วิธีวางแผนการเงินฉบับคู่รัก

ว่ากันว่าแค่คิดจะมีลูก 1 คน อาจทำให้ใครหลายจนไป 10 ปี! คำพูดนี้ดูเหมือนจะรุนแรง และทิ่มแทงคู่รักที่กำลังเตรียมตัวสร้างครอบครัวในฝันมากทีเดียว แต่เอาเข้าจริงแล้วการเลี้ยงลูกคนหนึ่งให้เติบโตแบบมีคุณภาพนั้นต้องวางแผนให้ดีตั้งแต่เนิ่น ๆ พร้อมทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ แรงเงิน และเวลาในชีวิต 

จะดีกว่าไหม… ถ้าเราเตรียมตัวให้พร้อมไว้ก่อนกับค่าใช้จ่ายมหาศาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยการออกแบบแผนการเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมาย และสามารถใช้ได้จริง เพื่อให้ชีวิตคู่แฮปปี้ ไม่ทุกข์ใจเรื่องเงินทอง

วิธีวางแผนการเงินฉบับคู่รัก

“FINNOMENA FUNDS Goals Navigator”
นวัตกรรมวางแผนการลงทุนจัดพอร์ตระดับโลก
ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายชีวิต ร่วมเคียงข้างคุณจนถึงฝัน
👉 ลงทะเบียนรับบริการ คลิก >> https://finno.me/gnavi-web

Checklist สุขภาพการเงินในครอบครัว

ก่อนจะไปถึงขั้นตอนตั้งเป้าหมาย สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือการตรวจสอบสุขภาพการเงินของครอบครัว ซึ่งต้องเปิดใจทำร่วมกันทั้ง 2 คน หากเจอปัญหาตรงไหนจะได้รีบแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ และปรับปรุงแผนการเงินไปด้วยกัน ซึ่งมีเช็กลิสต์หลัก ๆ ดังนี้

  • เช็กเงินออม: เมื่อหักรายจ่ายประจำเดือนแล้ว ทั้งคู่มีเหลือเงินออมเท่าไหร่ และแต่ละคนมีเงินเก็บส่วนอื่น ๆ ที่สำรองไว้มากน้อยแค่ไหน เพื่อจะได้นำมาจัดสรรเป็นบัญชีครอบครัว เช่น บัญชีกองกลาง บัญชีสำรองเผื่อฉุกเฉิน บัญชีอนาคตเพื่อลูก เป็นต้น
  • เช็กหนี้สิน: เมื่อลงเรือลำเดียวกันแล้ว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหนี้สินที่ยังติดภาระต้องผ่อนอยู่ ก็ควรแจ้งให้อีกฝ่ายได้ทราบร่วมกัน หากเกิดปัญหาผ่อนไม่ไหว หรือเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา อีกฝ่ายจะได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือได้ทันท่วงที และสามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ 
  • เช็กภาระค่าใช้จ่าย: คำว่าค่าใช้จ่ายนั้นครอบคลุมทั้งค่าใช้จ่ายจิปาถะส่วนตัวในชีวิตประจำวัน ภาระหนี้สินต่าง ๆ ในแต่ละเดือน เงินให้พ่อแม่ ตลอดจนค่าใช้จ่ายเงินในกรณีฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ เป็นต้น 

มีลูก 1 คน ต้องใช้เงินเท่าไร?

เพื่อให้เห็นภาพการวางแผนการเงินได้ชัดเจนขึ้น เราจึงได้สรุปค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่ต้องเจอแน่ ๆ ในการเลี้ยงดูลูกหนึ่งคน ตั้งแต่เกิด โต และเรียนจบ โดยแบ่งออกเป็น 5 ช่วงชีวิต 

หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นการประมาณการเบื้องต้น โดยคิดเฉลี่ยจากข้อมูลที่เก็บรวบรวม ณ ปี 2023 จึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยต่าง ๆ 

ช่วงที่ 1: ตั้งครรภ์ 

ค่ารักษาพยาบาลคือค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ที่ต้องเจอในช่วงนี้ เริ่มตั้งแต่ค่าฝากครรภ์ ยาบำรุง อาหารเสริม ไปจนถึงค่าทำคลอด โดยรวมค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 50,000 – 120,000 บาท 

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลอาจจะสูงหรือต่ำกว่านี้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบในการคลอด แพ็กเกจค่าคลอด และโรงพยาบาลที่เลือก ตลอดจนค่าบำรุงครรภ์ของคุณแม่ที่แตกต่างกันไปตามละบุคคล

ช่วงที่ 2: แรกเกิดจนถึงอายุ 4 ขวบ

ในช่วงก่อนวัยเรียนซึ่งลูกยังเป็นทารก ค่าใช้จ่ายจะไปหนักในส่วนของอุปกรณ์สำหรับการเลี้ยงดู เช่น เครื่องนอน, รถเข็นเด็ก, คาร์ซีท, ผ้าอ้อม, เสื้อผ้า, ขวดนม, ของเล่นเสริมพัฒนาการ เป็นต้น เบ็ดเสร็จแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 – 50,000 บาท ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้

นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายทุกเดือนอย่างค่านม ค่าอาหาร ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ประมาณ 3,000 – 5,000 บาทต่อเดือน รวมไปถึงอาจจะต้องสำรองเงินบางส่วนไว้สำหรับค่ารักษาพยาบาลด้วย เพราะเด็กวัยนี้ร่างกายยังไม่แข็งแรง จึงมีโอกาสที่จะป่วยได้ง่าย 

ช่วงที่ 3: อนุบาลถึงประถม อายุ 4 – 12 ขวบ

เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยเรียน แน่นอนว่ารายจ่ายก้อนโตที่จะเข้ามานั่นคือ ค่าเทอมและอุปกรณ์การเรียน สำหรับค่าเทอมเริ่มต้นคือเรียนโรงเรียนรัฐบาลเป็นหลัก ตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึง ป. 6 รวมแล้วต้องเตรียมเงินประมาณ 40,000 บาท

แต่หากเปลี่ยนเป็นเรียนโรงเรียนเอกชนหรือโรงเรียนนานาชาติ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะสูงถึงหลักแสน หรือล้านบาทเลยทีเดียว

ส่วนค่าใช้จ่ายรายเดือนของเด็กวัยนี้ ก็อาจจะสูงขึ้นมาเช่นกัน เพราะมีทั้งค่าอาหาร ค่าขนม ของเล่น เงินไปโรงเรียน และค่าใช้จ่ายจิปาถะต่าง ๆ ของเด็กวัยเรียน จึงควรเตรียมไว้ที่ประมาณ 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือน

ช่วงที่ 4: วัยรุ่นมัธยม อายุ 12 – 18 ปี

รายจ่ายวัยมัธยมจะไม่ได้แตกต่างจากวัยอนุบาลถึงประถมมากนัก เพราะเงินก้อนใหญ่จะหมดไปกับการศึกษาเหมือนกัน ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับโรงเรียนที่เราเลือก แต่สิ่งที่เด็กวัยนี้จะมีเพิ่มขึ้นมาก คือ ค่าเรียนพิเศษ และค่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น สมาร์ทโฟน ไอแพด โน๊ตบุ๊ค ซึ่งกลายเป็นสิ่งของจำเป็นไปแล้วในยุคปัจจุบัน

ส่วนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 3,000 – 10,000 บาทต่อเดือน แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ใช้วิธีให้เงินลูกเป็นรายเดือนหรือรายสัปดาห์ไปเลย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสอนเรื่องการวางแผนการเงินและฝึกนิสัยการออมให้กับลูกตั้งแต่วัยเรียน

ช่วงที่ 5: หนุ่มสาวมหาวิทยาลัย อายุ 18 – 22 ปี

เมื่อก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ค่าเทอมก็ยังเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดิม ซึ่งจะแปรผันตามว่าจะเรียนที่ไหน จะเรียนคณะอะไร ในประเทศหรือต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ดี ขั้นต่ำควรมีเงินก้อนประมาณ 150,000 บาท สำหรับการเรียน 4 ปี 

ส่วนค่าใช้จ่ายที่มักจะตามมาเพิ่มเติม ได้แก่ ค่าหอพัก ค่าเดินทาง ของใช้ส่วนตัว ค่าศึกษาดูงาน เป็นต้น เฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 – 20,000 บาทต่อเดือน

อย่าลืมนำค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไปคำนวณเงินเฟ้อด้วยนะ โดยทั่วไปแล้วอัตราเงินเฟ้อค่ากินอยู่เฉลี่ยที่ 3% ต่อปี ส่วนอัตราเงินเฟ้อสำหรับการศึกษาจะสูงขึ้นเป็น 6% ต่อปี

ทุ่มเทวางแผนการเงินให้ลูกแล้ว อย่าลืมดูแลแผนเกษียณชีวิตคู่

อย่ามัวแต่ทุ่มเททำงานหนักเพื่อเจ้าตัวเล็ก จนลืมหันกลับมามองเป้าหมายเกษียณสุขของตัวเองและคู่รักด้วย ซึ่งสิ่งที่ต้องพิจารณาเลยก็คือ เงินที่ต้องใช้หลังเกษียณ ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และเงินก้อนสำหรับเติมเต็มความสุขในชีวิต 

แนะนำให้แยกเป้าหมายของลูก และเป้าหมายชีวิตคู่ออกจากกันก่อน จะได้กำหนดจำนวนเงินให้ชัดเจน และสร้างแผนการลงทุนได้อย่างเหมาะสม จากนั้นค่อยนำมารวมเป็นภาพเป้าหมายใหญ่เพื่อให้เห็น Life Path ของชีวิต

สำหรับใครที่กำลังมองหาผู้ช่วยเพื่อให้เป้าหมายที่ยุ่งยากและมากมาย มีโอกาสสำเร็จได้จริงยิ่งขึ้น ขอแนะนำ Goals Navigator นวัตกรรมวางแผนการลงทุนที่ FINNOMENA FUNDS พัฒนาร่วมกับ Franklin Templeton ซึ่งจะช่วยออกแบบแผนการลงทุนที่เหมาะกับคุณโดยเฉพาะ ทำให้เป้าหมายชีวิตคู่และลูกรักเป็นจริงง่ายขึ้น

Goals Navigator จะช่วยคุณจัดการเป้าหมายที่หลากหลายและยุ่งยาก ด้วยการจัดสรรให้เงินทำงานตามความสำคัญของแต่ละแผนแบบ Multi-goal, Multi-priority แบ่งเป็น Need Want Wish Dream โดยให้สิ่งที่สำคัญและเร่งด้วยสำเร็จก่อน พร้อมดูแลจนถึงทุกเป้าหมายไปพร้อมกับผู้แนะนำการลงทุนมืออาชีพ 

“FINNOMENA FUNDS Goals Navigator”
นวัตกรรมวางแผนการลงทุนจัดพอร์ตระดับโลก
ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายชีวิต ร่วมเคียงข้างคุณจนถึงฝัน
👉 ลงทะเบียนรับบริการ คลิก >> https://finno.me/gnavi-web


*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำควรเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

TSF2024