สำหรับลูกค้าพอร์ต DIY สามารถอ่านคำแนะนำได้ที่ https://www.finnomena.com/finnomena-ic/special-advice-diy-aug2020/
การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมา สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริการ และกลุ่มธุรกิจเก่า (Old Economy) อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มธนาคาร และพลังงาน จากการปิดเมืองและใช้มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)
รูปที่ 1 อัตราผลตอบแทน Global Cloud ETF, Global E-Commerce ETF และ ดัชนี MSCI World l Source : Bloomberg As of 20/08/2020
อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal) ก็เติบโตสวนทางภาพรวมเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเทคโนโลยี ภายใต้การนำของกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง Cloud Service และ E-Commerce ซึ่งความสามารถในการขยายตัวในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจภาพรวมชะงักงันได้นั้น ส่งผลให้หุ้นของกลุ่มธุรกิจดังกล่าวปรับตัวขึ้นเหนือตลาดหุ้นอื่นทั่วโลก
เป็นเหตุผลที่ทำให้ FINNOMENA Investment Team แนะนำเพิ่มน้ำหนักกองทุน KF-GTECH ซึ่งเป็นกองทุนหุ้นที่มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Service เป็นหลัก ซึ่งสามารถสร้างผลตอบแทนได้กว่า 16% ในช่วงที่ผ่านมา นับตั้งแต่แนะนำในช่วงวันที่ 29 พฤษภาคม 2020 ที่ผ่านมา
รูปที่ 2 Earning Revision of DowJones Index, S&P 500 Index, TOP 10 of KF-GTECH, and KFGBRAND-A l Source : Bloomberg As of 20/08/2020
เมื่อเวลาผ่านไปพัฒนาการของวัคซีนและองค์ความรู้ทางการแพทย์ต่อเชื้อ COVID-19 ส่งผลให้มาตรการปิดเมืองและการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) มีความจำเป็นลดลง ประกอบกับมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าในอดีตกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว ทำให้กลุ่มธุรกิจเก่า (Old Economy) ที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากมาตรการข้างต้นเริ่มกลับมาดำเนินกิจการได้อีกครั้ง การจ้างงานจึงกลับมาฟื้นตัวส่งผลต่อกำลังซื้อที่ฟื้นตัว สะท้อนออกมาผ่านตัวเลขค้าปลีกที่กลับมาเติบโตอีกครั้งนับตั้งแต่การคลายมาตรการ Lockdown
รูปที่ 3 ขนาดมาตรการการคลังเทียบกับขนาด GDP (%) ของประเทศทั่วโลก l Source : https://www.mckinsey.com/ As of 20/08/2020
ในขณะเดียวกันหุ้นกลุ่มที่เคยได้รับปัจจัยเชิงบวกจากวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal) ก็ขาดปัจจัยเร่งให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดได้เสมือนช่วงที่ COVID-19 แพร่ระบาดรุนแรง ซึ่งภาวะดังกล่าวนั้นส่งผลให้นักวิเคราะห์มีการปรับคาดการณ์ยอดขายและกำไรของบริษัทเหล่านั้นกลับมาขยายตัวอีกครั้ง สะท้อนความคาดหวังในระดับที่สูงมากกว่ากลุ่มอื่นและสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกันความคาดหวังที่สูงขึ้นดังกล่าวก็มีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกดดันต่อหุ้นกลุ่มนั้นได้หากไม่สามารถประกาศผลกำไรได้ดีตามคาดการณ์ และนำไปสู่โอกาสการปรับตัวลงของราคาหุ้นกลุ่มดังกล่าวได้รุนแรง
เมื่อประกอบกับความไม่แน่นอนสำคัญ 3 ปัจจัย ที่ตลาดการเงินต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้ ประกอบด้วย
1. การคิดค้นวัคซีน
การคิดค้นวัคซีนกำลังดำเนินไปในขั้นตอนการทดลอง แต่การนำวัคซีนมาใช้ให้ประสบผลสำเร็จในเชิงพาณิชย์เป็นประเด็นที่ทั่วโลกจับตามอง ดังนั้นหากนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ประสบผลสำเร็จจะเป็นปัจจัยดีที่หนุนหุ้นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการแพร่ระบาดให้กลับมาสู่ภาวะปกติ แต่หากการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ยังไม่ประสบผล กลุ่มที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจะยังถูกกดดันต่อ
แต่หุ้นกลุ่ม Consumer โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าจำเป็นจะได้รับผลกระทบต่ำกว่า อีกทั้งมาตรการการคลังที่รัฐบาลทั่วโลกกำลังใช้อยู่ ได้เข้ามาอุดหนุนค่าใช้จ่ายประชาชนที่ลดลงไปเนื่องจากการตกงาน ดังนั้นกำลังซื้อสินค้าจำเป็นจะเป็นกลุ่มแรกที่รับผลดีจากมาตรการอุดหนุนของภาครัฐ ซึ่งสิ่งสะท้อนผ่านตัวเลขค้าปลีกของประเทศใช้มาตรการการคลังด้วยปริมาณมาก เริ่มฟื้นตัวหลังคลายมาตรการ Lockdown
