ปรับพอร์ต FINNOMENA

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 1: กระบวนการสร้าง CME และการนำ CME มาใช้ใน Black Litterman Model | Source: FINNOMENA FUNDS as of 08/09/2022

FINNOMENA FUNDS Investment Team ได้แนะนำปรับสัดส่วนการลงทุนในพอร์ต All Balance, Goal, 1st Million ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตามรอบการปรับพอร์ตปกติทุก ๆ 6 เดือนด้วยการจัดทำ CME และการเปลี่ยนกองทุนในพอร์ตให้เหมาะสม และเพื่อรับกับสถานการณ์ความกังวลที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี อาทิ ความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว, การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ, ความกังวลเรื่องสภาพคล่องในธนาคารท้องถิ่นสหรัฐฯ รวมทั้งโอกาสการลงทุนที่เกิดขึ้น เช่น อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นมาในระดับสูง เป็นต้น

ประกอบกับกระบวนการรีวิวผลตอบแทนคาดหวัง (CME) สัดส่วนการลงทุน และการรีวิวกองทุนในพอร์ต อย่างสม่ำเสมอทุก ๆ 6 เดือน ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อนักลงทุน

โดยในรอบการรีวิวครั้งนี้ FINNOMENA FUNDS Investment Team ยังแนะนำนักลงทุนในแผน All Balance, GOAL, 1st Million คงสัดส่วนการลงทุนเดิม แต่แนะนำ rebalance พอร์ตการลงทุน เพื่อให้ความเสี่ยงพอร์ตสมดุลกับเป้าหมายระยะยาวที่ตั้งไว้

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 2: ประโยชน์ของการ rebalance พอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ | Source: FINNOMENA FUNDS as of 14/09/2022

ซึ่งการ rebalance พอร์ตการลงทุนตามรอบระยะเวลาจะส่งผลดีต่อพอร์ต โดยการช่วยลดอคติการลงทุนจากสถานการณ์ตลาดที่มีความผันผวนในทุก ๆ วัน อีกทั้งปรับความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนให้ตรงกับเป้าหมายการลงทุนในระยะยาว และกระจายการสัดส่วนการลงทุนอย่างเหมาะสมในสินทรัพย์ทั้งในแและต่างประเทศ ทำให้การลงทุนเป็นระบบและลดการใช้อารมณ์ในการลงทุน เพื่อวัตถุประสงค์การลงทุนในระยะยาวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 3: ผลตอบแทนรายสินทรัพย์ ปี 2008 – 2022 | Source: FINNOMENA FUNDS, Novel Investor as of 14/09/2022

ผลตอบแทนจากการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์จะให้ผลตอบแทนมากน้อยสลับกันไปในทุก ๆ ปี ซึ่งพอร์ตการลงทุนแบบ DCA และการทำ Asset Allocation จะช่วยให้นักลงทุนสามารถลงทุนโดยมีผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ พร้อมด้วยการควบคุมความผันผวนในพอร์ตการลงทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่นักลงทุนสามารถยอมรับได้

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 4: ผลตอบแทนของกองทุนหลังจากคำแนะนำปรับพอร์ต | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 14/09/2022

หลังการปรับพอร์ตการลงทุน All Balance ให้ผลตอบแทน 1.7% จาก

  • กองทุน PRINCIPAL VNEQ-A ที่ปรับเข้ามาแทนกองทุน TSF-A สร้างผลตอบแทนต่อพอร์ตที่ 1.1% และให้ผลตอบแทนมากกว่าการถือกองทุนเดิม 22.1% 
  • กองทุน KKP GNP-H ที่ปรับเข้ามาแทน TMBGQG สร้างผลตอบแทนต่อพอร์ตที่ 3.0% และให้ผลตอบแทนมากกว่าดัชนีหุ้นโลก 0.3% 
  • กองทุน B-ASIA ที่ปรับเข้ามาแทน TMBAGLF สร้างผลตอบแทนต่อพอร์ตที่ 0.5% และให้ผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนีชี้วัด
  • กองทุน UGIS-N สร้างผลตอบแทนต่อพอร์ตที่ 0.1% และให้ผลตอบแทนดีกว่าดัชนีตราสารหนี้โลก (Global Agg Bond Total Return) 2.3%

โดยที่ FINNOMENA FUNDS Investment Team ประเมินแล้วว่ากองทุนในพอร์ตการลงทุนยังเหมาะสมแก่การถือครองในระยะยาวดังนี้

KKP GNP-H

  • ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าดัชนีหุ้นโลก พร้อมด้วยการบริหารความเสี่ยงที่ต่ำกว่า
  • ทีมบริหารการลงทุนที่มีประสบการณ์ยาวนาน และประกอบด้วยทีมผู้จัดการกองทุนถึง 9 คน สามารถติดตามข้อมูลการลงทุนทั่วโลกได้อย่างครอบคลุม
  • มีการกระจายตัวของสัดส่วนการลงทุนแต่ละบริษัทและแต่ละประเทศที่ดี

B-ASIA

  • ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนีเปรียบเทียบอย่าง MSCI Asia Ex Japan
  • ซึ่งแม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจจีนที่ยังผันผวน แต่กองทุนยังรักษาความผันผวนได้ดี
  • ผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงโดดเด่นกว่า โดยเฉพาะในปีที่มี drawdown แรง จากความเป็น contrarian และ valuation discipline ของบลจ. Invesco 
  • Fund Manager อยู่กับกองทุนมายาวนาน และมีผลงานที่ข้างเสถียรและอยู่ใน 1st Quartile (CITYWIRE) 

TMB-ES-VIETNAM / PRINCIPAL VNEQ-A

  • TMB-ES-VIETNAM กองทุนหลักอย่าง Dragon Capital มีชื่อเสียงในการบริหารเงินลงทุนในเวียดนามมาอย่างยาวนาน โดยเป็นนักลงทุนสถาบันแห่งแรกของประเทศเวียดนาม มีทีมงานที่ดี ซึ่งเป็นจุดแข็งสำคัญ และมีข้อมูลเชิงลึก รวมถึงการวิเคราะห์ที่เหมาะสม ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ และกองทุนต่างชาติหลายแหล่ง และเน้นลงทุนระยะยาวในหุ้นเติบโตที่มีขนาดใหญ่และกลางเป็นหลัก เราแนะนำลงทุนในกองทุน TMB-ES-VIETNAM ในพอร์ตการลงทุนแบบ DCA เพื่อความยืดหยุ่นในการลงทุนที่ใช้เงินเริ่มลงทุนที่น้อย
  • Principal VNEQ-A กองทุนเวียดนามที่บริหารโดยทีมผู้จัดการกองทุนไทย ที่มีความเข้าใจและมีทีมงานที่ติดตามตลาดหุ้นเวียดนามอย่างใกล้ชิด เน้นลงทุนในหุ้นเวียดนามที่มีแนวโน้มเติบโตที่ดีในระยะยาว ล้อไปกับเศรษฐกิจเวียดนามที่มีการเติบโตที่สูง

UGIS-N

  • กองทุนหลักอย่าง PIMCO GIS Income Fund ยังสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง จากกลยุทธ์การลงทุนที่เน้นกระแสเงินสด จึงทำให้ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และการหาโอกาสการลงทุนผ่านการ short ค่าเงินเยน ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ที่ใกล้สิ้นสุดเป็นผลดีกับกองทุน UGIS-N รวมถึงสภาวะการลงทุนของตราสารหนี้ทั่วโลก

KFAFIX-A

  • กองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง มี duration เฉลี่ยที่ 1.67 ปี และมีอันดับความน่าเชื่อถือตราสารที่ระดับ A- ขึ้นไป ซึ่งแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ ธปท. ที่มีมุมมองเข้มงวดลดลงเป็นผลดีต่อการลงทุนใน KFAFIX-A

TMBPIPF

  • REIT ไทยได้รับผลกระทบเฉพาะตัวของ CPNIREIT และ DIF และธรรมชาติของ REIT ที่มีสภาพคล่องต่ำ ทั้งนี้ระดับ valuation ที่น่าสนใจและอัตราการปันผลที่ฟื้นตัวหลังการเปิดประเทศ ทำให้เรายังแนะนำลงทุนใน TMBPIPF

SCBGOLDH

  • เรามีสัดส่วนการลงทุนในทองคำประมาณ 10% เพื่อ hedging ความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน

GOAL

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 5: พอร์ตการลงทุน Goal | Source: FINNOMENA FUNDS as of 14/09/2023

FINNOMENA FUNDS Investment Team แนะนำ rebalance พอร์ตการลงทุน GOAL โดยไม่มีคำแนะนำเปลี่ยนน้ำหนัก และกองทุนในพอร์ตการลงทุนรอบนี้

1st Million

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 6: พอร์ตการลงทุน 1st Million | Source: FINNOMENA FUNDS as of 14/09/2023

FINNOMENA FUNDS Investment Team แนะนำ rebalance พอร์ตการลงทุน 1st Million โดยไม่มีคำแนะนำเปลี่ยนน้ำหนัก และกองทุนในพอร์ตการลงทุนรอบนี้

All Balance Port

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 7: พอร์ตการลงทุน All Balance | Source: FINNOMENA FUNDS as of 14/09/2023

FINNOMENA FUNDS Investment Team แนะนำ rebalance พอร์ตการลงทุน All Balance โดยไม่มีคำแนะนำเปลี่ยนน้ำหนัก และกองทุนในพอร์ตการลงทุนรอบนี้ เพื่อการกระจายการลงทุนตาม Black-Litterman Model BLM และปรับความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการลงทุนในระยะยาว

สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนในพอร์ต All Balance Port หรือ สนใจลงทุนเพิ่มเติม FINNOMENA FUNDS Investment Team แนะนำสามารถลงทุนได้ จากมุมมองเชิงบวกต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและการลงทุนดังนี้

มุมมองการลงทุน

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 8: Citi Economic Surprise Index | Source: FINNOMENA FUNDS, Macrobond as of 11/09/2023

กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น หลัง Citi Economic Surprise Index ซึ่งเป็นดัชนีที่สะท้อนถึงความแตกต่างระหว่างตัวเลขเศรษฐกิจจริงกับตัวเลขคาดการณ์ของสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดในเดือนที่ผ่านมา เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ด้านจีนและยุโรป ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาแย่ลงกว่าที่คาดเล็กน้อย

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 9: Conference Board Leading Economic Indicator | Source: FINNOMENA FUNDS, Macrobond as of 04/09/2023

ด้าน Conference Board Leading Economic Indicator (CB LEI) ซึ่งเป็น leading indicator บ่งชี้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ พร้อมกับการปรับตัวขึ้นของ Manufacturing PMI ในเดือนล่าสุด ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มคลายความกังวลจากเศรษฐกิจถดถอย

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 10: Inverted yield curve และ Maximum drawdown ของดัชนี S&P 500 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 04/09/2023

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นดูเหมือนจะว่า price-in ข้อมูลการชะลอตัวเศรษฐกิจและความเสี่ยงต่าง ๆ ลงไปมากแล้ว เมื่อการเกิด Inverted yield curve ครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมกับดัชนี S&P 500 ทำจุดต่ำสุดใหม่ของรอบ ซึ่งต่างจากครั้งก่อนที่จุดต่ำสุดใหม่ของรอบ จะเกิดขึ้นตามหลัง Inverted yield curve

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 11: คาดการณ์กำไรต่อหุ้นของดัชนี S&P 500 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 01/09/2023

หลังจากผลประกอบการ 2Q23 ของสหรัฐออกมาดีกว่าที่คาดเป็นส่วนใหญ่ กำไรต่อหุ้นของดัชนี S&P 500 ได้ถูกปรับประมาณการขึ้น หนุนให้ตลาดหุ้นอื่น ๆ ทั่วโลกมี sentiment ดีขึ้นตาม โดย Estimate EPS ในปี 2024 เท่ากับ 243.6 ดอลลาร์ต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจากปี 2023 ที่ 218.7 ดอลลาร์ต่อหุ้นและถูกปรับประมาณการขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.8%

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 12: PE ของดัชนีหุ้นทั่วโลก เมื่อเทียบกับตัวเองในอดีตและดัชนีหุ้นโลก | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 04/09/2023

ตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯ มี valuation ที่ผ่อนคลายลง โดยดัชนี S&P 500 มี มี FWD P/E ที่ 20.2 เท่า หรือประมาณ 1 S.D. เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของตัวเอง 10 ปีย้อนหลัง ดัชนี MSCI Asia ex Japan อยู่ที่ระดับค่าเฉลี่ยของตัวเองในรอบ 10 ปี และตลาดหุ้นเวียดนามมี FWD P/E ที่ 10.1 เท่า หรือที่ระดับประมาณ -1.0 S.D.

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 13:  ผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนของ S&P 500 นับตั้งแต่ปี 1928 | Source: FINNOMENA FUNDS, Macrobond as of 04/09/2023

ด้านสถิติย้อนหลังของตลาดหุ้นสหรัฐฯ บ่งชี้ว่าดัชนี S&P 500 มีผลตอบแทนต่ำที่สุดในรอบปีในเดือนกันยายน โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ -1.5% และมีโอกาสให้ผลตอบแทนติดลบถึง 54.7% ซึ่งเป็นจังหวะที่น่าเข้าลงทุนสะสม เนื่องจากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักจะให้ผลตอบแทนที่เป็นบวก

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 14: สถิติผลตอบแทนของดัชนี S&P 500 หลัง Fed หยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ย | Source: FINNOMENA FUNDS, Macrobond as of 04/09/2023

เมื่อขาขึ้นของดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ใกล้สิ้นสุด ส่งผลให้แรงกดดันต่อตลาดหุ้นลดลง ดัชนี S&P 500 มักให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย 21% ในรอบ 500 วัน หลัง Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 15: สถิติผลตอบแทนของตราสารหนี้โลกหลัง Fed หยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ย | Source: FINNOMENA FUNDS, Macrobond as of 04/09/2023

เช่นเดียวกับตราสารหนี้โลกที่ได้รับประโยชน์จากแรงกดดันของดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลง โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 12% หลัง Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย ทั้งนี้กองทุนที่เราแนะนำลงทุนอย่าง UGIS-N จะได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยในปัจุบันที่อยู่ในระดับสูงด้วยอีกทางหนึ่ง จึงให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตราสารหนี้โลกทั่วไป

ศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/ 

FINNOMENA FUNDS investment Team


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะสั้นเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299