บทความปรับพอร์ตประจำเดือนธันวาคม 2019: รับโอกาสใหม่ ภายใต้แนวการลงทุนแบบ Growth Play ในกลุ่ม Laggard

สถานการณ์เศรษฐกิจและตลาดโลก

ตลาดการลงทุนทั่วโลกยังคงส่งสัญญาณภาวะ Risk-On อย่างต่อเนื่องผ่านทาง การทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบปี ดัชนีตลาดหุ้นสำคัญๆ ในสหรัฐฯ อย่าง S&P500, Nasdaq, Dow Jones ตลาดหุ้นไต้หวัน อินเดีย และยุโรป ซึ่งคิดเป็นอัตราผลตอบแทนกว่า 25%, 31%, 20%, 20%, 12% และ  20% ตามลำดับ สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับการปรับตัวลงของสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ และ ตราสารหนี้ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

ซึ่งเป็นผลมาจากท่าทีของสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่มีความคืบหน้ามากขึ้น จากระดับการตอบโต้กันผ่านการขึ้นกำแพงภาษีกลายเป็นระดับที่มีการเจรจาและระบุถึงความเป็นไปได้ของข้อตกลงเบื้องต้นได้มากขึ้น แม้จะยังมีความผันผวนจากท่าทีต่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของสหรัฐฯ ต่อจีนบ้างก็ตาม ส่งผลให้ความกังวลกรณีอุปสงค์สินค้าและบริการระหว่างประเทศทั่วโลกที่ชะลอตัวนั้นลดลง

บทความปรับพอร์ตประจำเดือนธันวาคม 2019: รับโอกาสใหม่ ภายใต้แนวการลงทุนแบบ Growth Play ในกลุ่ม Laggard

รูปที่ 1 : China, US, Eurozone Unemployment Rate l Source :Bloomberg as of 9/12/2019

ขณะที่แนวโน้มตลาดแรงงานที่ร้อนแรงทั้งในส่วนของสหรัฐฯ เอง ซึ่งมีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ ยุโรปที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดนับตั้งแต่วิกฤติซับไพรม์ปี 2008 และจีนที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดนับตั้งแต่มีการสำรวจมาในปี 2002 ที่ระดับ 3.6%, 7.6% และ 3.6% ตามลำดับ ยังคงส่งผลให้ภาคการบริโภคยังคงเป็นจักรกลสำคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลก ที่พบว่าเริ่มมีการปรับประมาณการเพิ่มขึ้นสะท้อนมุมมองเชิงบวกของนักวิเคราะห์ในอนาคต

เมื่อประกอบกับการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังที่เริ่มกระทำแล้วอย่างญี่ปุ่น จีน อินเดีย และสหรัฐฯ รวมไปถึงท่าทีอย่างเป็นทางการของรัฐบาลที่ประกาศว่าพร้อมจะดำเนินนโยบายทางการคลังเพิ่มเติม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวต่อไป ช่วยสนับสนุนภาวะ Risk-On ให้มากยิ่งขึ้น

บทความปรับพอร์ตประจำเดือนธันวาคม 2019: รับโอกาสใหม่ ภายใต้แนวการลงทุนแบบ Growth Play ในกลุ่ม Laggard

รูปที่ 2 : MSCI World Index, MSCI ACWI Index, MSCI Asia Ex. Japan P/E l Source :Bloomberg as of 9/12/2019

ฟากฝั่งตลาดหุ้นเอเชียมีการปรับตัวขึ้นตามทิศทางของตลาดทั่วโลก จากความคลายกังวลกรณีดังกล่าวเช่นเดียวกัน แต่ในระดับที่น้อยกว่า ส่งผลให้ระดับมูลค่ายังคงน่าสนใจในเชิงเปรียบเทียบทั้งในแง่ของการเปรียบเทียบกับอดีต และ เปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ด้วยระดับ P/E ที่ 15.53 เท่า

บทความปรับพอร์ตประจำเดือนธันวาคม 2019: รับโอกาสใหม่ ภายใต้แนวการลงทุนแบบ Growth Play ในกลุ่ม Laggard

รูปที่ 3 : Thailand Consumer Confidence, Export (YoY) l Source :Bloomberg as of 9/12/2019

ในส่วนของตลาดหุ้นไทยนั้น ยังคงมีปัจจัยกดดันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการส่งออกที่หดตัว 10 เดือนจาก 11 เดือนล่าสุด จากภาวะอุปสงค์สินค้าและบริการระหว่างประเทศที่ชะลอตัว เมื่อประกอบกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 66 เดือน นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2014 และแนวโน้มความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติยังอ่อนแอ เมื่อพิจารณาจากการขายหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องตลอดครึ่งปีหลังที่ผ่านมา มากกว่า -27,000 ล้านบาท ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยลดความน่าสนใจลง

บทความปรับพอร์ตประจำเดือนธันวาคม 2019: รับโอกาสใหม่ ภายใต้แนวการลงทุนแบบ Growth Play ในกลุ่ม Laggard

รูปที่ 4 : SET Index & SET Banking Index Earning Estimate Graph l Source : Bloomberg

อย่างไรก็ตาม ด้วยท่าทีสงครามการค้าที่มีความคืบหน้ามากขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์สินค้าและบริการไทยที่เคยหดตัวในการค้าระหว่างประเทศนั้น อาจมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ หากมีข้อตกลงเกิดขึ้น ประกอบกับมุมมองของนักวิเคราะห์ที่เริ่มมีการปรับประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่านมา  สะท้อนมุมมองว่ากลุ่มดังกล่าวอาจใกล้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว ซึ่งกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่มีนัยยะสำคัญต่อตลาดการลงทุนไทย

บทความปรับพอร์ตประจำเดือนธันวาคม 2019: รับโอกาสใหม่ ภายใต้แนวการลงทุนแบบ Growth Play ในกลุ่ม Laggard

รูปที่ 5 Yield Spread Property & REITs ไทย กับ พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ย้อนหลัง 5 ปี As of 12/12/2019 l Source : Bloomberg

ขณะที่กลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และ REITs ไทยนั้น มีการปรับตัวลงกว่า 7.50% ในเวลาเพียง 2 สัปดาห์หรือคิดเป็นกว่า 14.31% นับจากจุดสูงสุดของปี 2019 ส่งผลให้อัตราปันผล REITs ไทยกลับมาอยู่ที่ระดับ 5.30% ซึ่งยังคงเป็นระดับที่สูงเมื่อเทียบกับ REITs ทั่วโลก สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับ Yield Spread ที่กลับขึ้นมาสู่ระดับ 3.73% ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีอย่างมีนัยยะสำคัญ (ประมาณ +1 SD)

FINNOMENA Investment Team จึงมีแนะนำให้มีการบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติมในส่วนของตลาดหุ้นไทย โดยแนะนำให้ลดน้ำหนักลงครึ่งหนึ่งของพอร์ตการลงทุนเดิมที่มีอยู่ เพื่อลดความผันผวนโดยรวมลง แต่ยังคงรักษาโอกาสไว้ด้วยส่วนที่เหลือ พร้อมกับรับโอกาสการปรับตัวขึ้นในสินทรัพย์ที่มีโอกาส Outperform มากกว่าอย่างหุ้นในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ขณะที่ทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ยังคงได้รับผลกระทบเชิงลบจากภาวะ Risk-On จึงแนะนำปรับลดสัดส่วนการลงทุน เพื่อรับโอกาสการปรับตัวขึ้นในสินทรัพย์ที่มีโอกาส Outperform เช่น หุ้นในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)  และกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกที่ยังคงสามารถให้กระแสเงินสดได้อย่างสม่ำเสมอ มีโอกาสเติบโตสูงเนื่องจากกลุ่ม Specialized Reits

และสำหรับลูกค้า FINNOMENA ที่ชะลอการลงทุนในกองทุนรวมกลุ่ม Property Fund & REITs ไทย แนะนำให้สามารถเข้าลงทุนได้ เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่สามารถให้กระแสเงินสดสม่ำเสมอ เพื่อกระจายการลงทุนลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนรวมในปัจจุบัน

FINNOMENA Recommended

Global Income Focus (GIF)

บทความปรับพอร์ตประจำเดือนธันวาคม 2019: รับโอกาสใหม่ ภายใต้แนวการลงทุนแบบ Growth Play ในกลุ่ม Laggard

แนะนำลดสัดส่วน PRINCIPAL IDIV-R 10% (ทั้งหมด), เพิ่มสัดส่วน SCBWINR 10%

FINNOMENA Investment Team แนะนำลดสัดส่วนหุ้นไทยลงกึ่งหนึ่ง เพื่อบริหารความเสี่ยงของตลาดหุ้นไทย และกระจายการลงทุนในกองทุนรวมผสมแบบ Multi Assets ซึ่งมีน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเป็นหลัก เพื่อรับโอกาสสร้างกระแสเงินสดสม่ำเสมอตามแนวการลงทุนของพอร์ต GIF ไปพร้อมๆ กับลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมจากการกระจุกตัวในภูมิภาคเอเชียลง

TOP5

บทความปรับพอร์ตประจำเดือนธันวาคม 2019: รับโอกาสใหม่ ภายใต้แนวการลงทุนแบบ Growth Play ในกลุ่ม Laggard

แนะนำลดสัดส่วน TMBGOLDS 20% (ทั้งหมด), เพิ่มสัดส่วนการลงทุน SCBGIF 20%

แนะนำลดสัดส่วน LHEQD-A 20% (ทั้งหมด), เพิ่มสัดส่วน PRINCIPAL APDI 20%

FINNOMENA Investment Team แนะนำลดสัดส่วนหุ้นไทยลงกึ่งหนึ่ง และลดสัดส่วนทองคำลงหมดทั้งพอร์ตการลงทุน ซึ่งมีโอกาส Underperform ในช่วงที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นจากภาวะ Risks On และลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าอย่างตลาดหุ้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) และ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกแทน เพื่อสร้างผลตอบแทนตอบรับต่อสถานการณ์

Global Absolute Return (GAR)

บทความปรับพอร์ตประจำเดือนธันวาคม 2019: รับโอกาสใหม่ ภายใต้แนวการลงทุนแบบ Growth Play ในกลุ่ม Laggard

แนะนำลดสัดส่วน TMBGOLDS 10%, เพิ่มสัดส่วน PRINCIPAL APDI 10%

FINNOMENA Investment Team แนะนำลดสัดส่วนทองคำลงกึ่งหนึ่งของพอร์ตการลงทุน ที่มีโอกาสปรับตัวลงในช่วงที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นจากภาวะ Risk-On และลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าอย่างตลาดหุ้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) อย่างไรก็ตามยังคงแนะนำถือครอง 10% พอร์ต เพื่อกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนโดยรวมลง

Global Conservative Portfolio (GCP)

บทความปรับพอร์ตประจำเดือนธันวาคม 2019: รับโอกาสใหม่ ภายใต้แนวการลงทุนแบบ Growth Play ในกลุ่ม Laggard

แนะนำลดสัดส่วน TSF 10% (ทั้งหมด), เพิ่มสัดส่วน PRINCIPAL APDI 10%

FINNOMENA Investment Team แนะนำลดสัดส่วนหุ้นไทยลงกึ่งหนึ่ง เพื่อบริหารความเสี่ยงของตลาดหุ้นไทย และกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าในภาวะ Risk-On อย่างตลาดหุ้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) แทน

FINNOMENA Investment Team

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต| ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน