จากมาตรการเยียวยาระหว่างการแพร่ระบาดของ COVID-19 (เช่น เงินอุดหนุน และเงินชดเชยการว่างงาน) และการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก (เช่น การเร่งเบิกจ่าย และการลงทุนภาครัฐ) ทำให้เม็ดเงินจำนวนมากไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ สร้างการเติบโต จนเศรษฐกิจหลายประเทศกลับเข้าสู่ระดับที่ใกล้เคียงเดิม หรือเกินกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งนี้เอง ทำให้กำลังซื้อ และความต้องการสินค้าและบริการที่คั่งค้างตั้งแต่ช่วง COVID-19 (Pent-up demand) เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน เมื่อการผลิตสินค้าและบริการไม่ทันกับความต้องการ จากการชะงักชะงันของห่วงโซ่การผลิต (Supply chain) จึงเป็นเหตุให้ราคาสินค้า และบริการปรับตัวขึ้น และเกิดเป็นภาวะเงินเฟ้อในที่สุด อย่างไรก็ดี เรายังเชื่อว่าเศรษฐกิจจะยังเติบโตได้ต่อเนื่องท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งในรายงานฉบับนี้ เราจะวิเคราะห์ถึงบทบาทของเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น ภาพเศรษฐกิจภาพใหญ่ และมุมมองการลงทุนของเราในปี 2022 ดังนี้
ล่าสุด เงินเฟ้อสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสูงแตะระดับ 7% ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ในขณะที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปอยู่ที่ระดับใกล้ 5% ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 40 และ 30 ปี ตามลำดับ โดยราคาสินค้าและบริการต่างปรับตัวขึ้นในวงกว้าง และครอบคลุมสินค้าหลายชนิด (แม้ว่าในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปจะยังมาจากกลุ่มพลังงานเป็นส่วนใหญ่อยู่ แต่ก็เริ่มแสดงสัญญาณวงกว้างมากขึ้น) ในขณะที่ค่าแรงค่อย ๆ เริ่มปรับตัวขึ้นมา ซึ่งยังช้ากว่าการปรับขึ้นของราคาสินค้าและบริการ
เราเชื่อว่า ราคาสินค้าและบริการในระดับสูง ประกอบกับแรงกดดันจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้เราเห็นภาวะเงินเฟ้อในระยะสั้นต่อไปอีก แต่เรายังมองว่าเศรษฐกิจน่าจะยังเติบโตได้ดี จากปัจจัยด้านการบริโภคในประเทศเป็นสำคัญ โดยเราเชื่อมั่นว่าตัวเลขด้านการจ้างงานน่าจะออกมาน่าพอใจ และตัวเลขการผลิตสินค้า เพื่อมาแทนสินค้าคงคลังจะยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
Figure 1 ตารางแสดงอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐฯ โดยจะเห็นว่าตัวเลขค่อย ๆ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และตัวเลขล่าสุด (7% ในเดือนธันวาคม 2564) ถือเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 40 ปี
Figure 2 กราฟแสดงการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาสินค้ากลุ่มพลังงานในยุโรป โดยราคาสินค้ากลุ่มพลังงานที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญของอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป
ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการคาดว่าเงินเฟ้อในอนาคตจะสูงขึ้นตามตัวอย่างข้างต้น ก็จะปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการล่วงหน้า เพื่อเตรียมการรองรับเงินเฟ้อที่จะเพิ่มสูงขึ้นเหล่านี้ และทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นเป็นวัฏจักรต่อเนื่องกันไป และคงอยู่เป็นระยะเวลานานกว่าปกติ
Figure 3 อัตราตำแหน่งงานว่าง (Openings) ที่มากกว่าอัตราการลาออก (Quit) แสดงให้เห็นว่าตลาดต้องการแรงงานเข้ามาเพิ่ม แต่มีแรงงานไม่เพียงพอ ทำให้ต้องเพิ่มค่าแรงเป็นแรงจูงใจ ดึงดูดแรงงาน ซึ่งการเพิ่มค่าแรงเป็นปัจจัยสำคัญ ส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ และจะผลักดันทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นในที่สุด
Figure 4 กราฟแสดงการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างที่เร่งตัวสูงขึ้นในช่วงหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานตึงตัว และบริษัทต้องเพิ่มค่าแรง เพื่อดึงดูดแรงงานมากขึ้น
Figure 5 สถานภาพทางการเงิน และอัตราการออมที่ดีขึ้นของครัวเรือนในช่วง COVID-19 จากเม็ดเงินเยียวยา และการอัดฉีดจากภาครัฐทำให้ครัวเรือนมีกำลังจับจ่ายใช้สอยสูง และจะเป็นปัจจัยบวกต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะต่อไป
อย่างไรก็ดี เราเชื่อว่าเงินเฟ้อจะเป็นปัจจัยที่กดดันการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางในปี 2022 โดยเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น อาจกดดันให้ธนาคารกลางต้องเร่งดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว (quantitative tightening) ให้เร็วและแรงขึ้นอีก ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจจะสร้างความผันผวนให้ตลาดในระยะต่อไปได้ โดยเราคิดว่าตลาดยังไม่ได้ให้น้ำหนักการเร่งตัวของเงินเฟ้อในระยะต่อไปมากเท่าที่ควร ซึ่งอาจทำให้การดำเนินนโยบายของธนาคารกลาง ในลักษณะที่สร้างความแปลกใจกับตลาด (surprise) เช่น การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้น หรือหลายครั้งกว่าที่ตลาดคาดการณ์ จะทำให้ตลาดผันผวนมากขึ้นอีกระดับหนึ่ง
Figure 6 สรุปมุมมองของเราต่อสินทรัพย์ต่าง ๆ
เนื้อหาต้นฉบับโดย
Sonal Desai,
Chief Investment Officer
Franklin Templeton
Nikhil Mohan
Economist,
Research Analyst
Angelo Formiggini
David Yuen
John Beck
David Zahn
Head of European Fixed Income, Franklin Templeton
ข้อสงวนสิทธิ์
แหล่งข้อมูล
https://www.
Advance, Article, FINNOMENA Franklin Templeton, Knowledge, Long Content