สถานการณ์เศรษฐกิจและตลาดโลก
รูปที่ 1 คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกของ IMF I Source : https://www.imf.org as of 10/9/2019
เศรษฐกิจโลกมีประเด็นความเสี่ยงที่เผชิญมาโดยตลอดและยังไม่มีสัญญาณของข้อยุติที่ชัดเจน เช่น สงครามการค้า หรือ Brexit เป็นต้น ซึ่งในประเด็นของสงครามการค้านั้น นอกจากจะเป็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนแล้ว ยังอาจขยายวงกว้างไปยังญี่ปุ่นและยุโรป
ผลของความไม่แน่นอนที่ยืดเยื้อมาแล้วกว่าปี เริ่มแสดงให้เห็นผ่านตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ไตรมาสที่ 2 ของประเทศเศรษฐกิจหลักชะลอตัว อาทิเช่น สหรัฐฯ จีน ส่วนเยอรมนีตัวเลขดังกล่าวหดตัวไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งการส่งออกและอุตสาหกรรมการผลิตเป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
รูปที่ 2 คาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกของ OECD I Source : http://www.oecd.org/economy/outlook/ as of 10/9/2019
ด้านประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจาก IMF ประจำเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด อยู่ที่ 3.2% ปรับลดลงจาก 3.3% เมื่อเดือนเมษายน เช่นเดียวกับประมาณการของ OECD ที่ลดลงจากประมาณ 3.4% มาที่ 3.35% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นมุมมองเชิงลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
รูปที่ 3 ดัชนี Global PMI I Source : Bloomberg.com as of 10/9/2019
ขณะเดียวกันตัวเลขที่นับว่าเป็น Leading Indicator อย่าง PMI ก็มีแสดงแนวโน้มขาลงมานับตั้งแต่ต้นปี จนเข้าสู่แดนที่แสดงมุมมองการหดตัวในอนาคต นำโดยประเทศจีน ภูมิภาคยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ตามลำดับ
รูปที่ 4 โอกาสของการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ I Source : Bloomberg as of 10/9/2019
ภาพรวมที่กล่าวมาทั้งหมด ส่งผลให้ธนาคารกลางหลายประเทศทั้ง Developed และ Emerging Markets ปรับนโยบายการเงินจากตึงตัวสู่ผ่อนคลาย ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพิ่มสภาพคล่องเข้าระบบ ซึ่งเป็นผลทั้งโดยตรงและทางอ้อมให้ต้นทุนทางการเงินลดลง นั่นคือ ทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลลดลง
ในช่วงเวลาต่อจากนี้ FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าทั้งธนาคารกลางและรัฐบาลต้องดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อไป ขณะที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) เป็นประเด็นที่ต้องติดตาม ทั้งการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ตลาดคาดว่าจะปรับลด 0.25% พร้อมทั้งท่าทีของการดำเนินนโยบายการเงินต่อจากนี้ เช่น มาตรการ QE
UGIS-N / UGIS-A
FINNOMENA Investment Team คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นผลให้ทิศทางดอกเบี้ยทั่วโลกเป็นการปรับตัวลง สินทรัพย์ที่ได้รับผลดีในภาวะดังกล่าว คือ ตราสารหนี้ระยะกลาง
รูปที่ 5 อายุเฉลี่ยของทรัพย์สินของกองทุน PIMCO GIS Income Fund I Source : pimco.com as of 10/9/2019
พอร์ตการลงทุนของ PIMCO GIS Income Fund ที่เป็นกองทุนหลักของ UGIS-N / UGIS-A มี Duration ของตราสารหนี้ที่ 0.86 ปี ซึ่งอยู่ในช่วงของตราสารหนี้ระยะสั้น ทำให้ได้รับผลดีไม่เต็มที่จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย อีกทั้งมีสถานะขายค่าเงินเยน ที่หากมีความเสี่ยงหรือความกังวลเกิดขึ้นในตลาดการเงินโลกเงินทุนมักจะไหลเข้าไปยังค่าเงินเยน ทำให้เป็นผลเชิงลบต่อสถานะขายของกองทุน
ด้วยแนวโน้มตลาดการเงินโลก นโยบายการเงิน FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน UGIS-N / UGIS-A
PHATRA G-UBOND-H / UDB-A
รูปที่ 6 สัดส่วนการลงทุนของกองทุน Jupiter Global Fund – Jupiter Dynamic Bond I Source : jupiteram.com as of 10/9/2019
พอร์ตการลงทุนของ Jupiter Global Fund – Jupiter Dynamic Bond มี Duration ของตราสารหนี้ที่ 6.61 ปี ซึ่งอยู่ในช่วงตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาว เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ Investment grade, พันธบัตรรัฐบาล เป็นสัดส่วนหลักของพอร์ตการลงทุนปัจจุบัน ทำให้ Credit Rating เฉลี่ยของพอร์ตอยู่ที่ A- เช่นเดียวกับการกระจายสัดส่วนการลงทุนในหลายภูมิภาค โดยมีภูมิภาคอเมริกาเหนือและเอเชียแปซิฟิกเป็นหลัก
ทำให้ด้วยมุมมองของอายุตราสารแล้วได้รับผลดีในช่วงที่ดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ขณะเดียวกันการแบ่งสัดส่วนหลักลงทุนในสองภูมิภาคสำคัญมีข้อดีในเรื่องการกระจายความเสี่ยง และเป็นภูมิภาคที่มีความเสี่ยงของการผิดชำระหนี้ต่ำกว่าภูมิภาคอื่นของโลก
FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน PHATRA G-UBOND-H เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการเงินโลกที่จะเป็นปัจจัยหนุนการลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางและยาว
FINNOMENA Investment Team แนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน UDB-A สำหรับพอร์ตการลงทุนแนะนำ GIF เนื่องจากนโยบายการลงทุนหลักของ GIF คือ ให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดจากการลงทุน ดังนั้นด้วยประวัติการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติที่สม่ำเสมอ FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำเพิ่มสัดส่วนในกองทุนดังกล่าว
TSF
นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมากองทุน ดัชนี SET Index มีความผันผวนตามความเสี่ยงตลาดการเงินโลก ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจที่ส่งสัญญาณชะลอตัว แต่กองทุน TSF มีผลการดำเนินงานเหนือดัชนี SET Index
อย่างไรก็ตาม ด้วยระบบ Best-in-class ของ FINNOMENA ได้แนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน TSF ประกอบกับมุมมองต่อตลาดการเงินโลกของ FINNOMENA Investment Team ที่มองว่ายังมีความไม่แน่นอนสูงในช่วงเวลาต่อจากนี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อตลาดการเงินและการลงทุนของไทย FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน TSF เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนโดยรวม
TISCOEGF
เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนในระยะหลังของกองทุน TISCOEGF กับกองทุนตราสารทุนไทยที่มีนโยบายกระจายความเสี่ยง (ความผันผวนต่ำ) พบว่าให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่า (Underperform) ดังนั้น FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน TISCOEGF และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน PHATRA SMART MV ซึ่งมีนโยบายการลงทุนที่เน้นลดความเสี่ยงและความผันผวนต่ำ นอกจากนี้ภาพรวมผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความผันผวนดีกว่ากองทุน TISCOEGF
KFAFIX
รูปที่ 7 อายุเฉลี่ยของสินทรัพย์ และความผันผวนของผลการดำเนินงาน I Source : หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปกองทุน KFAFIX as of 11/9/2019
กองทุนตราสารหนี้ที่มี Duration เฉลี่ยของพอร์ตที่ 2.56 ปี ซึ่งจัดอยู่ในตราสารหนี้ระยะกลาง อย่างไรก็ตาม ด้วยดัชนีชี้วัด (benchmark) ของกองทุนที่มีดัชนีพันธบัตรรัฐบาลอายุน้อยกว่า 10 ปี ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ช่วยสร้างผลดีต่อสัดส่วนการลงทุนในพอร์ต (เปิดกว้างช่วงอายุตราสารหนี้ที่ลงทุนได้) นอกจากนี้กองทุนยังเน้นลงทุนในตราสารหนี้ Investment grade ของประเทศไทย
อีกทั้งหากมีความเสี่ยงในตลาดการเงินโลก ตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยทำให้มีกระแสเงินเข้าซื้อตราสารหนี้ไทยเป็นปัจจัยหนุนต่อผลตอบแทนของกองทุน
ด้วยอายุตราสารในพอร์ตและสัดส่วนการลงทุน FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน KFAFIX เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดการเงินและแนวโน้มนโยบายการเงินทั่วโลก
FINNOMENA Recommended
Global Income Focus (GIF)
แนะนำลดสัดส่วน UGIS-A 15% เพิ่มสัดส่วน UDB-A 15%
เนื่องจากพอร์ตการลงทุนกองทุนหลักของ UGIS-A มี Duration ของตราสารหนี้อยู่ในช่วงของตราสารหนี้ระยะสั้น FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน UGIS-A และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน UDB-A ที่มี Duration ในช่วงของตราสารหนี้ระยะกลางและยาว ซึ่งจะได้รับผลดีจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย
Global Conservative Portfolio (GCP)
แนะนำลดสัดส่วน TISCOEGF 10% เพิ่มสัดส่วน PHATRA SMART MV 10%
แนะนำลดสัดส่วน UGIS-N 15% เพิ่มสัดส่วน PHATRA G-UBOND-H 15%
TISCOEGF มีผลการดำเนินงานที่ต่ำกว่า (Underperform) กลุ่มกองทุนตราสารทุนไทยที่มีนโยบายกระจายความเสี่ยง FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน TISCOEGF และเพิ่มสัดส่วนในกองทุน PHATRA SMART MV ที่เน้นลดความเสี่ยงและความผันผวนต่ำ ขณะเดียวกันก็มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่า
เนื่องจากพอร์ตการลงทุนกองทุนหลักของ UGIS-N มี Duration ของตราสารหนี้อยู่ในช่วงของตราสารหนี้ระยะสั้น FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน UGIS-N และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน PHATRA G-UBOND-H ที่มี Duration ในช่วงของตราสารหนี้ระยะกลางและยาว ซึ่งจะได้รับผลดีจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย
Global Absolute Return (GAR)
แนะนำลดสัดส่วน TSF 20% เพิ่มสัดส่วน KFAFIX อีก 20% จาก 10% เป็น 30%
แนะนำลดสัดส่วน UGIS-N 20% เพิ่มสัดส่วน PHATRA G-UBOND-H 20%
ด้วยระบบ Best-in-class ของ FINNOMENA ได้แนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน TSF ประกอบกับมุมมองต่อตลาดการเงินโลกของ FINNOMENA Investment Team ที่มองว่ายังมีความไม่แน่นอนสูงในช่วงเวลาต่อจากนี้ FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน TSF
และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน KFAFIX ที่มี Duration เฉลี่ยของพอร์ตที่ 2.56 ปี ซึ่งจัดอยู่ในตราสารหนี้ระยะกลาง อย่างไรก็ตาม ด้วยดัชนีชี้วัด (benchmark) ของกองทุนที่มีดัชนีพันธบัตรรัฐบาลอายุน้อยกว่า 10 ปี ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ช่วยสร้างผลดีต่อสัดส่วนการลงทุนในพอร์ต อีกทั้งหากมีความเสี่ยงในตลาดการเงินโลก ตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยทำให้มีกระแสเงินเข้าซื้อตราสารหนี้ไทยเป็นปัจจัยหนุนต่อผลตอบแทนของกองทุน
เนื่องจากพอร์ตการลงทุนกองทุนหลักของ UGIS-N มี Duration ของตราสารหนี้อยู่ในช่วงของตราสารหนี้ระยะสั้น FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน UGIS-N และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน PHATRA G-UBOND-H ที่มี Duration ในช่วงของตราสารหนี้ระยะกลางและยาว ซึ่งจะได้รับผลดีจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย
TOP5
แนะนำลดสัดส่วน UGIS-N 20% เพิ่มสัดส่วน PHATRA G-UBOND-H 20%
แนะนำลดสัดส่วน TSF 20% เพิ่มสัดส่วน KFAFIX 20%
ด้วยระบบ Best-in-class ของ FINNOMENA ได้แนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน TSF ประกอบกับมุมมองต่อตลาดการเงินโลกของ FINNOMENA Investment Team ที่มองว่ายังมีความไม่แน่นอนสูงในช่วงเวลาต่อจากนี้ FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน TSF
และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน KFAFIX ที่มี Duration เฉลี่ยของพอร์ตที่ 2.56 ปี ซึ่งจัดอยู่ในตราสารหนี้ระยะกลาง อย่างไรก็ตาม ด้วยดัชนีชี้วัด (benchmark) ของกองทุนที่มีดัชนีพันธบัตรรัฐบาลอายุน้อยกว่า 10 ปี ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ช่วยสร้างผลดีต่อสัดส่วนการลงทุนในพอร์ต อีกทั้งหากมีความเสี่ยงในตลาดการเงินโลก ตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยทำให้มีกระแสเงินเข้าซื้อตราสารหนี้ไทยเป็นปัจจัยหนุนต่อผลตอบแทนของกองทุน
เนื่องจากพอร์ตการลงทุนกองทุนหลักของ UGIS-N มี Duration ของตราสารหนี้อยู่ในช่วงของตราสารหนี้ระยะสั้น FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน UGIS-N และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน PHATRA G-UBOND-H ที่มี Duration ในช่วงของตราสารหนี้ระยะกลางและยาว ซึ่งจะได้รับผลดีจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย
FINNOMENA Investment Team
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต| ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน