รู้จักเครื่องมือจับจังหวะเศรษฐกิจของ Franklin Templeton ใช้จับจังหวะตลาดได้ดีแค่ไหน

จากบทความหลาย ๆ อันก่อนหน้านี้ของเรา ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง สะท้อนจากเครื่องชี้วัดความเสี่ยงในการถดถอย (US recession risk indicator) ที่แสดงผลเป็นบวกทั้งหมดตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2021 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน (ล่าสุดเดือนกันยายน 2021)

ในบทความนี้ เราจะมาวิเคราะห์ว่าแต่ละเครื่องชี้วัดผลอะไร แปลผล และส่งสัญญาณต่อเศรษฐกิจในอนาคตว่าอย่างไรบ้าง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ และสามารถประเมินภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

รู้จักเครื่องมือจับจังหวะเศรษฐกิจของ Franklin Templeton ใช้จับจังหวะตลาดได้ดีแค่ไหน

เครื่องชี้วัดด้านผู้บริโภค (Consumer)

รู้จักเครื่องมือจับจังหวะเศรษฐกิจของ Franklin Templeton ใช้จับจังหวะตลาดได้ดีแค่ไหน

  • Housing Permits วัดปริมาณการซื้อบ้านใหม่ โดยหากเศรษฐกิจชะลอตัว ประชาชนมักจะชะลอการซื้อบ้าน และอาศัยอยู่ที่เดิมไปก่อนจนกว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น เพราะบ้านมีราคาสูง และผู้บริโภคมักจะชะลอการซื้อสินทรัพย์ที่มีราคาสูง ถ้ายังไม่มั่นใจต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในอนาคต ดังนั้น ถ้า Housing Permits ปรับตัวสูงขึ้น แสดงว่าเศรษฐกิจน่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวเช่นเดียวกัน
  • Job Sentiment วัดระดับบรรยากาศการจ้างงาน โดยตลาดแรงงานที่เติบโต บรรยากาศการจ้างงานที่ดีขึ้นจะส่งผลให้ประชาชนกล้าใช้จ่ายมากขึ้น และกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในทางกลับกัน ถ้าบรรยากาศตลาดแรงงานไม่ดี ประชาชนจะลดการใช้จ่าย เป็นผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงในที่สุด
  • Jobless Claims วัดระดับการว่างงาน โดยการว่างงานที่สูงขึ้น ทำให้แรงงานขาดรายได้ ซึ่งจะส่งผลให้การใช้จ่ายลดลงอย่างมีนัยสำคัญด้วย เนื่องจากประชาชนไม่มั่นใจว่าจะสามารถหารายได้ได้เพียงพอหรือไม่ และไม่มั่นใจว่าจะกลับมาทำงานได้อีกครั้งเมื่อใด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น Jobless Claims ในระดับสูง แสดงว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัว
  • Retail Sales วัดระดับการอุปโภคบริโภคของประชาชน ซึ่งเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) โดยเฉพาะในประเทศระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐฯ
  • Wage Growth วัดระดับการเติบโตของค่าแรง โดยค่าแรงที่สูงขึ้นจะกระตุ้นการใช้จ่าย และความต้องการที่สูงขึ้นนี้เองจะกดดันทำให้ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้นด้วย นอกจากนั้น ค่าแรงที่สูงขึ้นยังเป็นต้นทุนของบริษัทผู้ผลิต ซึ่งมักจะผลักต้นทุนส่วนนี้มาเพิ่มในราคาสินค้าและบริการ ให้ปรับตัวสูงขึ้นอีกทางหนึ่ง ทำให้เครื่องชี้ Wage Growth นี้มักสะท้อนอัตราเงินเฟ้อด้วย

เครื่องชี้วัดด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Business activity)

รู้จักเครื่องมือจับจังหวะเศรษฐกิจของ Franklin Templeton ใช้จับจังหวะตลาดได้ดีแค่ไหน

รู้จักเครื่องมือจับจังหวะเศรษฐกิจของ Franklin Templeton ใช้จับจังหวะตลาดได้ดีแค่ไหน

  • Commodities วัดระดับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในสินค้าต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ทองแดง เหล็ก ไม้ และน้ำมัน โดยในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว การใช้จ่ายลดลง ทำให้ความต้องการสินค้าต่าง ๆ ลดลงด้วย เป็นผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และวัตถุดิบต่าง ๆ ข้างต้นจะปรับตัวลง
  • ISM New Orders วัดประมาณการของคำสั่งซื้อในอนาคตของธุรกิจ เช่น ถ้าธุรกิจประมาณการว่าจะมีปริมาณการสั่งซื้อเข้ามาเพิ่ม แสดงว่าผู้ประกอบธุรกิจมองว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว และกิจกรรมทางเศรษฐกิจกำลังจะกลับมาอีกครั้ง
  • Profit Margins วัดระดับอัตราการทำกำไรของบริษัท โดยระดับกำไรของบริษัทจะเริ่มลดลง เมื่อเศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัว กล่าวคือ สินค้าและบริการขายได้น้อยลง แต่ต้นทุนไม่ได้ลดลงในอัตราส่วนที่เท่ากัน ทำให้บริษัทลดการลงทุน ตลอดจนการจ้างงาน เป็นผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวในที่สุด
  • Truck Shipments วัดระดับปริมาณการขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุก โดยในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ความต้องการของสินค้าจะลดลง เป็นผลให้ Truck Shipments ปรับตัวลดลง

เครื่องชี้วัดด้านการเงิน (Financial)

รู้จักเครื่องมือจับจังหวะเศรษฐกิจของ Franklin Templeton ใช้จับจังหวะตลาดได้ดีแค่ไหน

  • Credit Spreads วัดความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนหุ้นกู้เอกชนกับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีระยะเวลาเท่ากัน โดยยิ่ง Credit Spreads สูงขึ้น จะส่งสัญญาณว่า นักลงทุนวิตกกังวลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท ทำให้ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นเพื่อชดเชยกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว
  • Money Supply วัดปริมาณเงินในระบบ โดยที่ช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ธนาคารกลางมักอัดฉีดเงินเข้าระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในทางกลับกัน ถ้าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ธนาคารกลางก็มักจะดึงเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจลง
  • Yield Curve วัดความแตกต่างของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี และ 3 เดือน โดยยิ่งํ Yield Curve มีค่ามากขึ้น (ชันขึ้น) หมายความว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะดีกว่าเศรษฐกิจปัจจุบันมากขึ้นตามลำดับ

เครื่องชี้วัดต่าง ๆ ข้างต้นสามารถปรับระดับเพื่อจำลองผลกระทบต่อภาวะโดยรวมได้ด้วยตนเอง ปรับแล้วจะเป็นอย่างไร หน้าตาเป็นแบบไหน คลิกที่ลิ้งก์ด้านล่างเพื่อทดลองใช้กันได้เลยครับ ฟรี!

 https://www.franklintempleton.com/insights/anatomy-of-a-recession#recession-risk

สรุปมุมมองปัจจุบัน

เราเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง และจะเติบโตต่อเนื่องต่อไป สะท้อนจากเครื่องชี้ทั้งหมดที่แสดงผลเป็นสีเขียวตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2021 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน (ล่าสุดเดือนกันยายน 2021) โดยเครื่องชี้ต่าง ๆ แสดงจุดต่ำสุดในช่วงปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่ COVID-19 ระบาดใหม่ ๆ และมีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง อย่างไรก็ดี การระดมฉีดวัคซีน และค่อย ๆ เปิดเมื่องทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาอีกครั้ง และเครื่องชี้หลายตัวได้เริ่มทยอยเปลี่ยนสีจากแดง เป็นเหลือง และเขียวในที่สุด ดังตารางด้านล่าง โดยผู้เขียนได้นำเครื่องชี้แบบเดียวกัน ที่แสดงผลในปี 2007-2009 (ช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์) และ 2001 (ช่วยวิกฤติ Dotcom) เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพการฟื้นตัว และการเปลี่ยนสีของเครื่องชี้ในช่วงเวลาต่าง ๆ ที่ชัดเจนขึ้นด้วย

กรณีศึกษาของเครื่องชี้ต่าง ๆ ด้วยตัวเอง

รู้จักเครื่องมือจับจังหวะเศรษฐกิจของ Franklin Templeton ใช้จับจังหวะตลาดได้ดีแค่ไหน

กราฟด้านบนแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวขึ้นลงของดัชนี S&P500 และเครื่องชี้ภาพรวม โดยจะเห็นว่าเมื่อเครื่องชี้เป็นสีเขียว ดัชนี S&P500 ปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ดี การอ่านเครื่องชี้ต่าง ๆ ต้องอ่านด้วยความระมัดระวัง และประเมินสถานการณ์จริงประกอบด้วย โดยเมื่อเริ่มมีสัญญาณสีเหลือง (เริ่มจาก Yield Curve Inverts และ Recession) ตลาดหุ้นยังสามารถปรับตัวขึ้นได้ ก่อนมีการปรับฐานอย่างมีนัยสำคัญ และเครื่องชี้ทั้งหมดเปลี่ยนเป็นสีแดง ทั้งนี้ ใน วิกฤติ COVID-19 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีความเฉพาะตัวสูง ดัชนี S&P500 ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และเร็วกว่าการแสดงผลของเครื่องชี้ต่าง ๆ ที่ยังเป็นสีแดงอยู่ (เครื่องชี้ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาในการแสดงผล) แม้ว่าดัชนี S&P500 จะฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญแล้ว และภายหลังเครื่องชี้ต่าง ๆ ก็แสดงผลเป็นสีเขียว แสดงสัญญาณที่ชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และน่าจะแสดงว่าการฟื้นตัวดังกล่าวมีความแข็งแกร่ง และเศรษฐกิจน่าจะเติบโตต่อเนื่องในอนาคต

เนื้อหาต้นฉบับโดย 

ClearBridge Investment

ข้อสงวนสิทธิ์

  1. แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (“Franklin Templeton”) ให้บริการการให้คำแนะนำทั่วไปแก่ FINNOMENA ในการออกแบบพอร์ตการลงทุน (Asset Allocations)
  2. แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (“Franklin Templeton”) ไม่รับผิดใด ๆ ต่อบุคคลภายนอก ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ บริการ เว็บไซต์ หรือเนื้อหาใด ๆ ที่ได้จัดทำหรือปรากฏในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอกนั้น อีกทั้ง Franklin Templeton ไม่ได้ให้คำรับรอง รับประกัน หรือเป็นตัวแทน ไม่ว่าจะโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายในเนื้อหาหรือความถูกต้องของข้อมูลในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอก และไม่รับผิดต่อสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้น
  3. ในกรณีที่มีความแตกต่างกันระหว่างเอกสารภาษาอังกฤษกับการแปลเป็นภาษาไทย ให้ยึดถือตามเอกสารภาษาอังกฤษ

แหล่งข้อมูล

 https://www.franklintempleton.com/insights/anatomy-of-a-recession#recession-risk