สรุปมุมมองการลงทุนตลาดหุ้นจีนจาก FINNOMENA Live เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2024 ซึ่งมีทั้งการย้อนพัฒนาการที่สำคัญของตลาด การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในรอบสัปดาห์ ปัจจัยหนุน ปัจจัยเสี่ยงของตลาดหุ้นจีน และคำแนะนำการลงทุนในกองทุนหุ้นจีนยอดนิยม
เกิดอะไรขึ้นกับตลาดหุ้นจีน
Source: Finnomena Funds, TradingView as of 29/01/2024
ในช่วง 2 ปีมานี้ หุ้นจีนเป็นขาลงมาตลอด ถูกแล้วก็ยังมีถูกอีก โดยดัชนี CSI 300 และ Hang Seng ปรับตัวลงลึกเกินกว่า 30% โดยเราได้ไล่เรียงเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นจีน เอาไว้ดังนี้
- จีนรายงาน PMI เดือนพฤษภาคม 2022 ภาคการผลิตที่ 48.8 แย่กว่าตลาดคาดที่ 51.4
- รัฐบาลส่งสัญญาณลดการกำกับและควบคุมบริษัทจดทะเบียน
- ที่ประชุม “โปลิตปูโร” ส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจ และแก้ไขปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์
- Country Garden Holdings ผิดนัดชำระหนี้
- พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใหม่ ราว 2.4 หมื่นคน และมีรายงานผู้เสียชีวิตรายแรกในรอบ 6 เดือน
- รัฐบาลยกเลิก Zero Covid
- กระทรวงการคลังประกาศจะสนับสนุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
- หน่วยงานกำกับดูแล อนุมัติแผนระดมทุนของ Ant group ซึ่งเป็นบริษัทการเงินในเครือ Alibaba
- Alibaba ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่
- กระทรวงการคลังลดอากรสแตมป์การซื้อขายหุ้น
- รัฐบาลกลางจีนเตรียมออกพันธบัตร 1 ล้านล้านหยวน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่
- Li Qiang เผย GDP จีน 2023 โต 5.2% ในงาน World Economic Forum ซึ่งต่ำกว่าตลาดคาด แต่สูงกว่าเป้าหมายของรัฐบาล พร้อมให้ความเห็นว่าไม่ต้องใช้มาตรการขนาดใหญ่
เศรษฐกิจจีนไม่เน้นโตระยะสั้นพร้อมกับเพิ่มความเสี่ยงระยะยาว แต่เน้นเสริมความแข็งแกร่งให้กับแรงขับเคลื่อนภายใน เหมือนคนสุขภาพดีย่อมมีภูมิคุ้มกันที่ดี
เศรษฐกิจจีนสามารถรับมือวัฏจักรขึ้น ๆ ลง ๆ ได้ แนวโน้มการเติบโตระยะยาวยังเหมือนเดิม การเลือกตลาดจีนไม่ใช่ความเสี่ยงแต่เป็นโอกาส เราจึงเปิดรับการลงทุนในธุรกิจของทุกประเทศอย่างเปิดกว้างLi Qiang, speech at the World Economic Forum 2024, 16 Jan 2024
จีนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในรอบสัปดาห์
Source: Finnomena Funds, TradingView as of 29/01/2024
หลังจากที่นายกรัฐมนตรี Li Qiang พูดในงาน World Economic Forum ว่าจีนยังแข็งแกร่ง ทำให้ตลาดตีความว่าจีนคงจะไม่กระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่แล้ว ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนร่วงแรงทันที แต่อย่างไรก็ดี ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาก็เกิดการเปลี่ยนแปลงท่าทีอันรวดเร็ว เริ่มมาตั้งแต่
- ข่าวตั้งกองทุนดันตลาดหุ้น มูลค่ากว่า 2 ล้านล้านหยวน โดยใช้กลไก Hong Kong Exchange Link คือเอาเงินจากกองทุนรัฐวิสาหกิจกลับเข้าซื้อหุ้นจีนโดยตรง
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศลดอัตราการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ล่วงหน้า 0.5% คาดว่าจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องระยะยาวได้ 1 ล้านล้านหยวน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2024
- คณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์จีน (CSRC) เพิ่มข้อจำกัดในการยืมหุ้นเพื่อ short-selling เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดหุ้นจีน
- จีนนำกฎการควบคุมการเล่นเกมส์ออกจากเว็ปไซต์ของ NPPA
พัฒนาการดังกล่าวที่ส่งสัญญาณว่ารัฐบาลกำลังเปลี่ยนท่าทีในการเร่งรีบกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ กลายเป็น Catalyst ใหม่ที่หนุน Performance ตลาดให้ปรับตัวขึ้นโดดเด่นเกือบ 10% ในช่วงสัปดาห์ก่อน
ปัจจัยหนุนอื่น ๆ ของตลาดหุ้นจีน
Source: Finnomena Funds, TradingView as of 26/01/2024
หุ้นจีนทุกตลาดถูกกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี ไล่มาตั้งแต่ MSCI China CSI 300 และ HSI ซึ่งปัจจุบันมี PE อยู่ที่ 8.2 เท่า 9.8 เท่า และ 7.2 เท่า ตามลำดับ
Source: Finnomena Funds, TradingView as of 26/01/2024
นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อหุ้นจีนแล้ว หลังเทขายออกมาอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยเสี่ยงของตลาดหุ้นจีน
GDP ไตรมาส 4/2023 จะโต 5.2% แต่ภาคการส่งออกยังติดลบ ทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจจีนกลับมา Negative surprise อีกครั้ง
ความกังวลเรื่องปัญหาเงินฝืดในจีนซึ่งมีสาเหตุจากราคาอาหาร และค่าเดินทางติดต่อสื่อสาร
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังไม่ฟื้นเต็มที่ จำเป็นต้องพึ่งพาให้รัฐต้องอัดฉีดมากกว่านี้
ปริมาณหนี้จีนน่าเป็นห่วง หลังแตะ 300% สูงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว เนื่องจากภาคครัวเรือนมีหนี้สูงขึ้นอย่างมีนัยตั้งแต่ปี 2008
ประชากรจีนพีคแล้ว และกำลังจะกลายเป็นประเทศผู้สูงอายุในปี 2055
Key Takeaway มุมมองการลงทุน FINNOMENA FUNDS
ในภาพรวมทีมวิเคราะห์การลงทุน FINNOMENA FUNDS มองว่าเศรษฐกิจจีนโตที่ 5.2% ในปีที่ผ่านมา ท่ามกลางหลายปัญหาระยะสั้น และปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาว ซึ่งมาจากระดับหนี้ที่สูงและการเข้าสู่สังคมสูงวัย
อย่างไรก็ดี จีนยังมีความหวังจากภาพนโยบายจีนของภาครัฐและธนาคารกลางที่เริ่มกระตุ้นเพิ่มมากขึ้น หันกลับมาเริ่มเอาใจตลาดหุ้นและนักลงทุน ทำให้ตลาดหุ้นจีนมีโอกาสทํารีบาวนด์ หลังนายกยํ้าชัดถึงการใช้มาตรการกระตุ้นที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพ
ที่สำคัญ Valuation ของจีนทุกตลาดอยู่ในราคาที่ถูกกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี สะท้อนความกังวลไปมากแล้ว
ดังนั้น จึงแนะนําว่าเป็นโอกาสทยอยสะสม สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงและยังมีสัดส่วนหุ้นจีนในพอร์ตไม่มากเพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุน โดยแนะนำว่าไม่ควรถือหุ้นจีนในพอร์ตเกินกว่า 15%
FINNOMENA FUNDS ยังคงแนะนำกองทุน K-CHINA-A(A) และ ABCA-A สำหรับการลงทุนระยะยาวตามกรอบ MEVT Call
นอกจากนี้ สำหรับนักลงทุนที่ติดตาม FundTalk Call ขอแนะนำกองทุน MEGA10CHINA-A ที่เน้นเข้าลงทุนใน 10 บริษัทมูลค่าตลาดขนาดใหญ่ของจีนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (Hong Kong Stock Exchange) ซึ่งเน้นความเป็นผู้นำในด้านตราสินค้า (Brand Value) ในกลุ่ม TOP/BEST CHINESE BRANDS
อ่านเพิ่มเติม FundTalk Call: แนะนำเข้าลงทุน Hang Seng หลังถูกสุดในรอบทศวรรษ พร้อมสัญญาณฟื้นจากการกระตุ้นชุดใหญ่
รับชม LIVE ย้อนหลังแบบเต็ม ๆ
ศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299