2. สงครามการค้า
ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังสหรัฐฯ มีคำสั่งแบน TikTok และ Wechat ซึ่งคำสั่งดังกล่าวยังมีความคลุมเครือ นอกจากนี้การประชุมเพื่อทบทวนข้อตกลงการค้าเฟส 1 ก็ถูกเลื่อนออกไป ด้วยประเด็นดังกล่าวและช่วงเวลาอีกไม่นานก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สร้างความไม่แน่นอนให้ตลาดการเงินทั่วโลก
3. การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
เป็นประเด็นที่จะสร้างความแตกต่างให้ตลาดการเงินโดยเฉพาะตลาดทุน เนื่องจากนโยบายของผู้ท้าชิงทั้งสองมีความแตกต่างกันสูง ไม่ว่าจะเป็นนโยบายด้านภาษีนิติบุคคลหรือสาธารณสุขซึ่งจะส่งผลต่อผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ในท้ายที่สุดผลการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ จึงสร้างความไม่แน่นอนและกดดันตลาดการเงินในช่วงเวลาต่อจากนี้ไปจนกว่าการเลือกตั้งจะเสร็จสิ้น
การฟื้นตัวของกำลังซื้อประกอบกับมาตรการการคลังจากรัฐบาลที่มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับอดีต อีกทั้งความเสี่ยงทั้ง 3 ปัจจัย ที่สร้างความไม่แน่นอนและแรงกดดันต่อตลาดการเงิน FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำปรับลดสัดส่วนของกองทุน KF-GTECH ออก เพื่อล็อคกำไร
รูปที่ 4 อัตราการเติบโตของตัวเลขค้าปลีก (%YoY) l Source : Bloomberg As of 20/08/2020
ด้วยแนวโน้มการบริโภคที่ฟื้นตัว จากความสำเร็จในการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนของมาตรการทางการเงินและการคลังในช่วงที่ผ่านมา และแนวโน้มของการปรับตัวขึ้นที่เริ่ม Outperform หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในระยะสั้น สะท้อนว่าหุ้นกลุ่มอุปโภคและบริโภคนั้นเริ่มมีนักลงทุนให้ความสนใจในการเข้าลงทุน
รูปที่ 5 Top Holding KFGBRAND-A l Source : Bloomberg As of 20/08/2020
จึงแนะนำปรับเข้าลงทุนในกองทุนรวม KFGBRAND-A ที่ลงทุนในกองทุนหลัก Morgan Stanley Investment Fund – Global Brands Fund (Class Z) มีนโยบายการลงทุนในหุ้นที่มีส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจสูง มีงบกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง และมี Branding ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ที่สามารถสร้างรายได้เป็นจำนวนมากได้ ส่งผลให้พอร์ตการลงทุนปัจจุบัน มีน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มอุปโภคบริโภค ซึ่งมีความผันผวนทางด้านกระแสเงินสดในระดับที่ต่ำมากถึง 34.63% และ กลุ่มหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูง และกระแสเงินสดแกร่งเช่นเดียวกันมากถึง 31.58% ซึ่งเป็นลักษณะของหุ้นที่มีความผันผวนเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นโดยทั่วไปต่ำ แต่ยังมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ตามทิศทางการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต
รูปที่ 6 Correlation ของ ETF หุ้นกลุ่มต่างในดัชนี S&P500 เทียบกับ ETF หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในดัชนี S&P500 และผลตอบแทนของ ETF หุ้นกลุ่มต่างๆในดัชนี S&P500 l Source : Bloomberg As of 20/08/2020
พร้อมกันนั้น FINNOMENA Investment Team ยังแนะนำให้ปรับลดน้ำหนักกองทุน SCBGOLD ลงบางส่วน เพื่อบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวม และย้ายการลงทุนจากกองทุนตลาดเงินไปยังกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เพื่อรับโอกาสการสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากตราสารหนี้ระยะสั้นไทยที่มีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา
FINNOMENA Recommended
TOP5
แนะนำลดสัดส่วน KF-GTECH 20% (ทั้งหมด), เพิ่มสัดส่วนการลงทุน KFSMART 20%
แนะนำลดสัดส่วน K-CASH 20% (ทั้งหมด), เพิ่มสัดส่วน KFGBRAND-A 20%
แนะนำลดสัดส่วน SCBGOLD 10% (ครึงหนึ่ง), เพิ่มสัดส่วน KFSMART 10%
FINNOMENA Investment Team แนะนำปรับลดกองทุน KF-GTECH ซึ่งมีสัดส่วนในหุ้นกลุ่ม Cloud Service เป็นหลักจากการคลี่คลายของสถานการณ์ COVID-19 เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกองทุน KFGBRAND-A แทน ซึ่งมีน้ำหนักลงทุนในหุ้นอุปโภคบริโภคสูง เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการฟื้นตัวของการบริโภค ภายใต้ความผันผวนที่ต่ำกว่า
พร้อมกับปรับลดน้ำหนักกองทุน SCBGOLD 10% (ครึ่งหนึ่ง) เพื่อบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวม และสับเปลี่ยนการลงทุนจากกองทุน K-CASH ไปยังกองทุน KFSMART ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นแทน เพื่อรับโอกาสการสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากตราสารหนี้ระยะสั้นไทยที่มีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา
GAR (Global Absolute Return)
แนะนำลดสัดส่วน KF-GTECH 10% (ทั้งหมด), เพิ่มสัดส่วนการลงทุน KFSMART 10%
แนะนำลดสัดส่วน K-CASH 10%, เพิ่มสัดส่วน KFGBRAND-A 10%
แนะนำลดสัดส่วน K-CASH 10%, เพิ่มสัดส่วน KFSMART 10%
แนะนำลดสัดส่วน SCBGOLD 10% (ครึงหนึ่ง), เพิ่มสัดส่วน KFSMART 10%
FINNOMENA Investment Team แนะนำปรับลดกองทุน KF-GTECH ซึ่งมีสัดส่วนในหุ้นกลุ่ม Cloud Service เป็นหลัก เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกองทุน KFGBRAND-A แทน ซึ่งมีน้ำหนักลงทุนในหุ้นอุปโภคบริโภคสูง เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการฟื้นตัวของการบริโภค ภายใต้ความผันผวนที่ต่ำกว่า
พร้อมกับปรับลดน้ำหนักกองทุน SCBGOLD 10% (ครึ่งหนึ่ง) เพื่อบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวม และสับเปลี่ยนการลงทุนจากกองทุน K-CASH ไปยังกองทุน KFSMART ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นแทน เพื่อรับโอกาสการสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากตราสารหนี้ระยะสั้นไทยที่มีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา
GCP (Global Conservative Port)
แนะนำลดสัดส่วน KF-GTECH 10% (ทั้งหมด), เพิ่มสัดส่วนการลงทุน KFSMART 10%
แนะนำลดสัดส่วน K-CASH 10%, เพิ่มสัดส่วน KFGBRAND-A 10%
แนะนำลดสัดส่วน K-CASH 15%, เพิ่มสัดส่วน KFSMART 15%
แนะนำลดสัดส่วน SCBGOLD 10%, เพิ่มสัดส่วน KFSMART 10%
FINNOMENA Investment Team แนะนำปรับลดกองทุน KF-GTECH ซึ่งมีสัดส่วนในหุ้นกลุ่ม Cloud Service เป็นหลัก เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกองทุน KFGBRAND-A แทน ซึ่งมีน้ำหนักลงทุนในหุ้นอุปโภคบริโภคสูง เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการฟื้นตัวของการบริโภค ภายใต้ความผันผวนที่ต่ำกว่า
พร้อมกับปรับลดน้ำหนักกองทุน SCBGOLD 10% เพื่อบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวม และสับเปลี่ยนการลงทุนจากกองทุน K-CASH ไปยังกองทุน KFSMART ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นแทน เพื่อรับโอกาสการสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากตราสารหนี้ระยะสั้นไทยที่มีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา
GIF (Global Income Focus)
FINNOMENA Investment Team แนะนำปรับลดกองทุน K-USXNDQ-A(D) ซึ่งมีลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเป็นหลัก เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกองทุน KFGBRAND-D แทน ซึ่งมีน้ำหนักลงทุนในหุ้นอุปโภคบริโภคสูง เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการฟื้นตัวของการบริโภค ภายใต้ความผันผวนที่ต่ำกว่า พร้อมความสามารถในการจ่ายปันผล
PLUS
แนะนำลดสัดส่วน K-CASH 100% (ทั้งหมด), เพิ่มสัดส่วน KFSMART 100%
FINNOMENA Investment Team แนะนำปรับสับเปลี่ยนการลงทุนจากกองทุน K-CASH ไปยังกองทุน KFSMART ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นแทน เพื่อรับโอกาสการสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากตราสารหนี้ระยะสั้นไทยที่มีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา
FINNOMENA Investment Team
โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก 1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT |
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต| ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน