ในวันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นจีน นำโดยดัชนี Hang Seng (HSI) ปรับตัวขึ้น 6% ทำให้การปรับตัวขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นเป็นการปรับตัวขึ้นแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2015 จากความคาดหวังการผ่อนคลายมาตรการ Zero Covid และข่าวดีที่ทางการสหรัฐได้ตรวจสอบข้อมูลบริษัทจดทะเบียนของจีนในเบื้องต้นเสร็จก่อนกำหนด ซึ่งเป็นกระบวนการป้องกันการ delist บริษัทจดทะเบียนจีน เช่น Alibaba, Yum China ออกจากตลาดหุ้นสหรัฐ
เมื่อพิจารณาในแง่ Valuation การปรับตัวลงของ ดัชนี Hang Seng ในรอบสองปีที่ผ่านมาทำให้ 12M-Trailing P/E ของดัชนี Hang Seng ลงมาอยู่ที่ 8.6x ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2018 หรืออยู่ที่ระดับ -2SD เมื่อเทียบกับตัวเองในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และ 12M-forward PE อยู่ที่ 7.7x หรืออยู่ที่ระดับ -3.4 SD
รูปที่ 1 กราฟดัชนี Hang Seng Index TF Day Source: Tradingview as of 02/11/22
ทำให้เมื่อพิจารณาโดยมุมมองทางเทคนิค ดัชนี Hang Seng ซึ่งทดสอบจุดต่ำสุดที่ระดับ 14,554 จุด ในช่วงสิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีโอกาสที่จะเป็นจุด Bottom ในระยะสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดัชนีสามารถปรับตัวขึ้นผ่านเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 20 วัน (MA 20 Days) สู่ระดับ 16,323 จุด พร้อมด้วยสัญญาณ Divergence ของ RSI และการตัดขึ้นของ MACD เหนือ Signal Line
FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลงทุนภายใต้คำแนะนำ Tactical Call ในกองทุน ASP-HSI และ K-CHINA-A(A) ซึ่งมีค่า Correlation กับดัชนี Hang Seng 0.924 พร้อมทั้ง Beta ที่ 1.11 ซึ่งหมายถึงมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่สูงมากขึ้นได้ในยามที่ดัชนีมี Momentum ที่ดี สำหรับการเก็งกำไรในดัชนี Hang Seng (HSI) โดยมีคำแนะนำดังนี้
- ดัชนี Hang Seng (HSI) แนะนำเข้าลงทุนที่ระดับราคาไม่เกิน 16,990 จุด (+5.13% จากระดับราคาปิดตลาดวันที่ 04/11/2022) ซึ่งเป็นระดับราคาที่เราแนะนำให้พิจารณาชะลอการเข้าซื้อ (หยุดซื้อ) ภายใต้คำแนะนำ Tactical Call เนื่องจากทำให้ Risk/Reward ratio เข้าใกล้ระดับ 1:1
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในดัชนี Hang Seng ในรูปแบบการลงทุนระยะยาว บนเงื่อนไข Valuation ที่อยู่ในระดับ Deep Discount ยังคงสามารถทยอยลงทุนได้ แม้ดัชนี Hang Seng จะปรับตัวขึ้นเหนือแนว 16,990 แล้วก็ตาม จนกว่าระดับ Valuation ของ Hang Seng จะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจนทำให้ภาวะ Deep Discount นั้นเปลี่ยนแปลงไป
ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของรูปแบบการลงทุน อาทิ
- วัตถุประสงค์การลงทุน : Deep Discount เป็นไปเพื่อสะสมลงทุนในระยะยาว ขณะที่ Tactical Call เป็นไปเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น
- เงื่อนไขการลงทุน : Deep Discount เป็นการเข้าลงทุนเพื่อสะสมสินทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำกว่าอดีต ซึ่งลดความเสี่ยงในเชิง Valuation ลง ขณะที่ Tactical Call เป็นการเข้าลงทุนตามสัญญาณทางเทคนิคและคุมความเสี่ยงโดยการ Stop Loss
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในดัชนี Hang Seng ในรูปแบบการลงทุนระยะยาว บนเงื่อนไข Valuation ที่อยู่ในระดับ Deep Discount ยังคงสามารถทยอยลงทุนได้ แม้ดัชนี Hang Seng จะปรับตัวขึ้นเหนือแนว 16,990 หรือเกินช่วงเวลา 12 พฤศจิกายนแล้วก็ตาม จนกว่าระดับ Valuation ของ Hang Seng จะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจนทำให้ภาวะ Deep Discount นั้นเปลี่ยนแปลงไป
ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของรูปแบบการลงทุน อาทิ
- วัตถุประสงค์การลงทุน : Deep Discount เป็นไปเพื่อสะสมลงทุนในระยะยาว ขณะที่ Tactical Call เป็นไปเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น
- เงื่อนไขการลงทุน : Deep Discount เป็นการเข้าลงทุนเพื่อสะสมสินทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำกว่าอดีต ซึ่งลดความเสี่ยงในเชิง Valuation ลง ขณะที่ Tactical Call เป็นการเข้าลงทุนตามสัญญาณ Technic และคุมความเสี่ยงโดยการ Stop Loss
และหากหลังจาก FINNOMENA Investment Team แนะนำ Tactical Call แล้ว ดัชนี Hang Seng ปรับตัวลงต่ำกว่า 16,990 จุด และปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 16,990 จุดอีกครั้ง FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำให้ชะลอการเข้าซื้อ (หยุดซื้อ) ภายใต้คำแนะนำ Tactical Call เนื่องจากปัจจัยทางเทคนิคอาจเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงที่ให้คำแนะนำครั้งแรก
- แนะนำ Take Profit เมื่อดัชนีปรับตัวขึ้นถึง 18,000 จุด (Upside 11.34%) ซึ่งตรงกับจุดสูงสุดของการรีบาวน์ในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
- และแนะนำ Limit Loss หรือตัดขาดทุนทันที เมื่อดัชนีปิดตลาดต่ำกว่า 15,984.11 จุด (Downside 1.10%) ซึ่งเป็นระดับที่ดัชนีกลับมาปรับตัวหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน
นักลงทุนที่เหมาะกับ Tactical Call ระยะสั้นนี้ควร…
- เป็นนักลงทุนที่มีเงินสด หรือสภาพคล่องส่วนเกิน และรับความผันผวนได้สูง
- ใช้เงินลงทุนในสัดส่วนไม่เกิน 10% ของภาพรวมพอร์ตการลงทุนทั้งหมด
- นักลงทุนต้องยอมรับการ Limit Loss หรือ การตัดขาดทุนได้ทันที
ASP-HSI : Passive fund
รูปที่ 2 สัดส่วนการลงทุนในกองทุน Tracker Fund of Hong Kong ETF Source: The Tracker Fund of Hong Kong as of 04/11/22
กองทุนเป็นระดับความเสี่ยงสูง (ระดับ 6) มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Tracker Fund of Hong Kong (กองทุนหลัก) ซึ่งเป็นกองทุนรวม ETF (Exchange Traded Fund) ประเภทกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเป็นสกุลเงินฮ่องกงดอลลาร์ มีนโยบายลงทุน ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดในหุ้นของบริษัทที่เป็นส่วนประกอบของ Hang Seng Index เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสอดคล้องกับผลการดาเนินงานของ Hang Seng Index โดยมีการป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
K-CHINA-A(A) : Active fund
รูปที่ 3 สัดส่วนการลงทุนในกองทุน JPMorgan China Fund, Class I (acc) – USD Source: jpmorgan.com as of 04/11/22
กองทุนเป็นระดับความเสี่ยงสูง (ระดับ 6) มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน JPMorgan China Fund, Class I (acc) – USD ซึ่งมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่ตั้งถิ่นฐานหรือดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่น้อยกว่า 67% ของมูลค่า รวมถึงอาจลงทุนในหุ้นจีน A-shares ได้ไม่เกิน 40% ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน พร้อมด้วยนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าเงินลงทุนต่างประเทศ
FINNOMENA Investment Team
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT