สรุปมุมมองดอกเบี้ยและเงินเฟ้อ จากกูรู Franklin Templeton

สรุปมุมมองดอกเบี้ยและเงินเฟ้อ จากกูรู Franklin Templeton

เงินเฟ้อที่กำลังจะเกิดขึ้นจะเป็นปัจจัยระยะสั้น หรือปัจจัยระยะยาว?

GDP สหรัฐฯ อาจเติบโต 7%-8% ในปีนี้ และอาจชะลอตัวลงมาที่ 3% ในปีหน้า มันคงจะเป็นเรื่องแปลกมากที่เงินเฟ้อจะเร่งตัวต่อไป ในขณะที่การเติบโตของเศรษฐกิจลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ – John Bellows

มุมมองจากคุณ John Bellows

John Bellows: สิ่งสำคัญอันดับแรกคงเป็นการมองว่าตลาดกำลังคิดอะไร? ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี กำลังปรับตัวขึ้นจากระดับ 0.90% ตอนต้นปีมาที่ 1.75% (จุดสูงสุด) ตอนเดือน มีนาคม ซึ่งเป็นสัญญาณที่ค่อนข้างชัดเจน ว่าตลาดกำลังมองถึงเงินเฟ้อที่อาจปรับตัวสูงขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และกำลังมองไปถึงอัตราเงินเฟ้อในส่วนของ CPI ในระดับเหนือ 2.5% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นเป้าหมาย Fed และเหนือกว่าระดับในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

อีกสิ่งหนึ่งที่ตลาดกำลังมองไปข้างหน้าอาจเป็นการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงเดือน ธันวาคม ปี 2022 ที่อาจเกิดขึ้นหลังอัตราการว่างงานลดลง และความคาดหวังเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ยั่งยืน

แต่หากเรามาดูวิธีการที่ตลาดให้ราคากับเหตุการณ์ดังกล่าว ผมคิดว่า ความเสี่ยงที่ว่าค่อนข้างสมเหตุสมผลกับความเสี่ยงที่เงินเฟ้อในอนาคตอาจต่ำกว่าที่คาด (เงินเฟ้ออาจไม่ถึงเป้า) และการขึ้นดอกเบี้ยอาจเป็นไปช้ากว่าที่คาด

ส่วนในเรื่องของเศรษฐกิจ ช่วงหลังการเปิดเมืองอาจทำให้ Demand เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง และอาจทำให้ทางด้านผู้ผลิต (Supply) เริ่มตึงตัว เช่น การทานอาหารนอกบ้าน จนอาจทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า

แต่ถึงอย่างนั้นสิ่งนี้ก็อาจจะไม่คงอยู่ตลอดไป หลังการปรับตัวอย่างร้อนแรง

คิดง่าย ๆ ก็เช่น ช่วงปี 2019 ที่อัตราการว่างานอยู่ในระดับต่ำ (3.5%) รวมถึงการปรับลดภาษี โดยเฉพาะกับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่สร้างแรงกดดันกับเงินเฟ้อ

ผมคิดว่ามันอาจเป็นไปได้ที่เราอาจจะกลับมาอยู่ในช่วงคล้ายคลึงกับปี 2019 ในเชิงเศรษฐกิจ และผมคิดว่าตลาดกำลังให้ราคากับเงินเฟ้อที่ยั่งยืน และอัตราดอกเบี้ยที่อาจปรับตัวขึ้น และการปรับตัวของเงินเฟ้ออย่างร้อนแรงในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า เป็นแค่เรื่องชั่วคราว เราอาจได้เห็น GDP สหรัฐฯ เติบโต 7%-8% ในปีนี้ ก่อนจะลดลงมาที่ 3% ในปีถัดไป

มุมมองจากคุณ Gene Podkaminer

Fed ได้คาดการณ์ถึงการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต และเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแน่ชัดว่า Fed และธนาคารกลางอื่น ๆ เริ่มส่งสัญญาณถึงการขึ้นดอกเบี้ย แต่คำถามก็คือเรากังวลเรื่องเหล่านั้นหรือไม่? พวกเราขอตอบว่าไม่ – Gene Podkaminer

Gene Podkaminer: เงินเฟ้อเป็นเรื่องที่อยู่ในความคิดของผู้คนในตลาดหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว รวมไปถึงนโยบายทางการเงินและการคลังที่เป็นไปในเชิงสนับสนุน การฟื้นตัวของราคาโภคภัณฑ์ส่งผลให้เงินเฟ้อปรับตัวขึ้น และมันอาจไม่เป็นปัญหา เพราะ มันจะถูกดึงกลับมาด้วย Demand ที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนั้นการเติบโตของเงินเฟ้อในระยะยาวอาจลดลง จากการที่การกระจายการผลิตอาจมาถึงจุดจบ จากความกังวลเกี่ยวกับกำไร

ในส่วนของอัตราดอกเบี้ย ธนาคารกลางกำลังดำเนินการเรื่องนี้อย่างระมัดระวังและทำไปเพื่อรักษาสภาพคล่อง ปัจจัยสำคัญอาจอยู่ที่มาตรการทางการคลังที่จะช่วยสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และนี่เป็นสิ่งที่เราให้น้ำหนักมากกว่าความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ในระยะกลางการเติบโตยังคงแข็งแกร่ง และเงินเฟ้ออาจยังไม่ใช่ปัญหา

นอกจากนั้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินต่อไปอีกนาน และอาจทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบขึ้นดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยอาจไม่ปรับขึ้นไปจนกว่าจะจบปี 2022 หรือนานกว่านั้น

มาตรการกระตุ้นในตอนนี้เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อในรอบหลายสิบปี และเราควรจะยินดีไปกับมัน เพราะ มันจะส่งผลดีต่อพอร์ตการลงทุนของเรา

มุมมองจากคุณ Sonal Desai

Sonal Desai: ฉันขอบอกไว้ก่อนว่า ฉันจะไม่คาดการณ์เรื่องการก่อตัวของเงินเฟ้อในอนาคต แต่ฉันคิดว่าเงินเฟ้อจะสูงกว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราไม่คิดว่าเราจะเห็นมาตรการกระตุ้นที่คิดเป็นสัดส่วน 15% ของ GDP แบบปีต่อปี แต่มาตรการทางการคลังก็ไม่ได้จะหายออกไปทันทีเช่นกัน ฉันเลยมองว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจรวมถึงราคาจะคงอยู่ไปมากกว่า 2 ปี

มีอีกสองเรื่องที่ฉันอยากพูดเพิ่มเติม เรื่องแรก คือ เรื่องของการชะลอตัวของเศรษฐกิจ (Stagnation) เพราะ ประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อฝั่ง Supply มากกว่าฝั่งของ Demand

เรื่องที่สอง คือ การเปรียบเทียบเรื่องสถานะทางการคลังของญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ เพราะ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเผชิญปัญหาเกี่ยวกับบริษัทที่ไม่เติบโต (Zombie Company) และระบบทางการเงินที่มีปัญหา ในขณะที่มาตรการกระตุ้นของสหรัฐฯ ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินดีขึ้น และอาจนำไปสู่การเติบโตในอนาคต

มุมมองจากคุณ Francis Scotland

Francis: สิ่งที่ Sonal พูดนั้นถูกที่สุดแล้ว! จีนเองก็เคยเผชิญกับวิกฤติการเงินโลกจนทำให้ขาดดุลทางการคลัง 15% ในขณะที่ญี่ปุ่นก็ขาดดุลการคลังเฉลี่ย 6% หรือ 7% ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และสหรัฐฯ กำลังจะเป็นเช่นเดียวกัน

เราต้องไม่ลืมว่าภาวะ stagnation เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก จากแรงกดดันทาง Demographic หรือพื้นภูมิประชากรรวมถึงเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยฝั่ง Supply สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างสมดุลเงินเฟ้อ

นอกจากนั้นทาง Fed ยังกังวลถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่อาจรวดเร็วเกินไป ทางด้านนโยบายการคลังก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย แต่จะไปถึงเท่าไรนั้น ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองกันต่อไป เรามองเห็นถึงสัญญาณเงินเฟ้อชั่วคราว และเราจะจับตามองกันต่อไปว่าหลังจากนั้นจะเกิดอะไรขึ้น

เนื้อหาต้นฉบับโดย John Bellows, Ph.D., Portfolio Manager, Western Asset

Sonal Desai, Ph. D., Chief Investment Officer, Franklin Templeton Fixed Income

Michael Hasenstab, Ph. D., Chief Investment Officer, Templeton Global Macro

Gene Podkaminer, CFA, Head of Research, Franklin Templeton Investment Solutions

และ

Francis Scotland,  Director of Global Macro Research, Brandywine Global

เรียบเรียงโดย FINNOMENA Admin

ข้อสงวนสิทธิ์

  1. แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (“Franklin Templeton”) ให้บริการการให้คำแนะนำทั่วไปแก่ FINNOMENA ในการออกแบบพอร์ตการลงทุน (Asset Allocations)
  2. แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (“Franklin Templeton”) ไม่รับผิดใด ๆ ต่อบุคคลภายนอก ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ บริการ เว็บไซต์ หรือเนื้อหาใด ๆ ที่ได้จัดทำหรือปรากฏในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอกนั้น อีกทั้ง Franklin Templeton ไม่ได้ให้คำรับรอง รับประกัน หรือเป็นตัวแทน ไม่ว่าจะโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายในเนื้อหาหรือความถูกต้องของข้อมูลในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอก และไม่รับผิดต่อสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้น
  3. ในกรณีที่มีความแตกต่างกันระหว่างเอกสารภาษาอังกฤษกับการแปลเป็นภาษาไทย ให้ยึดถือตามเอกสารภาษาอังกฤษ

แหล่งข้อมูล

https://www.franklintempleton.com/content-ftthinks/common/macro-perspectives/growth-rates-and-inflation/macro-views-us-0521.pdf