รูปที่ 1 ความเคลื่อนไหวของดัชนี S&P 500 และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม I Source : Bloomberg As of 12/03/2020

เกิดอะไรขึ้น ณ เวลานี้ 12 มี.ค. 63

ตลาดหุ้นทั่วโลกเข้าสู่ภาวะ Bear market เมื่อคืนนี้จากการที่ WHO ประกาศให้ Covid-19 เป็นการระบาดใหญ่เป็นวงกว้าง (Pandemic) ที่มีแนวโน้มลุกลามต่อเนื่องทั่วโลก รวมถึงราคาน้ำมันที่ดิ่งลงอย่างหนักจากความไม่ลงรอยกันระหว่างซาอุฯ และรัสเซีย

การประกาศของ WHO มีผลอย่างไร?

การประกาศให้ covid-19 เป็นการระบาดใหญ่เป็นวงกว้าง (Pandemic) เป็นการส่งสัญญาณอันแข็งกร้าวไปยังรัฐบาลทั่วโลก กระตุ้นให้ประเทศต่างๆเร่งรัดมาตรการรับมืออย่างเข้มงวดขั้นสูงสุด ต้องมีการระดมความช่วยเหลือไปยังระบบสุขภาพ การบริการทางการแพทย์ สิ่งอำนวยความสะดวก กำลังคนอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ เพื่อส่งมอบแจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เพื่อแจกจ่ายยาต้านไวรัสและอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นให้สอดคล้องตามแผนของประเทศ

อีกทั้งแต่ละประเทศยังต้องเปิดทางให้ WHO สามารถส่งความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะเหล่าประเทศด้อยพัฒนาซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากโรคระบาดเช่นกัน

ซึ่งล่าสุด  เช้านี้ตามเวลาประเทศไทย ปธน.ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ได้ออกประกาศ สหรัฐฯจะระงับการเดินทางจากยุโรปเข้าสู่สหรัฐฯ และจากสหรัฐฯไปสู่ยุโรป (ไม่รวมอังกฤษ) เป็นเวลา 30 วัน เริ่มตั้งแต่วันศุกร์นี้

ประเด็นเรื่องการประกาศของ WHO และมาตรการที่ทางการสหรัฐฯกำลังจะดำเนินการนี้เอง ที่ทำให้เรามองว่า ถึงแม้ที่ประชุม OPEC และรัสเซียจะสามารถกลับมาเจรจาเพื่อตรึงกำลังการผลิต และเลิก Price War ได้ก็ตามที แต่การฟื้นตัวขึ้นของ Demand ก็ยังน่าจะเป็นปัญหาในระยะเวลาอย่างน้อย 1-3 เดือนข้างหน้า

แล้วเราอยู่ใน Bear Market ชนิดไหน

Bear Market หลัก ๆ มี 3 ชนิดคือ 

1. Structural Bear หรือ “ตลาดหมีจากปัญหาเชิงโครงสร้าง” เช่นกรณีวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2008 ที่เกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาฯ และมีฟองสบู่แตกตามมา ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจ และระบบสถาบันการเงินอย่างรุนแรง

Structural Bear Market ที่ผ่านมาตลาดมักจะปรับฐานลึกประมาณ 50% ใช้เวลาปรับฐานนานกว่า 2 ปี และใช้เวลานานกว่า 5 ปีในการกลับไปสู่จุดสูงสุดเดิม

2. Cyclical Bear Market หรือ “ตลาดหมีจากวัฏจักรเศรษฐกิจ” มักจะเกิดขึ้นภายหลังเศรษฐกิจเติบโตร้อนแรงเป็นระยะเวลานาน และมักเกิดในช่วงวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น

Cyclical Bear Market ที่ผ่านมาตลาดมักจะปรับฐานลึกประมาณ 30% และปรับฐานยาวด้วยระยเวลา 1-2 ปี และใช้เวลา 2-5 ปีในการกลับไปสู่สุดสูงสุดเดิม

