมาณ 11 เท่า และดัชนี Hang Seng อยู่ที่ 7.8 เท่า ซึ่งตัวเลข Forward P/E ของทั้งสองตลาดอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตัวเอง ปัจจัยที่สองคือเรื่องการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่นการปรับลด Reserve Requirement Ratio (RRR) ของธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้ธนาคารสามารถปล่อยเงินกู้ได้มากขึ้น เป็นการเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ช่วยหนุนการเติบโตในหลายภาคส่วน
Finnomena Funds แนะนำ MEVT Call และแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน ผ่านกองทุน K-CHINA-A(A) และ ABCA-A จากแนวโน้มการกระตุ้นของทางการที่เริ่มทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องในตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา และตลาดเริ่มตอบรับกับมาตรการต่าง ๆ ในเชิงบวก ประกอบกับ Valuation ที่ถูกอยู่ที่ระดับ -2 S.D. โดย Valuation ดังกล่าวได้สะท้อนความกังวลไปมากแล้ว
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้: ยังฟื้นตัวตามวัฏจักร Semiconductor
Source: Finnomena Funds, Macrobond, as of 11/03/2024
การเติบโตของยอดส่งออกชิปเกาหลีใต้เร่งตัวขึ้น ตามทิศทางรอบวัฎจักรเซมิคอนดักเตอร์โลกที่ฟื้นตัว โดยหนุนจากอุปสงค์จากการใช้งานด้าน AI ซึ่งบ่งชี้การฟื้นตัวของทิศทางกำไรของตลาดหุ้นเกาหลีใต้ในอนาคต
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ยังมี Catalyst จากโครงการ Value-up program โดยคณะกรรมาธิการบริการทางการเงินของเกาหลีใต้มีความมุ่งมั่นให้บริษัทในตลาดหุ้นเกาหลีใต้เพิ่มมูลค่ากิจการ (valuation) เพื่อผลตอบแทนให้แก่ผู้หุ้น และเพื่อลดปรากฏการณ์ Korea discount (valuation ของตลาดหุ้นเกาหลีใต้อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่น ๆ) ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ จะเปิดเผยแนวทางปฏิบัติในช่วงเดือนมิถุนายน 2024 และคาดว่าบริษัทต่างๆจะเปิดเผยแผน value-up ของตนเองในช่วงครึ่งหลังของปี 2024 อย่างไรก็ดีโครงการนี้เป็นภาคสมัครใจซึ่งต้องติดตามความร่วมมือของบริษัทหลังการเปิดเผยแนวทางปฏิบัติ
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
ปัจจุบัน Valuation ของตลาดหุ้นเกาหลีใต้ยังไม่แพง โดย forward 12 m P/E อยู่ที่ 10.6 เท่า ซึ่งอยู่ในระดับค่าเฉลี่ย โดย Finnomena Funds ยังคงแนะนำ MEVT Call และแนะนำทยอยสะสมในหุ้นเกาหลีใต้ผ่านกองทุน SCBKEQTG จากปัจจัยหนุนด้านการฟื้นตัวของวัฏจักรเซมิคอนดักเตอร์และ Valuation ที่ยังไม่แพง รวมถึงยังมี Catalyst จากโครงการ Value-up program
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น: ขายทำกำไรก่อน BOJ ยอมรับและกลับตัว
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
ตลาดโฟกัสเรื่องธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะยุติอัตราดอกเบี้ยติดลบมากขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของค่าแรงในญี่ปุ่น และรายจ่ายในการลงทุน (Capex) ของภาคเอกชนทีดีขึ้น แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงอ่อนแอจากแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นจะพิจารณาตัวชี้วัดอย่างละเอียด เช่น เงินเฟ้อ และจะมีการเจรจาค่าตอบแทนรายปีระหว่างบริษัทเอกชนและสหภาพแรงงาน ซึ่งคาดว่าหลายบริษัทใหญ่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มค่าแรง หลังกลุ่มสหภาพแรงงานขอขึ้นค่าแรงแตะระดับสูงสุดในรอบ 31 ปี
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
ค่าเงินเยนกลับมาแข็งค่าและอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มส่งสัญญาณเข้มงวดทางการเงินเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีการพิจารณายกเลิกมาตรการควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (yield curve control: YCC) อายุ 10 ปี ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นญี่ปุ่นในอนาคต
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
ปัจจุบัน Valuation ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นเริ่มกลับมาอยู่เหนือค่าเฉลี่ยระยะยาว โดย P/E (forward 12 m) อยู่ที่ 15.2 เท่า Finnomena Funds ยังคงแนะนำทยอยขายทำกำไรในกองทุนหุ้นญี่ปุ่น เนื่องจากมี downside จากการกลับทิศนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ)
ตลาดหุ้นไทย: ไม่โดดเด่น เน้นกองทุนคัดเลือกหุ้นเก่ง ๆ
การฟื้นตัวเศรษฐกิจของไทยยังไม่เต็มที่ ซึ่งเกิดจากงบประมาณภาครัฐที่ล่าช้าส่งผลให้โมเมนตัมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไม่มีแรงส่งจากการเบิกจ่ายจากภาครัฐ อย่างไรก็ดีรัฐบาลได้เปิดเผยไทม์ไลน์ใหม่สำหรับร่างพ.ร.บ. งบปี 2024 ซึ่งคาดว่าจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในวันที่ 2 เมษายน จึงทำให้แรงส่งจากการเบิกจ่ายภาครัฐจะเริ่มเห็นผลในช่วงกลาง ไตรมาส 2 ของปีปฏิทิน 2024
Source: กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา, as of 11/03/2024
อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยหนุนชดเชยจากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งจะช่วยประคับประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
ผลประกอบการของบริษัทในปี 2023 ส่วนใหญ่แย่กว่าคาดจึงทำให้เกิดการปรับลดประมาณการกำไรของตลาดหุ้นไทยลง และมีโอกาสเกิดการปรับลดประมาณการกำไรได้อีกจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวไม่เต็มที่
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
แม้ valuation ของตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงในระดับถูกกว่าค่าเฉลี่ย โดย forward 12 m P/E อยู่ที่ 14.16 (-0.8 S.D. ในรอบ 10 ปี) เนื่องจากตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยหนุนที่ชัดเจน และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังไม่เต็มที่ นอกจากนี้ทิศทางการลดดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์กระแสเงินทุนไหลออก (Fund outflow) ของนักลงทุนต่างชาติ
Finnomena Funds ลดคำแนะนำตลาดหุ้นไทยสู่ระดับ Neutral จาก Slightly overweight โดยแนะนำกองทุน active ที่มีกลยุทธ์ Selective buy อย่างกองทุน ASP-SME-A
ตลาดหุ้นเวียดนาม: ดาวเด่นแห่ง ASEAN รอวันเข้า EM Markets
ตลาดหุ้นเวียดนามลุ้นถูกดึงเข้าดัชนี FTSE Emerging Market Index หลังถูกเข้าใน Watchlist ตั้งแต่เดือนกันยายน 2018 อย่างไรก็ตามเริ่มมีการทดสอบระบบ KRX เพื่อยกเลิกข้อจำกัดด้านเงินทุนล่วงหน้า (Pre-funding) แล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่ตลาดหุ้นเวียดนามยังขาด โดยหากระบบนี้มีความชัดเจนมากขึ้น จะเริ่มมีการพิจารณาให้ตลาดหุ้นเวียดนามเข้าสู่ดัชนีตลาดเกิดใหม่
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
เศรษฐกิจเวียดนามยังคงแข็งแกร่งในเชิงพื้นฐาน โดยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศยังขยายตัวต่อเนื่องจากอานิสงส์ของ China +1 หลังนักลงทุนเริ่มมีการย้ายฐานการผลิตจากจีนไปลงทุนประเทศอื่น ๆ ซึ่งเวียดนามคือหนึ่งในเป้าหมายหลัก
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 11/03/2024
ปัจจุบัน Valuation ของตลาดหุ้นเวียดนามยังถูก โดย P/E (forward 12 m) อยู่ที่ 10.0 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต Finnomena Funds ยังคงแนะนำ MEVT Call และแนะนำทยอยสะสมในหุ้นเวียดนามผ่านกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A จากปัจจัยหนุนระยะยาวทั้งในเชิงพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และยังได้ประโยชน์จาก China+1
แนะนำปรับพอร์ต All Balance, GAR ขายทำกำไรหุ้นเติบโตสหรัฐฯ เอเชีย เวียดนาม เพิ่มสัดส่วนยุโรป
Source: Finnomena Funds, as of 11/03/2024
Finnomena Funds ได้ทำการทบทวน Black-Litterman Model สำหรับ All Balance (Strategic Asset Allocation: SAA) แนะนำลงทุนในกองทุนหุ้นโลกที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงผ่านกองทุน KKP GNP เนื่องจากมีผลตอบแทนเทียบความเสี่ยงดีกว่าการลงทุนในกองทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้นักลงทุนจะไม่มีต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่ปัจจุบันสูงถึงปีละ 3% ทั้งนี้ นักลงทุนจะไม่เสียค่าธรรมเนียมในการสับเปลี่ยนจาก KKP GNP-H ไปยัง KKP GNP
สำหรับมุมมองเชิง Tactical Asset Allocation เรามีการเปลี่ยนแปลงคำแนะนำดังนี้
แนะนำขายทำกำไรจากกองทุนหุ้นเติบโตในสหรัฐฯ อย่าง KFUS-A หลังทิศทางการลดดอกเบี้ยเลื่อนออกไปในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ยังคงแนะนำลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ผ่านกองทุน AFMOAT-HA ที่ลงทุนในหุ้นที่มีปราการทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง ในระดับ Valuation ที่เหมาะสม
แนะนำลดสัดส่วนในกองทุน B-ASIA เพื่อเพิ่มสัดส่วนในกองทุนหุ้นยุโรป ONE-EUROEQ หลังเห็นสัญญาณบวกฝั่งยุโรปมากขึ้น ทั้งทิศทางเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวและผ่านจุดต่ำที่สุดมาแล้ว ทิศทางดอกเบี้ยที่น่าจะลดลงได้เร็ว และ Valuation ที่ยังถูกโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่ม DM Markets อื่น ๆ
Source: Finnomena Funds, as of 11/03/2024
Finnomena Funds แนะนำขายทำกำไรจากกองทุนหุ้นเติบโตสหรัฐฯ KFUS-A หลังทิศทางการลดดอกเบี้ยเลื่อนออกไปในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ยังคงแนะนำลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ผ่านกองทุน AFMOAT-HA ที่ลงทุนในหุ้นที่มีปารการทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง ในระดับ Valuation ที่เหมาะสม
แนะนำขายทำกำไรบางส่วนในกองทุนหุ้นเวียดนาม PRINCIPAL VNEQ-A หลังจากที่ตลาดหุ้นเวียดนามทำผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมา บวกกับสัดส่วนเดิมที่แนะนำลงทุนสูงถึง 20% อย่างไรก็ตามเรายังมีมุมมองที่เป็นบวกกับหุ้นเวียดนามในระยะยาวจึงยังคงสัดส่วนการลงทุนอยู่ 10%
เพิ่มสัดส่วนในกองทุนหุ้นยุโรป ONE-EUROEQ หลังเห็นสัญญาณบวกฝั่งยุโรปมากขึ้น ทั้งทิศทางเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวและผ่านจุดต่ำที่สุดมาแล้ว ทิศทางดอกเบี้ยที่น่าจะลดลงได้เร็ว และ Valuation ที่ยังถูกโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่ม DM Markets อื่น ๆ
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
—————————————————————
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299