สรุปกลยุทธ์และมุมมองการลงทุนหลังเหตุการณ์ความตึงเครียดอิสราเอล-อิหร่าน กระทบแค่ในระยะสั้นหรือบานปลายต่อเนื่อง เป็นโอกาสหรือควรตื่นกลัวมากกว่ากัน และจังหวะนี้แนะนำลงทุนอะไร?
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกย่อตัวลงมาแรง อาทิ หุ้นสหรัฐฯ S&P500 -3.05% WoW หุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) -4.83% WoW และหุ้นเวียดนาม (VN Index) -7.97% WoW สวนทางกับราคาน้ำมันที่พุ่งจากความกังวลภาวะสงคราม และทองคำที่ยืนระดับสูงในฐานะ Safe Haven โดยประเด็นกดดันหลัก ๆ มี 3 เรื่อง
- หนึ่งคือ… Fed ส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยยาวนานขึ้น
- สองคือ… ความกังวล US Election ที่อาจเกิด Trade War สหรัฐฯ-จีนอีกรอบ
- สามคือ… ความตึงเครียดจากเหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน
เหตุการณ์ความตึงเครียดอิสราเอล-อิหร่าน
Source: Finnomena Funds, TradingView as of 22/04/2024
สำหรับประเด็นที่ถูกจับตามองมากที่สุดในตอนนี้ คือสงครามอิสราเอล-อิหร่าน
จุดเริ่มต้นมาจากช่วงต้นเดือนเมษายน 2024 ได้เกิดเหตุโจมตีสถานทูตอิหร่าน ในประเทศซีเรีย ซึ่งมีนายทหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่อิหร่านเสียชีวิต 7 ราย และรัฐบาลอิหร่านยืนยันว่าเป็นการโจมตีจากอิสราเอล
กระทั่งวันที่ 12 เมษายน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ “โจ ไบเดน” ให้ข่าวว่าอิหร่านจะโจมตีอิสราเอลกลับอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว
ช่วงกลางคืนของวันที่ 13 และ 14 เมษายน อิหร่านเริ่มปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ โดยยิง โดรนและขีปนาวุธประมาณ 300 ลูก ไปยังพื้นที่เป้าหมายในอิสราเอล แต่อิสราเอลสามารถป้องกันได้ 99%
และเมื่อวันศุกร์ที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา ก็มีกระแสข่าวว่าอิสราเอลเปิดศึกตอบโต้อิหร่านแล้ว หลังเกิดเสียงระเบิดในบริเวณสนามบินอิสฟาฮาน ก่อนที่ทางการอิหร่านจะออกมาระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะเป็นการโจมตีโดยผู้ปลุกปั่นมากกว่าฝีมืออิสราเอล และไม่มีแผนจะตอบโต้อิสราเอล
ทำให้เหมือนว่าล่าสุดท่าทีระหว่างอิสราเอลกับอิหร่าน เริ่มลดระดับความรุนแรงลงแล้ว จากสถานการณ์ที่เริ่มคลี่คลาย ไม่น่าจะเกิดการปะทุรุนแรงต่อเนื่อง
สงครามกับตลาดหุ้นมีความสัมพันธ์กันแค่ไหน?
Source: Investopedia as of 22/04/2024
คำถามคือแล้วเวลาเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบครั้งใหญ่ ๆ สถิติที่ผ่านมา ตลาดตอบรับเรื่องนี้แค่ไหน
จะเห็นว่าความไม่สงบจะกดดันตลาดเฉลี่ย 22 วัน และตลาดจะ Recover เฉลี่ย 47 วัน โดยค่าเฉลี่ยของ Drawdown อยู่ที่ -5.9%
Source: Finnomena Funds, TradingView as of 22/04/2024
ยิ่งถ้าเทียบกับเหตุการณ์ปีที่แล้ว ระหว่างอิสราเอล-ฮามาส ซึ่งกดดัน S&P500 ลงประมาณ 4-5% แต่ก็ฟื้นได้ภายใน 1 เดือน
จึงพอสรุปได้ว่าสงคราม การก่อการร้าย และความไม่สงบในรูปแบบต่าง ๆ มีผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระยะสั้นเท่านั้น และมักจะเป็นโอกาสการลงทุนมากกว่าการตื่นกลัว
Finnomena Funds มองเป็นโอกาสซื้อ มากกว่าตื่นกลัว
มุมมองของทีมวิเคราะห์การลงทุน Finnomena Funds คาดสงครามระหว่างอิสราเอลกับอิหร่านมีผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระยะสั้นเท่านั้น โดยจากการศึกษาเหตุการณ์ในอดีตบ่งชี้ว่า สงคราม การก่อการร้าย และความไม่สงบในรูปแบบต่าง ๆ มักจะเป็นโอกาสการลงทุนมากกว่าการตื่นกลัว นอกจากนั้นพัฒนาการของข่าวล่าสุดชี้ไปทิศทางการลดระดับความรุนแรง (de-escalation) อย่างเห็นได้ชัด
ประกอบกับการที่สถิติในอดีตบ่งชี้ว่าเมื่อเกิดสงครามหรือการก่อการร้าย ตลาดหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 จะปรับตัวลง (total drawdown) โดยเฉลี่ยประมาณ 5% ทำจุดต่ำสุดเฉลี่ยใน 22 วัน และฟื้นตัวกลับมาก่อนเกิดเหตุการณ์ได้โดยเฉลี่ย 47 วัน อย่างไรก็ตาม สถิติในแต่ละครั้งมีช่วงของข้อมูลที่กว้าง เหตุการณ์แต่ละครั้งอาจมีความแตกต่างกันอย่างมีนัย แต่โดยภาพรวมตลาดปรับตัวลงไม่มากอย่างที่นักลงทุนส่วนมากกังวล และฟื้นตัวได้เร็ว
นอกจากนี้ การศึกษาผลตอบแทนของ S&P500 ในช่วงปี 1926-2013 ตลอดช่วงสงครามครั้งสำคัญ ๆ เช่น สงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามเกาหลี, สงครามเวียดนาม และสงครามอ่าว เป็นต้น พบว่า S&P500 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 11% ต่อปี เทียบกับผลตอบแทนตลอดช่วงที่ทำการศึกษาเฉลี่ย 10% ต่อปี ซึ่งผลการศึกษาเหล่านี้ชี้ชัดแล้วว่าสงครามกับผลตอบแทนดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ (น้ำหนักราว 60% ของดัชนีหุ้นโลก) อาจไม่ได้เป็นประเด็น โดยเฉพาะเมื่อมองข้ามความผันผวนในระยะสั้น
Finnomena Funds จึงมองว่าเหตุการณ์ความขัดแย้งล่าสุด และการปรับตัวลงของหุ้นในช่วงสงครามมักเป็นโอกาสซื้อมากกว่าตื่นกลัวต่อการลงทุน โดยเป็นจังหวะสะสมในสินทรัพย์เสี่ยง ด้วยกลยุทธ์ Buy the Dip
กองทุนที่แนะนำในจังหวะนี้ตามมุมมอง MEVT Call ทยอยสะสมระยะกลาง-ยาว คือ
- หุ้นเวียดนาม PRINCIPAL VNEQ-A
- หุ้นยุโรป ONE-EUROEQ
- หุ้นสหรัฐอเมริกา AFMOAT-HA
กองทุนแนะนำตามมุมมอง Mr.Messenger Call จับจังหวะเก็งกำไรระยะสั้น ตามสัญญาณทางเทคนิค คือ
- หุ้นเวียดนาม PRINCIPAL VNEQ-A
- หุ้นยุโรป ONE-EUROEQ และ ABEG
- หุ้นอินเดีย B-BHARATA และ TISCOINA-A
- หุ้นจีน B-CHINE-EQ และ K-CHINA-A(A)
สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/
แหล่งอ้างอิง: Reuters, Investopedia, cfainstitute, Politico
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299