3. Event-Driven Bear Market หรือ “ตลาดหมีจากเหตุการณ์เฉพาะ” มักจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์เชิงลบที่สำคัญเช่น โรคระบาด สงคราม Oil Shock

Event-Driven Bear Market ที่ผ่านมาตลาดมักจะปรับฐานลึกประมาณ 30% และปรับฐานยาวด้วยระยะน้อยกว่า 9 เดือน และใช้เวลาประมาณ 1 ปีในการกลับไปสู่จุดสูงสุดเดิม

ทาง Investment Team ของ FINNOMENA มองว่าเรากำลังเผชิญกับ Event-driven bear market ซึ่งจะกินเวลาไม่นาน และมักจะตามมาด้วย V Shape Recovery จึงแนะนำให้ทำการโยกเงินจากสินทรัพย์เสี่ยงคือหุ้นไปพักรอไว้ที่กองทุนประเภท Money Market Fund

รูปที่ 2 รูปแบบ Bear Market ค่าเฉลี่ยการปรับตัวลดลง ค่าเฉลี่ยเวลาที่ปรับตัวลง และค่าเฉลี่ยเวลาที่ใช้เพื่อกลับสู่จุดเดิม I Source : https://www.marketwatch.com/ As of 12/03/2020

ปัจจัยหลักต่อจากวันนี้คืออะไร

1. (-) COVID-19 มีแนวโน้มลุกลามต่อ
เนื่องจาก WHO เพิ่งประกาศภาวะวิกฤตเมื่อวานนี้ (11 มี.ค. 63) ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการลุกลามต่อเนื่อง และสร้างความกลัวต่อตลาดได้อีกระยะ

2. (-) สงครามลดราคาน้ำมันระหว่างรัสเซีย และซาอุฯ

ทั้งอุปสงค์ที่ชะลอตัวจากผลกระทบ COVID-19 และอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากการเจรจาไม่ลงตัวระหว่างรัสเซียและซาอุฯ น่าจะทำให้ราคาน้ำมันไม่ฟื้นง่าย ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศผู้ผลิตน้ำมันโดยเฉพาะรัสเซีย และบริษัท Shale Oil ในสหรัฐฯ

3. (+) นโยบายการเงินการคลังชุดใหญ่มาแน่ 

ทั้งโลกจะมีการใช้นโยบายการเงิน ทั้งการลดดอกเบี้ย และ QE รวมถึงนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

4. (+) วัคซีน และยาต้านไวรัส

อีกไม่นานโลกก็จะคิดค้นวัคซีน และยาต้านไวรัสออกมาได้สำเร็จ และการแพร่ลามของ COVID-19 ก็จะจบลงในที่สุด

รูปที่ 3 รายงานผู้ติดเชื้อต่อวันแต่ละประเทศ I Source : Bloomberg As of 12/03/2020

แล้ว FINNOMENA แนะนำปรับพอร์ตอย่างไร

เมื่อดูจากปัจจัยทั้งลบและบวกในเวลานี้ ทาง Investment Team ของ FINNOMENA เห็นว่า

  1. เมื่อดูจากปัจจัยลบทั้ง COVID-19 และราคาน้ำมัน รวมถึงมุมมองทางเทคนิคที่ตลาดส่วนใหญ่ปรับฐานต่ำกว่าเส้น 200 สัปดาห์ และเข้าสู่ Bear Market ทำให้เรามองว่าตลาดยังมีโอกาสลงได้ลึกกว่านี้
  2. เราควรรักษาวินัยการลงทุน โดยพอร์ต Private Wealth ล่าสุดนับแต่ต้นปีได้ปรับลดลงไปประมาณ 5-10% เราแนะนำรักษาวินัยการลงทุนในการ Stop Loss ส่วนของการลงทุนในหุ้นทั้งไทยและต่างประเทศ และรอโอกาสลงทุนในช่วง V Shape recovery ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นสูงในปีนี้
  3. เราจึงแนะนำ Switching จากกองทุนหุ้นโลก หุ้นเอเชีย และหุ้นไทย ไปพักที่กองทุนตลาดเงิน และรอโอกาสเข้าลงทุนต่อไป

แล้วจะแนะนำกลับเข้าลงทุนเมื่อไหร่

ปัจจัยหลักที่เราจะแนะนำกลับเข้าลงทุนคือ 

  1. เมื่อสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายไปในทางที่ดี และกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาใกล้เคียงกับภาวะปกติ
  2. เมื่อสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับอิหร่านคลี่คลาย และราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้โอกาสการผิดนัดชำระหนี้ของประเทศผู้ผลิตน้ำมันลดลง

2 สถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้หลังจากปรับพอร์ตครั้งนี้

  1. กลับเข้าลงทุนในราคาที่ถูกลง – เราคาดหวังว่าในระยะเวลาอันใกล้จะมีโอกาสในการกลับเข้าลงทุนในราคาที่ต่ำกว่าที่ขายไป ณ วันนี้
  2. กลับเข้าลงทุนในราคาที่แพงขึ้น – มีโอกาสเช่นกันที่การ V Shape Recovery จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เราปรับพอร์ตเข้าซื้อไม่ทันและอาจมีการแนะนำกลับเข้าสงทุนในราคาที่สูงกว่านี้บ้าง แต่เรายังคงแนะนำในการลดพอร์ตหุ้นในวันนี้ เพราะความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่มาก และตลาดเพิ่งเข้าสู่ภาวะขาลงเพียงไม่ถึง 1 เดือนซึ่งโดยปกติจะกินเวลานานกว่านี้ และที่สำคัญคือเพื่อเป็นการรักษาวินัยการลงทุนไม่ให้พอร์ตโดยรวมขาดทุน (drawdown) มากเกินไป

คำแนะนำรายสินทรัพย์

FINNOMENA Recommendation

GAR

FINNOMENA Investment team แนะนำลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในกองทุน 

  • TISCOMS สับเปลี่ยนเข้ากองทุน TISCOSTF กองทุน Money Market หลังจากที่ตลาดหุ้นไทยหลุดแนวรับสำคัญ 1,240 จุด 
  • TMBGQG สับเปลี่ยนเข้ากองทุน TMBUSB กองทุน Short Term Bond หลังประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศงดเที่ยวบินระหว่างสหรัฐฯ – ยุโรป และตลาดหุ้น Dow Jones ไม่สามารถยืนอยู่ ณ ระดับแนวรับ 24,000 จุด  
  • PRINCIPAL APDI สับเปลี่ยนเข้ากองทุน PRINCIPAL DPLUS กองทุน Short Term Bond 

การปรับครั้งนี้เพื่อลดความผันเสี่ยงจากสินทรัพย์ และเพื่อจับตารอโอกาสฟื้นตัว หลังเราเห็นสัญญาณ Sentiment เชิงบวกกลับมาอีกครั้ง ในขณะที่กองทุนอสังหาฯ LHTPROP สามารถลงทุนได้จากปัจจัยพื้นฐานที่น่าสนใจ และกองทุนทองคำ SCBGOLD ยังเป็นสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์จากการปรับตัวลงของสินทรัพย์เสี่ยง

GIF

FINNOMENA Investment team แนะนำลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในกองทุน 

  • LHEQD-R สับเปลี่ยนเข้ากองทุน LHSTPLUS กองทุน Short Term Bond หลังจากที่ตลาดหุ้นไทยหลุดแนวรับสำคัญ 1,240 จุด 
  • TMBGQG สับเปลี่ยนเข้ากองทุน TMBUSB กองทุน Short Term Bond หลังประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศงดเที่ยวบินระหว่างสหรัฐฯ – ยุโรป และตลาดหุ้น Dow Jones ไม่สามารถยืนอยู่ ณ ระดับแนวรับ 24,000 จุด  

การปรับครั้งนี้เพื่อลดความผันเสี่ยงจากสินทรัพย์ และเพื่อจับตารอโอกาสฟื้นตัว หลังเราเห็นสัญญาณ Sentiment เชิงบวกกลับมาอีกครั้ง ในขณะที่กองทุนผสม KFAINCOME-R และ SCBWINR มีการกระจายความเสี่ยงภายในกองที่เหมาะสมอยู่แล้ว และกองทุนอสังหาฯ LHTPROP สามารถลงทุนได้จากปัจจัยพื้นฐานที่น่าสนใจ ท้ายสุดกองทุน UDB-A ตราสารหนี้ระยะยาวทั่วโลก ยังเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์จากแนวโน้มขาลงทั่วโลก

TOP5

FINNOMENA Investment team แนะนำลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในกองทุน 

  • ASP-SME กองทุนหุ้นไทย สับเปลี่ยนเข้ากองทุน ASP กองทุน Short Term Bond หลังจากที่ตลาดหุ้นไทยหลุดแนวรับสำคัญ 1,240 จุด 
  • TMBGQG สับเปลี่ยนเข้ากองทุน TMBUSB กองทุน Short Term Bond 
  • SCBGIF สับเปลี่ยนเข้ากองทุน SCBSFFPLUS-I กองทุน Short Term Bond 
    • หลังประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศงดเที่ยวบินระหว่างสหรัฐฯ – ยุโรป และตลาดหุ้น Dow Jones ไม่สามารถยืนอยู่ ณ ระดับแนวรับ 24,000 จุด  
  • PRINCIPAL APDI สับเปลี่ยนเข้ากองทุน PRINCIPAL DPLUS กองทุน Short Term Bond 

การปรับครั้งนี้เพื่อลดความผันเสี่ยงจากสินทรัพย์  และเพื่อจับตารอโอกาสฟื้นตัว หลังเราเห็นสัญญาณ Sentiment เชิงบวกกลับมาอีกครั้ง ในขณะที่กองทุนทองคำ SCBGOLD ยังเป็นสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์จากการปรับตัวลงของสินทรัพย์เสี่ยง

GCP

FINNOMENA Investment team แนะนำลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในกองทุน 

  • TISCOMS สับเปลี่ยนเข้ากองทุน TISCOSTF กองทุน Money Market หลังจากที่ตลาดหุ้นไทยหลุดแนวรับสำคัญ 1,240 จุด 
  • TMBGQG สับเปลี่ยนเข้ากองทุน TMBUSB กองทุน Short Term Bond หลังประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศงดเที่ยวบินระหว่างสหรัฐฯ – ยุโรป และตลาดหุ้น Dow Jones ไม่สามารถยืนอยู่ ณ ระดับแนวรับ 24,000 จุด  
  • PRINCIPAL APDI สับเปลี่ยนเข้ากองทุน PRINCIPAL DPLUS กองทุน Short Term Bond 

การปรับครั้งนี้เพื่อลดความผันเสี่ยงจากสินทรัพย์ และเพื่อจับตารอโอกาสฟื้นตัว หลังเราเห็นสัญญาณ Sentiment เชิงบวกกลับมาอีกครั้ง ในขณะที่กองทุนอสังหาฯ LHTPROP สามารถลงทุนได้จากปัจจัยพื้นฐานที่น่าสนใจ และกองทุนทองคำ SCBGOLD ยังเป็นสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์จากการปรับตัวลงของสินทรัพย์เสี่ยง ท้ายสุดกองทุน KFAFIX ตราสารหนี้ไทย และ PHATRA G-UBOND-H ตราสารหนี้ระยะยาวทั่วโลก ยังเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์จากแนวโน้มขาลงทั่วโลก

FINNOMENA Investment Team


คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน

TSF2024