The Key Factors : สหรัฐอาจก่อวิกฤติ

ท่ามกลางนโยบายการเงินแบบตึงตัว และ สงครามการค้า ยังส่งผลให้มีเม็ดเงินลงทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะผ่านการเจรจาระหว่างจีนและสหรัฐเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว แต่ยังไม่มีข้อสรุปอย่างเป็นทางการ ทำให้ความไม่แน่นอนจากประเด็นดังกล่าวคงกดดันตลาดทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งสะท้อนออกมาทางดัชนีทางเศรษฐกิจและสถานะการลงทุนดังนี้

1. ดอกเบี้ยมีแนวโน้มขึ้นต่อเนื่อง

The Key Factors : สหรัฐอาจก่อวิกฤติ

Source : Topdowncharts

ธนาคารกลางกลุ่มประเทศเกิดใหม่มีแนวโน้มปรับดอกเบี้ยขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐ เพื่อสกัดเงินลงทุนไหลกลับไปลงทุนในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินในสกุลตลาดเกิดใหม่ปรับตัวอ่อนค่าลง หนี้สินในสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ มีมูลค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินท้องถิ่น นักลงทุนกังวลต่อความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ดังนั้นกระแสเงินจึงยังคงไหลออกจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงดังกล่าว

2. นักเก็งกำไรยังเชื่อมั่นในดอลลาร์

The Key Factors : สหรัฐอาจก่อวิกฤติ

Source : Bloomberg

ถึงแม้จะมีความพยายามการขึ้นดอกเบี้ยจากธนาคารกลางในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ แต่นักเก็งกำไรก็ยังคงมุมมองของสกุลเงินดอลลาร์ว่ามีแนวโน้มแข็งค่ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นผ่านทางสถานะการซื้อที่เป็นบวก ควบคู่ไปกับการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งอาจเป็นผลจากอัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยงสินทรัพย์ปลอดภัยของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีโดยพื้นฐานแล้วมีสถานะทางเศรษฐกิจแข็งแกร่งกว่าประเทศในภูมิภาคอื่นๆ

3. Manufacturing ผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว

The Key Factors : สหรัฐอาจก่อวิกฤติ

Source : Topdowncharts

ดัชนี Manufacturing PMI ซึ่งเป็นการสำรวจมุมมองการสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบในอนาคต ของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อบริษัทภาคการผลิต ทั้งของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าต่ำ ดัชนีของประเทศจีน และดัชนีของกลุ่มประเทศรัสเซีย อินเดีย บราซิล ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง แต่ยังยืนเหนือระดับ 50 จุด บ่งบอกอัตราการขยายตัวที่ยังคงขยายตัวแต่ในอัตราที่ลดลง ทำให้ภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคตระยะ 6-12 เดือนข้างหน้า อาจมีการชะลอตัว ส่งผลต่อการปรับตัวขึ้นของตลาด

4. PMI สหรัฐดีกว่าคาด

The Key Factors : สหรัฐอาจก่อวิกฤติ

Source : Forexfactory

ในทางกลับกัน ดัชนี ISM Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ ประกาศออกมาสูงกว่าคาดที่ระดับ 61.3 จุด ซึ่งหมายถึงการขยายตัวที่ดีอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเทียบกับตลาดทั่วโลก (รูปที่ 3) จะเห็นได้ว่ามีการขยายตัวเหนือกว่าตลาดพัฒนาแล้วโดยรวมด้วย

ซึ่งทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สะท้อนผ่านตัวเลขทางเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นในการลงทุน อาจมีผลต่อค่าเงินดอลลาร์ให้แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง หากความกังวลเรื่องสงครามการค้ายังไม่ได้ข้อยุติ ผลกระทบจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงในอนาคตข้างหน้า และสุดท้ายอาจลุกลามกลายเป็นวิกฤติทางการเงินได้ แต่อาจมีข้อยกเว้นสำหรับสหรัฐฯ ที่อาจได้รับผลกระทบเชิงลบน้อย หรือ ช้ากว่า เนื่องจากสถานะทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมาก

FINNOMENA Investment Team

TSF2024