สรุปสถานการณ์ตราสารหนี้โลกปี 2023 เราได้บทเรียนอะไรจากตลาดตราสารหนี้บ้าง
เกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับตราสารหนี้ โดยการคาดการณ์ของตลาดเปลี่ยนไปมาตลอดเวลา จากที่คาดไว้ว่าสหรัฐฯ จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ปัจจุบันความน่าจะเป็นในกรณีดังกล่าวก็ลดน้อยลงไป ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนตราสารหนี้ค่อนข้างผันผวน
อย่างไรก็ดี อเบอร์ดีนเชื่อว่าปีหน้า (2024) จะเป็นปีที่ดีของตราสารหนี้ อเบอร์ดีนคิดว่าดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในระดับที่สูงที่สุด หรือใกล้สูงที่สุดแล้ว (peak) สะท้อนจากเงินเฟ้อที่ค่อย ๆ ชะลอตัวลงตามคาด ซึ่งจะทำให้การลงทุนในตราสารหนี้น่าจะกลับมาสร้างผลตอบแทนได้ดีอีกครั้ง
หลังประชุมธนาคารกลางต่าง ๆ ผ่านไป ผลกระทบต่อ bond yield เป็นอย่างไร และส่งผลอย่างไรต่อตลาดตราสารหนี้
หลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารสหรัฐฯ (Fed) และยุโรป(ECB) อเบอร์ดีนเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในระดับสูงที่สุด หรือใกล้สูงที่สุดแล้ว และbond yield น่าจะเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุล
อย่างไรก็ดี สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ในระยะต่อไป สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการเลือกระยะเวลาของตราสารหนี้ที่จะไปลงทุนมากกว่า ซึ่งอเบอร์ดีนมองว่าตราสารหนี้ระยะสั้น (1-3 ปี) น่าจะให้ผลตอบแทนที่ดี และควรแบ่งการลงทุนไปยังตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก โดยแม้ว่าการลงทุนในสหรัฐฯ และยุโรปจะได้รับความนิยมมาก แต่การกระจายการลงทุนไปทั่วโลกน่าจะช่วยลดความเสี่ยงได้มากกว่า ในขณะเดียวกันยังคงให้ผลตอบแทนที่ยอมรับได้
ทำไมอเบอร์ดีนจึงคิดว่าตราสารหนี้ระยะสั้นจะให้ผลตอบแทนที่ดี
ปัจจุบันตลาดตราสารหนี้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะ inverted yield curve ซึ่งหมายความว่าผลตอบแทนของตราสารหนี้อายุสั้นมีผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาวทำให้อเบอร์ดีนมองว่าตรา-สารหนี้อายุ 1-3 ปีดูน่าสนใจกว่าตราสารหนี้ระยะยาว โดยจากสถิติที่ผ่านมา เมื่อดอกเบี้ยเข้าสู่ภาวะปกติ yield curve จะเริ่มกลับมาเป็นเหมือนเดิม ทำให้อเบอร์ดีนมองว่าก่อนเหตุการณ์จะกลับมาปกติ ณ เวลานี้เป็นจุดที่ดีในการลงทุนตราสารหนี้พันธบัตรระยะสั้น 1-3 ปี ซึ่งเป็นจุดที่ดอกเบี้ยเข้าใกล้หรืออยู่จุดที่สูงที่สุด หากรอจนเหตุการณ์เริ่มกลับมาปกติน่าจะช้าไป
แม้ว่าตลาดตราสารหนี้ในยุโรปและสหรัฐฯ จะเกิด inverted yield curve ทั้งสองตลาด แต่อเบอร์ดีนให้ความสนใจกับตราสารหนี้ที่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มากกว่า โดยตราสารหนี้ที่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะให้ผลตอบแทนในรูปอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างดีกว่าการลงทุนอื่น ๆ เนื่องจาก Fed ยังน่าจะคงดอกเบี้ยในระดับสูงต่อไป และความแข็งแกร่งของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในอนาคตจะทำให้การลงทุนในตราสารหนี้ที่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ น่าสนใจมากขึ้น กล่าวคือ
- หากเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง (hard landing) จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่า เนื่องจากนักลงทุนต้องการถือเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อป้องกันความเสี่ยง
- และในทางตรงกันข้าม หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเติบโตได้ต่อ ก็จะทำให้เงินไหลเข้าตลาดสหรัฐฯ และเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก็จะแข็งค่าเช่นเดียวกัน ซึ่งจะเป็นผลบวกต่อตราสารหนี้ในตลาดสหรัฐฯ
สถานการณ์ที่ดอกเบี้ยน่าจะคงอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน (higher for longer)น่าจะทำให้นักลงทุนเลือกหันกลับมาลงในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าสินทรัพย์อื่น ๆโดยกระจายการลงทุนให้เหมาะสม ตลอดจนหาโอกาสจากการลงทุนที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยสูง ซึ่งอเบอร์ดีนเชื่อว่าการลงทุนในตราสารหนี้จะตอบโจทย์ดังกล่าวได้ดี
วิธีการเลือกตราสารหนี้เข้าพอร์ตรับปี 2024
อเบอร์ดีนชอบการลงทุนในตราสารหนี้โลก แต่ให้น้ำหนักในตราสารหนี้ที่เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ มากกว่า เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า และค่าเงินดอลลาร์ที่น่าจะคงอยู่ในระดับแข็งค่าไปอีกระยะหนึ่ง อเบอร์ดีนแนะนำการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น 1-3 ปี ที่ปัจจุบันให้ผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้ระยะ-ยาว โดยลงทุนในบริษัทที่ดีมีคุณภาพ (แนะนำไม่ต่ำกว่า A-) เพื่อป้องกันปัญหาด้านสภาพคล่อง และน่าจะสร้างผลตอบแทนได้ดี
ทำความรู้จัก ABGFIX จุดเด่นของกอง ABGFIX และนักลงทุนแบบใดควรมี ABGFIX ในพอร์ต
กองทุนเปิดอเบอร์ดีน โกลบอล เอนแฮนซ์ ฟิกซ์ อินคัม ฟันด์ (ABGFIX) เป็นกองทุนเปิดที่ลงทุนในกองทุน abrdn SICAV-I Short dated Enhanced Income Fund Class Z Acc USD (กองทุนหลัก) ซึ่งจะลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินสหรัฐฯ เป็นหลัก และมีบางส่วนที่ลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินอื่น แต่ทั้งนี้กองทุนหลักจะทำการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตราสารหนี้ที่ลงทุนจะอยู่ในระดับ investment grade อย่างน้อย 50% ของสินทรัพย์ของกองทุน และจะลงทุนใน sub-investment grade ไม่เกิน 20%ของสินทรัพย์ทั้งหมด กองทุนหลักจะมี credit rating ของสินทรัพย์เฉลี่ยอยู่ที่ A- และตราสารหนี้ที่ถือจะมีระยะเวลาโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1-2 ปี โดยจุดเด่นของ ABGFIX ประกอบด้วย
- High quality พอร์ตลงทุนมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้เฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ไม่ต่ำกว่า A-
- Enhanced yield กองทุนหลักตั้งเป้าอัตราผลตอบแทน +75-2.25% จาก SOFR*หรืออัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมระยะข้ามคืน ซึ่ง ณ สิ้นเดือนกันยายน SOFR อยู่ที่ 5.31% (ที่มา: Bloomberg) กับตราสารหนี้คุณภาพสูงทั่วโลก โดยอัตราผลตอบแทนเมื่อถือจนครบกำหนดอายุ (YTM) ของกองทุนหลัก ณ สิ้นเดือนกันยายน อยู่ที่ 6.79% ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับความเสี่ยง และตัวเลือกการลงทุนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม YTMไม่ใช่ผลตอบแทนโดยรวมจากการลงทุนของกองทุน (Total Return)
- Low volatility ความผันผวนต่ำ ด้วยอายุเฉลี่ยตราสารหนี้ของพอร์ตน้อยกว่า 2 ปี ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย
- Advanced liquidity สภาพคล่องสูง ผู้ลงทุนสามารถรับเงินคืนภายใน 2 วันทำการ
ที่มา: Presentation กองทุนเปิด อเบอร์ดีน โกลบอล เอนแฮนซ์ ฟิกซ์ อินคัม ฟันด์ (ABGFIX)
ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2566
ที่มา: Presentation กองทุนเปิด อเบอร์ดีน โกลบอล เอนแฮนซ์ ฟิกซ์ อินคัม ฟันด์ (ABGFIX)
ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566
นอกจากนั้น เมื่อเทียบกับกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่ใกล้เคียงกันอื่น ๆ จะเห็นว่าABGFIX ให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ ด้วยอายุเฉลี่ยตราสารหนี้ของ ABGFIX ที่ต่ำกว่า แต่มีเป้าหมายการสร้างผลตอบแทนในระดับที่สูงกว่า ทำให้กองทุนมีความน่าสนใจ ซึ่งจะต่างจากการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวที่อาจจะสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าเพียงเล็กน้อย แต่ก็อาจจะมีสภาพคล่องที่น้อยกว่าและมีโอกาสเสี่ยงต่อความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นในการถือตราสารหนี้ที่มีระยะเวลาที่ยาวกว่า
ที่มา: Presentation กองทุนเปิด อเบอร์ดีน โกลบอล เอนแฮนซ์ ฟิกซ์ อินคัม ฟันด์ (ABGFIX)
ข้อมูล ณ วันที่ 29 กันยายน 2566
กองทุน ABGFIX เหมาะสำหรับการถือลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง
จากสถิติที่ผ่านมา กองทุนหลักมีความสัมพันธ์ที่ตรงกันข้ามกับกองทุนหลักอื่น ๆ ซึ่งอเบอร์ดีนมองว่าเป็นสิ่งที่ดีในการช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุน โดยหากกองทุนอื่น ๆ หรือสินทรัพย์อื่น ๆ ให้ผลตอบแทนที่ติดลบ กองทุนนี้มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่เป็นบวก และช่วยกระจายความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตการลงทุนได้ ทั้งนี้ อเบอร์ดีนมองว่าสัดส่วนความผันผวนต่อผลตอบแทน (returns – volatility ratio) ของกองทุนนี้ที่เกือบเท่ากับ 1แสดงให้เห็นว่ากองทุนนี้สร้างผลตอบแทนได้ดี เมื่อเทียบกับความผันผวน
ที่มา: Presentation กองทุนเปิด อเบอร์ดีน โกลบอล เอนแฮนซ์ ฟิกซ์ อินคัม ฟันด์ (ABGFIX)
ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2566
ที่มา: Presentation กองทุนเปิด อเบอร์ดีน โกลบอล เอนแฮนซ์ ฟิกซ์ อินคัม ฟันด์ (ABGFIX)
ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2566
กองทุน ABGFIX ไม่มีกลไกป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงิน (hedging) จะเกิดผลเสียหรือไม่
อเบอร์ดีนเชื่อว่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากกองทุน ABGFIX ไม่ได้มีกลไก hedging ค่าเงิน อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ แม้ว่าจะทำให้ผลตอบแทนของกองทุนมีความผันผวนมากกว่ากองทุนหลัก แต่จากสถิติย้อนหลังจากการทำพอร์ตจำลอง จะเห็นได้ว่าการไม่ hedge นั้น ทำให้กองทุนสร้างผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่า โดยนักลงทุนไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการ hedging นอกจากนั้นการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อเบอร์ดีนคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้อเบอร์ดีนคิดว่าการไม่มี hedging นั้นเหมาะสมกับสภาพตลาดการลงทุนในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้มากกว่า
ที่มา: Presentation กองทุนเปิด อเบอร์ดีน โกลบอล เอนแฮนซ์ ฟิกซ์ อินคัม ฟันด์ (ABGFIX)
ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2566
ตัวอย่างการลงทุนใน ABGFIX
การลงทุนในตราสารหนี้ในกองทุน ABGFIX กระจายอยู่ในหลาย ๆ ภูมิภาคทั่วโลกโดยให้น้ำหนักในตลาดพัฒนาแล้วมากกว่าตลาดเกิดใหม่ และลงทุนในตราสารหนี้ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่ก็ยังเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นตามนโยบายการลงทุนหลัก
ที่มา: Presentation กองทุนเปิด อเบอร์ดีน โกลบอล เอนแฮนซ์ ฟิกซ์ อินคัม ฟันด์ (ABGFIX)
ข้อมูล ณ วันที่ 29 กันยายน 2566
ที่มา: Presentation กองทุนเปิด อเบอร์ดีน โกลบอล เอนแฮนซ์ ฟิกซ์ อินคัม ฟันด์ (ABGFIX)
ข้อมูล ณ วันที่ 29 กันยายน 2566
ความเสี่ยงที่ควรรู้ก่อนลงทุนใน ABGFIX
อัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจทำให้ราคาตราสารหนี้ผันผวนมากขึ้น ซึ่งจากที่อเบอร์ดีนคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยเข้าใกล้ระดับสูงที่สุดแล้ว ทำให้ความเสี่ยงนี้ค่อนข้างจำกัด นอกจากนั้น การที่กองทุนนี้ไม่มีกลไก hedging อาจทำให้นักลงทุนได้รับผลกระทบหากค่าเงินมีความผันผวน หรือเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอเบอร์ดีนก็มองว่าโอกาสเกิดมีไม่มากนักเช่นกัน
หากนักลงทุนสนใจกองทุน ABGFIX สามารถศึกษารายละเอียดได้จาก https://finno.me/abgfix-ws
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | การลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรก | กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน ปัจจุบันกองทุนไม่มีการป้องกันความเสี่ยง | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในตราสารหนี้ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT